ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม เผย 7 วิธีรับมือฝุ่นละออง PM2.5
ฝุ่นละอองPM2.5 รับมืออย่างไรให้ปลอดภัยต่อสุขภาพ
จากสภาวะค่า ฝุ่นละอองPM2.5 ที่มีระดับเกินมาตรฐานจนทำให้มีผลต่อสุขภาพของผู้ที่ต้องเผชิญกับความหนาแน่นของฝุนละอองที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย ที่ยังต้องทำงาน ต้องเดินทางออกนอกบ้าน ก็ต้องเผชิญกับสภาวะฝุ่นที่มีความหนาแน่นในตอนเช้าและตอนเย็น หากรับมือและดูแลตัวเองไม่ดีพอหรือไม่เหมาะสม อาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้ในระยะยาว
จากสภาวะค่า ฝุ่นละอองPM2.5 ที่มีระดับเกินมาตรฐานจนทำให้มีผลต่อสุขภาพของผู้ที่ต้องเผชิญกับความหนาแน่นของฝุนละอองที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย ที่ยังต้องทำงาน ต้องเดินทางออกนอกบ้าน ก็ต้องเผชิญกับสภาวะฝุ่นที่มีความหนาแน่นในตอนเช้าและตอนเย็น หากรับมือและดูแลตัวเองไม่ดีพอหรือไม่เหมาะสม อาจเกิดผลเสียต่อร่างกายได้ในระยะยาว
3 อาการผิดปกติจากฝุ่นละอองที่ควรต้องพบแพทย์ทันที!
- ไอจามผิดปกติ หรือมีน้ำมูกไหล
- ผดขึ้นตามผิวหนัง ใบหน้า หรือลำตัว
- มีอาการคันตา จมูกมากกว่าปกติ รัับชมคลิปVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVVV
--
ภาดาท์ วรกานนท์ ผู้เชียวชาญด้านสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำแนะนำสำหรับทุกๆ คนที่มีความจำเป็นจะต้องเดินทางนอกบ้านเผชิญกับสภาพอากาศในช่วงนี้ไว้ดังนี้
7 วิธีรับมือ ฝุ่นละอองPM2.5
1.เตรียมหน้ากากอนามัย N95 พร้อมปรับให้ขนาดพอดีกับโครงหน้าของแต่ละคนให้มากที่สุดเพื่อป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นละออง และในช่วงนี้ก่อนออกจากบ้านในช่วงนี้ควรเช็คค่าบริมาณฝุ่นละอองทุกครั้งเพื่อเตรียมความพร้อม
2.เช็คคุณภาพอากาศ (Air Quality Index : AQI)
3.ควรสวมเสื้อแขนยาว เพื่อป้องปันผิวหนังจากฝุ่น โดยเฉพาะผิวเด็กและผู้ที่มีผิวบอบบางระคายเคืองได้มากกว่าผู้ใหญ่ อาจเกิดผดผื่นและอาการคันตามร่างกายขึ้นมาได้
4.ควรพกกระดาษเปียก เพื่อเช็ดทำความสะอาดก่อนรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นที่ติดตามมือ หรือผิวหนังเข้าร่างกาย
5.งดหรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อลดโอกาสในการปะทะกับฝุ่นละอองโดยหันมาทำกิจกรรมในร่มแทน ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้จำกัดเวลา และสวมชุดและอุปกรณ์ป้องกันให้รัดกุม
6.เดินทางด้วยรถโดยสารประจำทางแบบปรับอากาศ เพื่อช่วยในการระบายความหนาแน่นของฝุ่นเพื่อไม่ให้อยู่กับฝุ่นละอองที่หนาแน่นมากมากเป็นเวลาในขณะเดินทาง
7.ช่วงนี้ควรเช็คการหมุนเวียนอากาศภายในที่พักควรตรวจตราไม่ให้ฝุ่นเล็ดลอดเข้ามาในจำนวนที่มากเกินไปและหมั่นทำความสะอาดและคุมการเข้าออกของอากาศและสามารถใช้เครื่องฟอกอากาศเข้ามาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับเด็กๆและทุกคนในครอบครัว
8.บำรุงร่างกายด้วยอาหารที่มีแอนตี้ออกซิแดนต์ เข่น วิตามินซีในผักผลไม้ (ส้ม ฝรั่ง ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ บรอกโคลี ปวยเล้ง คะน้า กะหล่ำ) และ โอเมก้า(ปลาทะเล น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว ถั่วเปลือกแข็ง นม ไข่) เพื่อช่วยให้ร่างกายผลิตสารแอนตี้ออกซิแดนต์ไว้คอยต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆที่มาพร้อมกับฝุ่นละออง
ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมกล่าวเพิ่มเติมว่า "เมื่อปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้พร้อมสังเกตอาการอย่างสม่ำเสมอแล้ว เราจะสามารถรับมือเพื่อให้ปลอดภัยจากจากฝุ่นละอองตัวร้ายในระดับเกินมาตรฐานในช่วงนี้ได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีภูมิคุ้มกันที่น้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ และยังมีความซุกซนตามวัยที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเข้มงวดกันสักนิดจนกว่าค่าฝุ่นละอองจะลดลงมาสู่ในระดับปกติค่ะ และขอส่งกำลังใจให้ทุกท่านในการดูแลลูกลูกและสุขภาพให้ปลอดภัยจากฝุ่นละอองในช่วงนี้ค่ะ"
>>>
ขอบคุณ goodlifeupdate,ข่าวเย็นอัมรินทร์
ขอบคุณ goodlifeupdate,ข่าวเย็นอัมรินทร์
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น