อาการเหงาของคนยุค Digital ที่ขาด Technology ไม่ได้
สิ่งที่เหมือนสายเกินแก้ จะไม่แย่ไปกว่านี้ ถ้ารู้จุดเริ่มต้นของปัญหาและกล้าปรับเปลี่ยน เหมือน Digital Loneliness – ความเหงาและโดดเดี่ยวของคนยุคนี้ ที่เป็นผลข้างเคียงจาก Digital Technology ต่างๆ ตั้งแต่ Mobile Device ,Internet ,Email และ Social Media ที่เราใช้กันเป็นประจำ และเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ชีวิตเราคงลำบากแน่ ถ้าวันไหนขาดอย่างหนึ่งอย่างไป
เพื่อไม่ให้ถูกความเหงายุค Digital เล่นงานหนักไปกว่าที่เป็นอยู่ และปิดโอกาสไม่ให้ฝันร้ายในภาพยนตร์และ SciFi Series เรื่องด้านมืดของ Technology เกิดขึ้นจริง ถึงเวลาแล้วที่ต้องใช้ Digital Technology เหล่านี้อย่างพอดีและตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงเชิงลบ ที่มันสร้างขึ้นโดยที่เราเองอาจไม่รู้ตัว
แค่รู้จักแต่ไม่ผูกพัน : Social Media , Mobile Device และ Mobile Internet กลายเป็นสามประสานที่ทำให้เราเชื่อมต่อกับผู้คนได้มากขึ้น แบบไม่จำกัดทั้งเวลาและสถานที่ โดย Technology ดังกล่าวพาให้เพื่อนหรือคนรู้จักที่ห่างหายไปนาน ได้กลับมาคุยและรับรู้ความเป็นไปของกันและกันอีกครั้ง รวมถึงเปิดทางให้ทำความรู้จักกับคนใหม่ๆ ทั้งคนที่มีความสนใจร่วมกัน และคนที่เป็นเพื่อนของเพื่อน
อย่างไรก็ตาม หากสังเกตดีๆจะพบว่า แม้เราติดต่อและทำความรู้จักกับ ‘เพื่อนหน้าจอ’ แต่ก็เป็นความสัมพันธ์แบบผิวเผิน คุยกัน รู้จักกับใครตั้งมากมาย แต่กลับสนิทจริงๆ ไม่กี่คน เข้าทำนองเหงาท่ามกลางเหล่า User บนโลกเสมือน ซ้ำร้ายบางครั้งยังเกิดการทะเลาะ เข้าใจผิดหรืออิจฉากันจาก Status หรือ Post ต่างๆ บน Social Media ด้วย
จนหลายคนเริ่มตระหนักว่าควรเน้นไปที่คุณภาพกว่าปริมาณ มีเพื่อนน้อยแต่สนิท นานๆ คุยกันไม่บ่อยพอให้คิดถึง อาจดีกว่าการมี Social Media Friend หลักร้อยหลักพัน ที่แทบไม่เคยคุยกันเลย และทำได้แต่กด Like ให้กันเท่านั้น
ถูกหน้าจอปล้นทักษะเข้าสังคม : เมื่อเทเวลาให้อย่างหนึ่งมากกว่า คงยากในการต่อติดกับอีกอย่างที่ถูกทิ้งไป เรากำลังได้สัมผัสความจริงข้อนี้กันมากขึ้น จากการที่ความสามารถในการอ่านสีหน้าท่าทาง และเข้าสังคมได้แย่ลง เพราะใช้เวลาอยู่กับเพื่อนบนโลก Social มากเกินไป
ขณะเดียวกันยังไม่รู้วิธีรับมือกับพฤติกรรมคนที่ตรงหน้าอย่างไรให้เหมาะสม เพราะในชีวิตจริง เราไม่สามารถเลื่อนผ่าน Newsfeed หรือแค่ใส่ Emoji ต่างๆ ให้ตรงกับความรู้สึก นี่ทำให้บางส่วนเลี่ยงปลีกตัวจากวงสนทนา ยอมทนเหงา และกลับไปหมกตัวอยู่ในโลก Social แทน
ดังนั้นเพื่อลดปัญหาทักษะการเข้าสังคมล้มเหลว ควรละวางจากหน้าจอ Digital Device ทั้งหลายบ้าง และลดการใช้สื่อ Social โดยผลการศึกษามากมายยืนยันว่า เด็กและผู้ใหญ่ที่ลดการใช้ สื่อ Social ความสามารถในการอ่านสีหน้า และภาษากายกลับมาดีขึ้น
จมอยู่กับ Smartphone จนลืมคนตรงหน้า : มีข้อมูลระบุว่าคนทั่วไป ก้มมอง Smartphone 34-74 ครั้งต่อวัน ซึ่งตัวเลขดังกล่าว ยิ่งเพิ่มขึ้นในกลุ่มวัยรุ่น นี่คือความจริงที่ยากปฏิเสธเพราะคุณก็คงเป็นคนหนึ่ง ที่หยิบอุปกรณ์สื่อสารคู่ใจขึ้นมา ทั้งเพื่อดูความเคลื่อนไหวของเพื่อนบน Social Media ติดตามข่าวสารเมื่อไม่มีอะไรทำ
หรือแค่แก้เขินหรือแม้กระทั่งเป็นสัญญาณบอกว่า ไม่สนใจคนตรงหน้า ผลเสียที่ตามคือ มีวิธีเมินกันได้ง่ายขึ้นและคนนั่งเต็มโต๊ะแต่มองจอ มากกว่าคุยกันเองกลายเป็นภาพคุ้นตา
เมื่อเป็นแบบนี้นานๆ เข้า เราก็สนทนาแบบเจอหน้ากันจริงๆ น้อยลง สวนทางกับความโดดเดี่ยวที่เพิ่มขึ้น หากอยากให้ปัญหานี้ลงลง ทางออกเดียวคือหันมาคุยกันจริงๆ แบบไร้ Mobile Device ให้มากขึ้น
ลดการสนทนาลงเพราะทำงานระยะไกล : พัฒนาการของเครือข่ายการสื่อสารที่ครอบคลุมแทบทุกพื้นที่ในโลก ทำให้เกิดการทำงานจากระยะไกล (Remote Office) ทั้งทำ ติดตามและส่งงานได้แบบไร้ข้อจำกัดเรื่องเวลาและสถานที่ แต่ผลข้างเคียงของความสะดวกนี้คือ การคุย ปรึกษาหารือ หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบซึ่งๆ หน้าลดลง
จนบทสนทนาข้างตู้กดน้ำใน Office ไม่ว่าจะแค่หยอกล้อ ปรึกษาจริงจัง หรือแบ่งเบาความทุกข์ใจจากการทำงาน แทบไม่มีอีกต่อไป เลือกเอาว่าคุณจะเป็นคนเก่งขี้เหงา หรือคนที่ทำงานพอใช้แต่เพื่อนเยอะ โดยถ้าเลือกอย่างหลัง อย่างน้อยก็ควรหาเวลาพบกับเหล่าเพื่อนร่วมงานระยะไกลบ้าง อาจเป็นตามร้านกาแฟหรือ Co-Working Space / inc
ขอบคุณที่มา marketeer
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น