แต่ที่จริงกรุงเทพฯ เผชิญกับสภาพเช่นนี้มาหลายต่อหลายครั้ง
ซึ่งในจำนวนนั้นคือน้ำท่วมใหญ่กรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕ ครั้งนั้นจอมพล ป. พิบูลสงคราม เขียนบทประพันธุ์ เรื่อง "ข่าวชวนหัวตามน้ำท่วม" โดยใช้ชื่อว่า สามัคคีชัย ตีพิมพ์ใน ข่าวโคสนาการ ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๑๐ ประจำเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม ได้คัดทางนี้ ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. 2536
กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม ได้คัดมาลง ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกันยายน พ.ศ. 2536 ใช้ชื่อว่า "ข่าวชวนหัวตามน้ำทาว ของ สามัคคีชัย"
ที่บ้านฉันกลางนาบริเวณหลักสี่มีสาลาน้ำหยู่หลังหนึ่ง เวลานี้น้ำท่วม งูสามเหลี่ยมตัวโตถนัดได้เข้าไปนอนหยู่อย่างสบาย เลยทำให้สาลาน้ำนั้นไม่มีใครกล้าเข้าไป เพราะกลัวงูกัดตาย
รองปลัดกะซวงกลาโหม น.อ.ยุทธสาตรโกสล บ้านหยู่พระโขนง งูสามเหลี่ยมตัวเท่าแขนได้ลอยเข้าไปที่นอกชาน ซาบว่าเจ้าของเลยขนของไปอาศัยหยู่ที่ตึกชั้นบนของห้างไวท์เอเวเก่า จนบัดนี้
อธิบดีกรมการสาสนาคนใหม่ นายพันเอกสารานุประพันธ์ เล่าไห้ฟังว่าน้ำท่วมนี้ก็ดีเหมือนกัน ไม่ต้องซื้อปลากิน เพราะที่ห้องรับแขกไนบ้านมีปลาหมอ ปลาสลิดเข้าไปมากเลยตกแกงกินสบาย งูก็เข้าไปเหมือนกันแต่ได้ตีตายสับเปนท่อนๆ ไส่กะป๋องเอาไปทิ้ง ผู้เล่าว่างูไม่ดี สู้ปลาไม่ได้ ท่านอธิบดีว่าการไปทำงานเสียเวลามาก เลยไม่ไปทำงานพิเสสเสียบ้าง เช่นตรวดข่าวที่กรมไปรสนีย์เพราะต้องไช้เวลาเดินทางไป ๓ ชั่วโมงกลับ ๓ ชั่วโมง โดยทางเรือหมดเวลาทำงานพอดี และคุยว่ามีรถยนต์ดำน้ำได้ ๑ คัน แล่นไนน้ำได้ เลิกไช้ทีหลังคนอื่น เพราะการที่รถของอธิบดีคนนี้แล่นไนน้ำได้เปนพิเสส ไครเห็นรถแล่นไนน้ำเด็กๆ ว่าเปนรถ พ.อ.สารานุประพันธ์ตามๆ กัน
ท่านอธิบดีกรมตำหรวดเล่าไห้ฟังว่า น้ำท่วมขึ้นมาคนว่างงานเพราะไปทำอะไรไม่ได้เลย มีเรื่องแปลกๆ เล่ากัน วันหนึ่งท่านเล่าไห้ฟังว่ามีคนถามว่า ถ้าเวลา ๘.๐๐ น. เปนเวลาเคารพทงชาติต้องหยุดแสดงความเคารพ ถ้ากำลังวิ่งหนีตำหรวดหยู่จะไห้ทำหย่างไร ถ้าหยุด ตำหรวดจับ ถ้าไม่หยุดก็ไม่ได้เคารพทงชาติเปนการไม่รักชาติ มีผู้ตอบน่าฟังว่าไห้ดูตำหรวด ถ้าตำหรวดหยุดสแดงความเคารพก็ไห้หยุดด้วย ดังนี้เปนการไม่เสียเปรียบกัน การเคารพทงชาติฝังจิตใจชาวไทยเรามากแล้วน่าชมเชย