ไขสงสัย ทำไมพี่หมื่น-ตัวละครบุพเพฯ พูดว่า กงนี้ ไม่ใช่ ตรงนี้!


ไขสงสัย ทำไมพี่หมื่น-ตัวละครบุพเพฯ พูดว่า กงนี้ ไม่ใช่ ตรงนี้!

แฟนละคร บุพเพสันนิวาส หลายคนอาจจะแปลกหูไม่น้อย เวลาได้ยินตัวละครที่เป็นคนสมัยอยุธยา เวลาออกเสียงที่เป็นการควบ ตร หรือ ตล เป็น ก.ไก่ เช่นคำว่า ตรงนี้ ตรงนั้น พูดว่า กงนี้ กงนั้น และเกิดข้อสงสัย?

ล่าสุดสมาชิกพันทิป "กามนิตยอดชายไปค้าขายที่โกสัมพี" ได้อธิบายคำตอบเรื่องนี้เอาไว้แบบน่าสนใจ ดังนี้

ทุกวันนี้ภาษาถิ่นหลายถิ่นในภาคกลาง (ยกเว้นกรุงเทพ) ภาคเหนือ และภาคอีสาน ก็ยังคงออกเสียงอักษรควบ "ตร, ตล" เป็น "ก, กร" นะครับ ผมยกตัวอย่างบ้านผมที่จังหวัดสุโขทัย

"ตรง" เป็น "กง" เช่น ตรงไป เป็น กงไป
"เตรียม" เป็น "เกรียม/เกียม" เช่น เตรียมตัว เป็น เกียมตัว
"ตรา" เป็น "กา" เช่น ชามตราไก่ บ้านผมออกเสียง ชามกาไก่
"แตร" เป็น "แก" เช่น บีบแตร เป็น บีบแก
"ตลาด" เป็น "กะหลาด, กลาด, กาด"


หรือออกเสียง ต กับ ก สลับกันในคำสองพยางค์ เช่น
"กรรไกร" เป็น "กะไต, ตะไก"
"ตะกร้า" เป็น "กะต้า"

ภาษาโบราณยังมีเสียงควบ "มฺล" [ml] ด้วย แต่ปัจจุบันมีเฉพาะคนปักษ์ใต้ที่ออกเสียงควบนี้ได้ ส่วนภาคอื่นจะกลายเป็น "ม, ล, หรือ มะล-" เช่น


"แมลง" ภาคกลางเป็น "มะ-แลง" ภาคเหนือเป็น "แมง"
"มลอด" (มุด) ภาคกลางเป็น "ลอด" ภาคเหนือเป็น "มอด" เช่น มอดโต๊ะ (มุดโต๊ะ)
"แมลบ" (ฟ้าแลบ) ภาคกลางเป็น "แลบ" ภาคเหนือเป็น "แมบ" เช่น ฟ้าแมบ
"มลืน" (ลืมตา) ภาคกลางเป็น "ลืน > ลืม" ภาคเหนือเป็น "มืน" เช่น มืนตา


Cr https://pantip.com/topic/37428792

ไขสงสัย ทำไมพี่หมื่น-ตัวละครบุพเพฯ พูดว่า กงนี้ ไม่ใช่ ตรงนี้!

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์