สำหรับเรื่องนี้ นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเพราะว่า ม.ม้า เป็นพยัญชนะที่ออกเสียงได้ง่ายในมนุษย์ สังเกตเสียงของเด็กแรกเกิดที่ออกมาแล้วจะร้องเรียก แม๊ แม๊ อุแว๊ๆ อุแว๊ๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับการเรียกแม่นั่นเอง
อัศจรรย์ใจ..คำว่า แม่ ของแต่ละประเทศ ออกเสียง มอ ม้า เหมือนกัน เพราะอะไร?
สำหรับเรื่องนี้ นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าเพราะว่า ม.ม้า เป็นพยัญชนะที่ออกเสียงได้ง่ายในมนุษย์ สังเกตเสียงของเด็กแรกเกิดที่ออกมาแล้วจะร้องเรียก แม๊ แม๊ อุแว๊ๆ อุแว๊ๆ ซึ่งคล้ายคลึงกับการเรียกแม่นั่นเอง
- คนไทยเชื้อสายจีน เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า มาม้า
- ภาษาลาว เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "อีแม"
- ภาษาอังกฤษ เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มาเธอร์ (Mother)" หรือ "มัม (Mom)"
- ภาษาสันสกฤต เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มารดา"
- ภาษาเยอรมัน เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มุสเธอร์ (Mutter) หรือ มาม้า (Mama)"
- ภาษาบาลี เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "มาตา"
- คนจีน เรียกผู้ที่ให้กำเนิดว่า "ม่าม้า" (แต้จิ๋ว) จีนกลางจะออกเสียงว่า "มาหมะ"
- คนญี่ปุ่น เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "โอก้าซัง"
- คนเกาหลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "ออมม่า"
- คนเวียดนาม เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "แม๊" (ใกล้เคียงภาษาไทย)
- คนเขมร เรียกผู้ให้กำเนิดว่า ว่า "กุนแม"
- ภาษามาเลย์ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาม่า"
- ชนเผ่าปกากะญอ เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "โม่"
- ชนเผ่าอาข่า เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "อะมา"
- คนแขก เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามี้"
- คนฝรั่งเศส เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มามอง (Maman)"
- คนสเปนและอิตาลี เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มาเดร (Madre)"
- คนแถบสแกนดิเนเวีย (เดนมาร์ก, นอร์เวย์, สวีเดน) เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "มัวร์ (Mor, Moder)"
- คนโปรตุเกส เรียกผู้ให้กำเนิดว่า "แมะ (Mae)"