เปิดสูตรหลุดพ้นจากวงจร ติดโซเชียล
1.โรคกลัวไม่มีมือถือใช้ หรือ "โนโมโฟเบีย มาจากคำว่า No mobile phonephobia ซึ่งมีอาการหงุดหงิด กระวนกระวายใจ เมื่อหามือถือไม่เจอ หรือไม่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ต แบตเตอรี่หมด ไปจนถึงต้องเล่นมือถือก่อนนอนและหยิบมือถือเป็นสิ่งแรกในตอนเช้า หรือแม้กระทั่งตอนเข้าห้องน้ำ รับประทานอาหาร ไปจนถึงขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัย
2.โรคทนรอไม่ได้ หรือ "Hurry Sickness Syndrome" เพราะการเล่นโซเชียลมีเดีย สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้กลายเป็นคนใจร้อน ขาดความอดทน ไม่ยอมทนแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น ดาวน์โหลดช้าไม่ทันใจ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น ปวดข้อมือ นิ้วล็อค ปวดเมื่อยต้นคอเนื่องจากนั่งก้มมองสมาร์ทโฟนนานเกินไป เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้หรือเริ่มมี แสดงว่าคุณกำลังเป็นโรคติดโซเชียลมีเดียจนเริ่มส่งผลต่อชีวิตประจำวันและร่างกายของคุณ
2.โรคทนรอไม่ได้ หรือ "Hurry Sickness Syndrome" เพราะการเล่นโซเชียลมีเดีย สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้กลายเป็นคนใจร้อน ขาดความอดทน ไม่ยอมทนแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น ดาวน์โหลดช้าไม่ทันใจ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่น ปวดข้อมือ นิ้วล็อค ปวดเมื่อยต้นคอเนื่องจากนั่งก้มมองสมาร์ทโฟนนานเกินไป เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้หรือเริ่มมี แสดงว่าคุณกำลังเป็นโรคติดโซเชียลมีเดียจนเริ่มส่งผลต่อชีวิตประจำวันและร่างกายของคุณ
ดังนั้น ทางออกที่ดีสุดคือ เริ่มบำบัดด้วยการ "Social Media Detox" เพราะเราเชื่อว่าเรื่องนี้จะเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากข้อมูลของ We Are Social และ Hootsuite เผยผลสำรวจ "Global Digital 2019" ถึงการใช้งานดิจิทัล และอินเทอร์เน็ต ประจำปี 2019 พบว่า กลุ่มผู้ใช้ Social Network ในเมืองไทย กลุ่มใหญ่คือ อายุ 18 - 24 ปี และ 25 - 34 ปี แอพพลิเคชั่น 3 อันดับแรกคือ Facebook, YouTube, LINE ซึ่งคนไทย 51 ล้านคนใช้ Social Media และมากถึง 49 ล้านคน ใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือโดยเฉลี่ยใช้เวลา 3 ชั่วโมง 11 นาที ที่สำคัญคนไทยมี Social Network Account 10.5 บัญชีต่อคน สูงติด 1 ใน 5 ของโลก
ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทำความรู้จักกับ "Social Media Detox" ไว้บ้าง
ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องทำความรู้จักกับ "Social Media Detox" ไว้บ้าง
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เคยมีผู้ใช้ทวิตเตอร์รายหนึ่งใช้ชื่อว่า @pureswann รีวิววิธีการ "Social Media Detox" ในแบบของเธอ เช่น ค่อยๆ ลบแอพพลิเคชั่นออกวันละ 1 แอพ เริ่มจากเฟซบุ๊ก เลิกอัพสเตตัส เรียกยอดไลค์ ตัดพ้อชีวิตตัวเอง ตามด้วยลบอินตาแกรม เพื่อหลีกเลี่ยงการเห็ยภาพชีวิตคนอื่นและเปรีบเทียบกับตัวเอง ลบทวิตเตอร์เพื่อหยุดการเขียนข้อความบ่น หรือ ระบายความหงุดหงิด ซึ่งเธอบกว่าในช่วงสัปดาห์แรกยากมากสำหรับเธอแต่เมื่อผ่านไปเธอ จากการที่ไม่ต้องไปติดตามชีวิตคนอื่น แลวโฟกัสแต่สิ่งรอบตัวที่เกิดขึ้นจริงๆ นั่นทำให้เธอ "ไม่เครียดอีกเลย"ซึ่งถือว่าเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เราหลุดพ้นจากวงจรโซเชียลมีเดียได้
และนอกจากทดลองลบแอพลิเคชั่นออกวันละ 1 แอพ แล้วเพื่อไม่เห็นเป็นการหักดิบเกินไปก็อาจจะเริ่มต้นง่ายๆ เช่น
และนอกจากทดลองลบแอพลิเคชั่นออกวันละ 1 แอพ แล้วเพื่อไม่เห็นเป็นการหักดิบเกินไปก็อาจจะเริ่มต้นง่ายๆ เช่น
1.เลิกติดตามแอคเคาท์ที่ไม่ได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคุณ
2.ไม่จับสมาร์ทโฟนระหว่างรับประทานอาหาร
3.ไม่วางสมาร์ทโฟนไว้ใกล้เตียงนอนหรือเล่นสมาร์ทโฟนก่อนนอน
4.ปิดการแจ้งเตือนจากแอพพลิเคชั่นต่างๆ
5.หยุดดูโซเชียลมีเดียในเวลาทำงานหรือแม้กระทั่งระหว่างเดินไปเข้าห้องน้ำ เป็นต้น
ซึ่งหากคุณยังไม่ตระหนักถึงอาการติดโซเชียลมีเดีย ปล่อยไปนานๆ อาจส่งผลทำให้เกิดอาการ "โซเชียลมีเดียซินโดรม" เพราะหลายคนใช้โซเชียลมีเดีย เป็นช่องทางหลีกหนีโลกแห่งความจริง ลดปมในชีวิตจริง ใช้ระบายความรู้สึก เศร้า เสียใจ หรือบางคนโพสต์เฉพาะเรื่องดีๆ สร้างเรื่องราวให้ดูดี เพื่อปกปิดเรื่องราวแย่ๆ ในชีวิต ทำให้คนอื่นเห็นแต่ด้านที่สมบูรณ์แบบ จนกลายเป็นการเปรียบเทียบ และเป็นต้นเหตุของโรค "Facebook Depression Syndrome" หรือ โรคซึมเศร้าจากเฟซบุ๊กบางคนถึงขั้น unfriend เพื่อนไปหลายคน เพียงเพราะไม่อยากรับรู้ ไม่อยากเห็นในสิ่งที่เพื่อนโพสต์ และบางคนมีพฤติกรรมรอคอยการตอบกลับของคอมเมนต์ต่างๆ แบบใจจดใจจ่อ มักมีความคิดว่าทำไมยังไม่ตอบกลับ และไม่ตอบเพราะอะไร การใช้ เฟซบุ๊กมากเกินไปอาจกลายเป็นการบั่นทอนความสุข
โรคหน้าแก่ก่อนวัย (Smartphone face) เพราะการก้มหน้ามากๆ ทำให้ผิวบริเวณลำคอหย่อนคล้อย เหี่ยวย่น ดังนั้น ขณะเล่นเราควรยกมือถือให้อยู่ในระดับสายตา ไม่ควรก้มหน้ามากเกินไป และควรเล่นมือถือให้น้อยลง
โรควุ้นในตาเสื่อม เพราะการเพ่งข้อความในจอสี่เหลี่ยมเล็กๆ ทำให้ดวงตาทำงานหนักขึ้น ถ้ารู้สึกว่ามองเห็นหยากไย่ ตาข่าย หรือเส้นอะไรวนไปวนมาเหมือนยุง ปัดเท่าไรก็ไม่โดนสักที แบบนี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที
สุดท้าย แม้ว่าเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียจะช่วยทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นในหลายๆ ด้าน แต่เราจะต้องเป็นผู้ควบคุมไม่ใช่ให้โซเชียลมีเดียมาควบคุมชีวิตเราเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่กลับมาทำร้ายชีวิตเราเอง
โรคหน้าแก่ก่อนวัย (Smartphone face) เพราะการก้มหน้ามากๆ ทำให้ผิวบริเวณลำคอหย่อนคล้อย เหี่ยวย่น ดังนั้น ขณะเล่นเราควรยกมือถือให้อยู่ในระดับสายตา ไม่ควรก้มหน้ามากเกินไป และควรเล่นมือถือให้น้อยลง
โรควุ้นในตาเสื่อม เพราะการเพ่งข้อความในจอสี่เหลี่ยมเล็กๆ ทำให้ดวงตาทำงานหนักขึ้น ถ้ารู้สึกว่ามองเห็นหยากไย่ ตาข่าย หรือเส้นอะไรวนไปวนมาเหมือนยุง ปัดเท่าไรก็ไม่โดนสักที แบบนี้ต้องรีบพบแพทย์ทันที
สุดท้าย แม้ว่าเทคโนโลยีโซเชียลมีเดียจะช่วยทำให้ชีวิตเราง่ายขึ้นในหลายๆ ด้าน แต่เราจะต้องเป็นผู้ควบคุมไม่ใช่ให้โซเชียลมีเดียมาควบคุมชีวิตเราเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่กลับมาทำร้ายชีวิตเราเอง
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น