วิเคราะห์กำเนิดที่มาของรูปเงาะในพระสังข์ทอง
(เนื้อหาส่วนนี้แต่งขึ้นจากการอ้างอิงเนื้อหาเดิมไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องสังข์ทองแต่อย่างใด)
จากคิดมานานว่าจะทำดีมั้ย ตอนนี้ก็ตัดสินใจสร้างกำเนิดที่มาของรูปเงาะนี้ให้ชัดเจนกันไปเลย
กำเนิดที่มาของรูปเงาะนี้ ไม่น่าจะใช่ของพวกยักษ์ตั้งแต่แรก อาจจะเป็นของขวัญของนางพันธุรัตจากท้าวภุชงค์สหายเก่าก็ได้ รูปเงาะนี้จึงถูกเก็บรักษาอย่างดีแทนที่จะนำมาใช้
วัสดุที่นำมาสร้าง น่าจะเป็นเหล็กมวลเบาไม่ก็ไม้ไร้แก่น นำมาแกะขึ้นรูปเป็นหน้าเงาะป่า และส่วนประกอบสำคัญที่ทำให้หน้ากากนี้เปลี่ยนรูปกายภายนอกของผู้สวมได้น่าจะเป็น"พิษพญานาค" ซึ่งเป็นพิษธาตุน้ำ-ปูติมุขพิษซึ่งทำให้ธาตุน้ำกำเริบ อาการอย่างหนักคือ ทำให้เกิดอาอารบวมพองเน่าเปื่อยจากเลือดหนองและของเหลว(ธาตุน้ำ๑๒)ต่างๆในร่างกาย อย่างเบาคือ ทำให้รูปกายเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการเปลี่ยนแปลงของธาตุน้ำในกาย(ส่วนมากมักเปลี่ยนไปในทางลบแบบพระนลที่ถูกพญานาคกัดนิ้ว) และที่ผิวดำขึ้นเป็นผลจากพิษพญานาคเช่นกันที่ทำปฏิกิริยากับเม็ดสีใต้ผิวหนัง เมื่อสวมอาจเกิดเป็นควันฟุ้งออกมาจากส่วนคอแผ่คลุมทั้งร่างก่อนซึมเข้าไปทำปฏิกิริยาใต้ผิวหนัง แต่เนื่องจากเป็นพิษจึงย่อมมีผลข้างเคียงจากการใช้อยู่บ้าง อาจเป็นแผลพุพองเล็กๆน้อยๆ ฉะนั้น จึงต้องทำการป้องกันปฏิกิริยาย้อยกลับจากพิษด้วยการชุบตัวใน"บ่อเงิน-บ่อทอง" เพื่อเข้าไปดับปฏิกิริยาของพิษไม่ให้เกิดแก่ผู้ใช้นั่นเอง
อนึ่ง โบราณมักสื่อถึงลักษณะของคนโดนพิษด้วยการลงสีดำให้ตัวคนที่โดนพิษ(เช่น ในเรื่องกามนิต วาสิฏฐี ตอนที่ วาสิฏฐี กล่าวว่า ท่านโสมทัตต์ ท่านเข้าใจผิดถนัด.. ความรักของฉันจะเปรียบด้วยสีดอกไม้ไรๆไม่ได้ เพราะฉันได้ยินกล่าวกันว่าความรักที่แท้จริงไม่ใช่สีแดง ย่อมมีสีดำดั่งสีนิลเหมือนดั่งศอพระศิวะ ...เมื่อทรงดื่มพิษร้ายเพื่อรักษาโลกไว้ให้พ้นภัย... ) ฉะนั้น การที่รูปเงาะทำให้ผิวเนื้อที่ชุบบ่อทองแล้วกลายเป็นสีดำก็น่าจะเป็นปฏิกิริยาจากพิษนั่นเอง
รูปประกอบจาก ภาพประจำตัว คุณ ภารต ถิ่นคำ
ที่มา FB : นาคเฝ้าคัมภีร์ นาคพิกลจริต ปิโลตินาคา
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น