Supreme แฟชั่นมูลค่า 30,000 ล้าน “ไม่ใช่ทุกคนที่ซื้อได้”

ทำไม Supreme ทำอะไรก็ขายดี ขายอิฐก้อนละพันยังมีคนซื้อไปขายต่อสามหมื่น!?
ประโยคข้างบนไม่ได้เป็นมุกตลก แต่อิฐของ Supreme ที่ขายก้อนละ 30 เหรียญ (ราว 1,000 บาท) ขายหมดอย่างรวดเร็ว จนมีคนเอาไปเก็งกำไรบนอินเตอร์เน็ตถึงก้อนละ 1,000 เหรียญ แถมยังขายได้อีก เอากับเขาสิ!!

อะไรคือสิ่งที่ทำให้แบรนด์โลโก้สีแดงนี้ กลายมาเป็นแบรนด์หรูชนิดที่ว่า “ของมันต้องมี!!” จนทุกคนต้องแย่งกันซื้อ

 

ต้นกำเนิดของ Supreme
– James Jebbia ชาวอังกฤษที่ย้ายมาอยู่ในนิวยอร์ก เปิดร้านเล็กเสื้อผ้าเล็กๆ ขึ้นในปี 1994 จากความชื่นชอบในวัฒนธรรม “สเก็ตบอร์ด”

– เขาไม่ได้เล่นสเก็ตบอร์ด แค่รู้สึกชอบ และอยากให้ชาวสเก็ตมีเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์ “คูลๆ” ไว้สวมใส่ใช้งานกันบ้าง

– บ็อกซ์โลโก้อันเรียบง่าย เป็นเพียงตัวอักษรสีขาวคำว่า Supreme บนพื้นสีแดง แม้จะดูไม่มีอะไร แต่กลับกลายเป็นที่จดจำได้ง่าย

Supreme แฟชั่นมูลค่า 30,000 ล้าน “ไม่ใช่ทุกคนที่ซื้อได้”

James Jebbia ผู้ให้กำเนิด Supreme
 

Supreme กับการเติบโตจนกลายเป็นลัทธิแฟชั่น
– แรกเริ่มเดิมที สินค้า Supreme ยังเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่มของชาวสเก็ตบอร์ด พวกเขาทำเสื้อผ้าคุณภาพดี งานเนี้ยบ เรียบง่าย ดีไซน์เก๋ มาเป็นจุดขายให้ลูกค้า

– ข้อสำคัญของแบรนด์ก็คือ พวกเขาทำสินค้าแบบที่ตัวเองอยากทำ โดยไม่ได้ตามเทรนด์ในขณะนั้น

– ตรงกันข้าม Supreme สร้างเทรนด์ต่างๆ ขึ้นมาเอง ตามที่พวกเขาอยากทำ แต่ความไม่สนไม่แคร์นี้ กลับถูกใจกลุ่มแฟนคลับเป็นอย่างยิ่ง

– แถมมีความกล้า บ้าบิ่น นำบ็อกซ์โลโก้แบรนด์ Supreme อันเป็นเอกลักษณ์ ไปจับผสมสานกับสิ่งคุ้นตาอื่นๆ ทั้งการล้อเลียนโลโก้โคคาโคล่า จับโลโก้ตัวเองเปลี่ยนเป็นภาษาฮิบรู หรือกระทั่งดัดแปลงลวดลายของหลุยส์ วิตตอง ตั้งแต่สมัยยังไม่จับมือกัน จนเกือบโดนเอาเรื่องมาแล้ว

– อีกจุดหนึ่งคือความสัมพันธ์ที่ดีของ Supreme กับแบรนด์ดังอื่นๆ เขาไม่ได้มองว่าเป็นคู่แข่ง ตรงข้ามคือไปจับมือกันเพื่อทำคอลเลคชั่นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นรองเท้า Vans, Nike หรือกระทั่งเบียร์ Budweiser ซึ่งดูไม่น่าจะมาเกี่ยวข้องกันได้

– นอกจากจับมือกับแบรนด์อื่นแล้ว ยังไปร่วมมือกับคนดังในหลากหลายวงการ ทั้งศิลปินฮิปฮอป ร็อค กระทั่งนักมวยอย่าง Mike Tyson ก็มีคอลเลคชั่นพิเศษมาโดยเฉพาะด้วย

– แต่ละคอลเลคชั่นพิเศษที่ออกมา ยิ่งทำให้แบรนด์ของ Supreme กลายเป็นสินค้าเฉพาะทางที่ถูกรู้จักในวงกว้างขึ้น ผ่านทางแฟนคลับของสินค้าอื่นๆ นั่นเอง

– แต่แทนที่จะทำของออกมาขายเยอะๆ ตามใจแฟนคลับที่อยากจะได้ พวกเขากลับทำมาในปริมาณจำกัดซะอีก

– นั่นเพราะ James ไม่อยากให้สินค้าทำออกมาเหลือค้างสต็อก จนต้องขนออกมาลดราคาขายเลหลัง

– เมื่อความต้องการมากกว่าตัวสินค้า คนก็เลยต้องแย่งชิงกันมากขึ้น และนั่นยิ่งทำให้ชื่อเสียงของแบรนด์ Supreme โด่งดังขึ้นไปอีกในฐานะของหายาก

 

สินค้า Supreme ซื้อยากขนาดไหน!?
– Supreme เปิดตัวคอลเลคชั่นปีละ 2 ครั้ง ซึ่งพวกเขาจะประกาศให้รู้ก่อนผ่านช่องทางออนไลน์

– สินค้าคอลเลคชั่นใหม่ จะวางขายที่ร้านในวันพฤหัสบดี

– แต่แฟนบางส่วนก็รอหน้าร้านตั้งแต่คืนวันพุธเลยด้วยซ้ำ ซึ่งบางคอลเลคชั่น พวกเขาแทบไม่รู้ว่าจะเป็นการเปิดตัวอะไร ก็ขอเข้าคิวเพื่อซื้อก่อน

– ร้านของ Supreme มีเพียง 11 สาขาทั่วโลกเท่านั้น จึงมีการเปิดขายผ่านออนไลน์ทางหน้าเว็บไซต์ด้วย

– แต่การวางขายสินค้าบนเว็บไซต์ หลังการวางขายในร้านจริง ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะซื้อได้ เพราะมักจะหมดแทบจะทันทีที่มีการอัพเดทสินค้าใหม่

– แฟนคลับถึงขั้นมีการพัฒนา “Bot” เพื่อใช้ในการซื้อสินค้าบนหน้าเว็บไซต์โดยเฉพาะ เพราะมันทำงานได้เร็วกว่าคนนั่งคลิก

– แต่.. ยังไม่จบ ยิ่งเป็นคอลเลคชั่นกับแบรนด์ดังหรือคนดัง ต่อให้เป็น Bot ก็ยังซื้อไม่ทัน เพราะมี Bot บางตัวซึ่งเร็วกว่าซื้อตัดหน้าไปเสียอีก (เอ๊า!!)

 

การปั่นราคา กับความสำเร็จของ Supreme
– เมื่อมีความต้องการสินค้าของ Supreme สูงมาก บางชิ้นอาจจะมีราคาสูง 2-10 เท่าจากราคาหน้าร้าน

– จึงก่อกำเนิดอาชีพ “นักปั่นราคา” ขึ้นมา

– แม้ทาง Supreme จะมีการจำกัดจำนวน อย่างเช่น 1 คน 1 ชิ้น แต่ความอยากได้ของแฟนคลับมันมีสูงกว่านั้น

– ยิ่งขายต่อได้แพง ก็ยิ่งมีคนอยากมาซื้อ แล้วพอมีความต้องการซื้อมากขึ้น ก็ยิ่งขายต่อได้แพง วนไปวนมาอย่างนี้

– กลายเป็นว่าธุรกิจสีเทาๆ นี้ มีส่วนต่อความสำเร็จและการขยายชื่อเสียงของแบรนด์ Supreme จนผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่าถ้าไม่มีการปั่นราคา แบรนด์อาจจะมาไม่ถึงจุดนี้

Supreme แฟชั่นมูลค่า 30,000 ล้าน “ไม่ใช่ทุกคนที่ซื้อได้”

ภาพของการเข้าคิวหน้าร้าน Supreme
 

หลังจาก Supreme ขายหุ้น 50% ให้กับทาง  Carlyle Group เป็นมูลค่ากว่า 15,000 ล้านบาท

ทำให้ถูกประเมินว่าแบรนด์มีมูลค่าสูงถึง 30,000 ล้านบาทเข้าไปแล้ว

ทั้งที่มีเพียงแค่ 11 สาขาทั่วโลก แบ่งเป็นในอเมริกา 3 สาขา อังกฤษ 1 สาขา ฝรั่งเศส 1 สาขา และญี่ปุ่น 6 สาขา

 

เรื่องราวความสำเร็จของ Supreme ท่ามกลางธุรกิจเสื้อผ้าที่ดูคล้ายกันไปหมด

เสื้อผ้าเป็น 1 ในปัจจัย 4 เป็นของที่ใครๆ ก็ต้องมี ผู้ผลิตจึงต้องทำราคาให้เอื้อมถึง ให้คนทั่วไปซื้อได้ เพื่อยอดขายที่ดีและเข้าถึงผู้บริโภคให้มากที่สุด

 

แต่ Supreme เดินหมากในทางตรงข้าม เป็น “ของที่ต้องมี” แต่ “ไม่ใช่ทุกคนที่ซื้อ”

ซึ่งความแตกต่างและเป็นเอกลักษณ์ อาจจะเป็นเคล็ดลับสู่ความสำเร็จของแบรนด์ในทุกวันนี้ก็เป็นได้

Supreme แฟชั่นมูลค่า 30,000 ล้าน “ไม่ใช่ทุกคนที่ซื้อได้”

ที่มา billionaireth


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์