คนค้นกูเกิลหาข้อมูล ยาเม็ดทำแท้ง มากขึ้นเป็น 2 เท่าในช่วง 10 ปี
การค้นพบนี้ระบุด้วยว่า ในประเทศที่กฎหมายทำแท้งมีความเข้มงวดมาก ก็ยิ่งมีการค้นข้อมูลเกี่ยวกับยาเม็ดทำแท้งมากขึ้นตามไปด้วย
ผู้หญิงมีการหันมาใช้เทคโนโลยีในการหลีกเลี่ยงอุปสรรคทางกฎหมายในการทำแท้งเพิ่มมากขึ้น ด้วยการซื้อยาเม็ดทำแท้งทางออนไลน์ และแลกเปลี่ยนคำแนะนำด้านการแพทย์ผ่านกลุ่มสนทนาในแอปพลิเคชั่นอย่าง วอทสแอป (Whatsapp)
นี่คือสิ่งที่เรียกว่า "ทำแท้งด้วยตัวเอง" (DIY abortion) ในยุคใหม่
การวิเคราะห์ของบีบีซี พบว่า หลายประเทศที่มีกฎหมายเข้มงวดมากที่สุด ซึ่งอนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ก็ต่อเมื่อเพื่อรักษาชีวิตของแม่ หรือไม่ก็ห้ามทำแท้งทุกกรณี มีการค้นข้อมูลเกี่ยวกับยาเม็ดทำแท้ง ไมโซพรอสตอล (Misoprostol) มากกว่าประเทศที่ไม่มีข้อจำกัดถึง 10 เท่าปัจจุบัน
สองวิธีการหลักในการทำแท้งคือ การผ่าตัดและการใช้ยา
ขณะที่ในหลายประเทศอย่างเช่น สหราชอาณาจักร แพทย์จะสั่งยาสองชนิดนี้ให้แก่ผู้หญิง ส่วนในอีกหลายประเทศที่การทำแท้งถูกจำกัด ผู้หญิงก็มักละเมิดกฎหมายด้วยการค้นข้อมูลและสั่งซื้อยานี้ทางออนไลน์ ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกลงโทษอย่างรุนแรง
จากข้อมูลของกูเกิล พบว่า กานาและไนจีเรียเป็น 2 ประเทศที่มีการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับยาไมโซพรอสตอลมากที่สุด
กานา อนุญาตให้ทำแท้งเฉพาะในกรณีถูกข่มขืน, ตั้งครรภ์จากการมีเพศสัมพันธ์กับญาติใกล้ชิด, ตัวอ่อนในครรภ์มีความบกพร่อง หรือ เพื่อรักษาสุขภาพจิตของผู้หญิง
ส่วนไนจีเรียมีความเข้มงวดมากกว่า อนุญาตให้ทำแท้งได้เฉพาะในกรณีที่ชีวิตผู้หญิงตกอยู่ในอันตรายเท่านั้น
ประเทศที่มีการค้นข้อมูลเกี่ยวกับยาไมโซพรอสตอลสูงสุด 25 ประเทศ อยู่ในแอฟริกา 11 ประเทศ และละตินอเมริกา 14 ประเทศ
ทุกประเทศนี้ ยกเว้นเพียงสองประเทศคือ แซมเบียและโมซัมบิก ห้ามทำแท้งทุกกรณี หรือไม่ก็อนุญาตให้ทำแท้งได้เพื่อรักษาชีวิตของผู้หญิง หรือเหตุผลด้านสุขภาพเท่านั้น
ในไอร์แลนด์ ซึ่งการกินยาเม็ดทำแท้งมีโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี ได้มีการจัดการลงประชามติเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผลปรากฏว่า ประชาชนได้ลงมติสนับสนุนการยกเลิกกฎหมายทำแท้งอย่างท่วมท้น
นายกรัฐมนตรีลีโอ วารัดการ์ ซึ่งรณรงค์ให้เปิดเสรีมากขึ้น กล่าวว่า เขาหวังว่า กฎเกณฑ์ใหม่จะมีผลบังคับใช้ภายในสิ้นปีนี้จูเลียนา (นามสมมุติ) เป็นหนึ่งในผู้หญิงที่ขอความช่วยเหลือจากกลุ่มวอทสแอปกลุ่มนี้
"ฉันทำ[แท้ง]คนเดียวที่บ้าน และแจ้งเวลาที่ฉันจะเริ่มทำไปที่กลุ่มวอทสแอป" จูเลียนา อายุ 28 ปี กล่าว
"สิ่งที่ฉันคิดว่าดีมาก ๆ ก็คือ ผู้หญิงคนอื่น ๆ ในกลุ่มต่างช่วยเหลือกัน แบ่งปันข้อมูล และหารือกันเกี่ยวกับข้อสงสัยและข้อกังวลต่าง ๆ ช่วยทำให้ฉันรู้สึกมีกำลังใจขึ้น"
"ฉันรู้สึกดีที่รู้ว่า ฉันไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว กลุ่มนี้สำคัญกับฉันมาก ทำให้ฉันรู้สึกปลอดภัย"จากการวิเคราะห์ของบีบีซีพบว่า "ยาเม็ดทำแท้ง" เป็นคำที่ถูกใช้ค้นหาข้อมูลสูงสุดในทุกประเทศ
"ทำแท้งอย่างไร" เป็นคำถามที่ถูกถามมากที่สุดในประเทศต่าง ๆ จำนวนกว่า 2 ใน 3
"ใช้ยาไมโซพรอสตอลอย่างไร", "ราคายาไมโซพรอสตอล", "ซื้อยาไมโซพรอสตอล" และ "ปริมาณการใช้ยาไมโซพรอสตอล" อยู่ในกลุ่มคำที่ถูกใช้ในการค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำแท้งมากที่สุด
นอกจากยาเม็ดทำแท้งแล้ว ผู้หญิงยังใช้การค้นหาผ่านทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับทางเลือกในการทำแท้งด้วยตัวเองรูปแบบอื่น ๆ ด้วย
สมุนไพรอย่าง พาร์สลีย์, อบเชย, วิตามินซี, ยาแอสไพริน และชาทำแท้ง (ยาหม้อสมุนไพร) ต่างปรากฏอยู่ในคำค้นเกี่ยวกับวิธีการทำแท้งสูงสุด
ในบรรดาประเทศที่บีบีซีวิเคราะห์ข้อมูลกว่าครึ่งพบกว่า มีการค้นคำว่า "วิธีพื้นบ้านสำหรับการทำแท้ง"
การศึกษาหนึ่ง ซึ่งศึกษาการใช้ชาทำแท้งในภูมิภาคซับซาฮาราของแอฟริกา พบว่า แม้ว่าพืชบางชนิดมีผลต่อมดลูก แต่การใช้วิธีการรักษาแบบแผนโบราณนี้ก็มีข้อเสียหลายข้อ
นอกเหนือจากการขาดข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยแล้ว ผลการศึกษายังระบุว่า ผู้ใช้การรักษาวิธีนี้ยังควบคุมปริมาณการใช้และผลข้างเคียงได้ยากด้วยไม่มี "วิธีพื้นบ้าน" ข้างต้นวิธีใดที่ถือว่าเป็นการทำแท้งที่ปลอดภัยโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organisation--WHO)
การทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย 25 ล้านครั้งถูกนำไปจัดแบ่งประเภทเป็นกลุ่มย่อยอีก
แม้ว่าตามปกติแล้ว การใช้ยาไมโซพรอสตอลถือว่าเป็นวิธีการทำแท้งที่ปลอดภัยเมื่อได้รับการสั่งจ่ายโดยแพทย์ แต่เมื่อคนที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมมานำไปใช้ ก็อาจจะเผชิญกับความเสี่ยงหลายอย่าง
WHO ระบุว่า เมื่อยานี้ถูกสั่งจ่ายโดยคนที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมถือว่า "มีความปลอดภัยน้อย" และคิดเป็นเกือบหนึ่งในสาม (31%) ของจำนวนการทำแท้งทั้งหมด ทั้งปลอดภัยและไม่ปลอดภัย
"แม้ว่ายาจะมีคุณภาพดี และคุณปฏิบัติตามคำสั่งตามใบกำกับยา ก็ยังมีโอกาสล้มเหลว" นายพีเรรา กล่าว
เขากล่าวว่า เมื่อผู้หญิงซื้อยานี้ทางออนไลน์ หรือมีคนที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมจัดหามาให้ ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสที่การทำแท้งจะล้มเหลว
ผู้หญิงเหล่านี้ ไม่น่าจะที่เข้ารับการดูแลรักษาหลังการทำแท้ง ถ้าเกิดอะไรผิดพลาดขึ้น
เขาบอกว่า "การตีตรา, ค่าใช้จ่าย, ความสะดวกในการเดินทาง ล้วนทำให้ผู้หญิงลังเล และทำให้พวกเธอต้องเผชิญความเสี่ยง" เขากล่าว
"มันคืบหน้าช้ามาก แต่ก็ยังมีความคืบหน้าอยู่อย่างไม่ต้องสงสัย มีการก้าวถอยหลังอยู่ทั่วโลก ยกตัวอย่าง สหรัฐฯ แต่ผมยังคงมีความหวัง"
เมื่อไม่นานมานี้ บีบีซี ได้ยินเรื่องราวของอเรซู นักศึกษาด้านกฎหมาย ซึ่งกำลังใช้ชีวิตอยู่ในอิหร่านในตอนที่เธอรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์กับเพื่อนชายที่คบหากันมา 5 ปี ทั้งที่พวกเขาใช้ยาคุมกำเนิด
เธอกล่าวว่า "ฉันเดินเข้าไปที่สำนักงานนรีแพทย์ทุกแห่งที่ฉันเห็น"
"เมื่อแพทย์ตรวจและรู้ว่าฉันไม่ได้แต่งงาน และต้องการทำแท้ง พวกเขาก็ปฏิเสธทันที"
เธอปลอมเอกสารที่ระบุว่าเธอได้หย่าร้าง และขอให้แพทย์ช่วยเหลือเธอ
"เขาคิดค่ายา 8 เม็ดแพงมหาศาล" เธอกล่าว แต่ยานั้นไม่ได้ผล
อเรซู ได้หันไปหาข้อมูลทางออนไลน์และพบองค์กรการกุศลแห่งหนึ่งที่ส่งยาเม็ดทำแท้งให้ผู้หญิงในประเทศต่าง ๆ ซึ่งห้ามการทำแท้ง เธอได้รับคำแนะนำและความช่วยเหลือจากองค์กรนั้น
สุดท้าย ยาเม็ดที่เธอได้จากแพทย์ก็ทำให้เธอตกเลือดอย่างหนัก แต่การทำแท้งก็ยังไม่สมบูรณ์ และอเรซูก็ต้องรีบไปโรงพยาบาลเอกชนในอีก 1 สัปดาห์ต่อมาพร้อมกับพี่สาวของเธอ
"ฉันโกหก ฉันบอกพวกเขาว่า สามีฉันอยู่ในฝรั่งเศส และเอกสารของฉันถูกเก็บไว้ในเซฟที่ไหนสักแห่ง ฉันจำเป็นต้องได้รับการทำแท้งอย่างปลอดภัย"
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมีทีท่าลังเล ไม่ต้องการรับเธอไว้ อเรซูบอกว่า แต่สุดท้ายแล้วพวกเขาก็เชื่อและรับเธอ
"หลังจากโกหกและแต่งเรื่องขึ้น ฉันก็ได้เข้าโรงพยาบาล และอีก 30 นาทีต่อมา กระบวนการดูดก็แล้วเสร็จ มันเป็นฝันร้ายที่แย่ที่สุดในชีวิตของฉัน" เธอเล่า
ราว 14% ของการทำแท้ง "ปลอดภัยน้อยที่สุด" ซึ่งหมายความว่า พวกเธอได้รับการทำแท้งจากคนที่ไม่ได้รับการฝึกหัด ซึ่งใช้วิธีการที่เป็นอันตราย อย่างเช่น การใช้วัตถุแปลกปลอม และการใช้ยาหม้อสมุนไพร"
การใช้วิธีการเหล่านี้ ทำให้มีโอกาสติดเชื้อและทำแท้งไม่สมบูรณ์สูงขึ้น
เมื่อการทำแท้งไม่สมบูรณ์ เจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์อาจแนะนำให้รับยา หรือให้ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
สถาบันกูตต์มาเกอร์ (Guttmacher Institute) รายงานว่า แต่ละปี มีผู้หญิงอย่างน้อย 22,800 คน เสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อนของการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย
รายงานโดย อมีเลีย บัตเตอร์ลี และข้อมูลเชิงวารสารศาสตร์โดย คลารา กุยบวร์ก รายงานเพิ่มเติมโดย ดีนา เดมร์ดาช, นาทาเลีย พัสซารินโฮ และ เฟเรนัก อามีดีข้อมูลการค้นหาทั้งหมดที่ถูกใช้ครอบคลุมระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา และมาจากกูเกิลเทรนด์ ซึ่งไม่ได้ให้ปริมาณการค้นที่แน่นอน แต่ได้แปลงการค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อเป็นตัวเลขจาก 0-100 โดย 100 คือความสนใจค้นข้อมูลสูงที่สุดในหัวข้อ, เวลา, และพื้นที่ที่กำหนด ในวิธีการนี้ได้รวมการค้นหาในภาษาต่าง ๆ หรือการใช้ชื่อที่แตกต่างเกี่ยวกับตัวยา (ยกตัวอย่างเช่น "ยาเม็ดทำแท้ง", "ไมโซพรอสตอล" หรือ "ไซโตเทค")ไว้แล้ว
เราพิจารณาข้อมูลการค้นหาจากทั่วโลกเพื่อดูแนวโน้มภาพรวม และพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมใน 14 ประเทศ ได้แก่ กานา, ไนจีเรีย, ฮอนดูรัส, โบลิเวีย, เอกวาดอร์, นิการากัว, เคนยา, เม็กซิโก, สหรัฐฯ, โคลอมเบีย, บราซิล, อาร์เจนตินา, อินเดีย และไอร์แลนด์ ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายทำแท้งในแต่ละประเทศมาจากศูนย์สิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ (Center for Reproductive Rights)
Cr:::bbc.com/thai