เช็คหน่อยว่าเป็นไหม! โรค Atelophobia กลัวตัวเองดีไม่พอ
Atelophobia นั้นคืออาการของการของการกลัวที่จะทำผิดพลาด กังวลว่ามันจะออกมาสมบูรณ์แบบ หรือกลัวว่าตัวเองจะดีไม่พอสำหรับอะไรก็ตามจนทำให้จิตตกไม่กล้าเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ เพราะกลัวความผิดพลาดและกลัวว่ามันจะไม่ดีพอ หากผลลัพธ์ที่ได้มาไม่ตรงไปตามความคาดหวัง พวกเขาจะรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว ผิดพลาด และมีความเครียด หรืออาจจะมีภาวะซึมเศร้าได้ โดยอาการเหล่านี้มักจะพบได้ส่วนใหญ่ในคน Gen หลังๆ รวมไปถึงคนที่เก่งและมีความสามารถหลากหลายรอบด้าน
โดยคำว่า Atelophobia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก Atelo แปลว่า ไม่สมบูรณ์แบบ และ phobia แปลว่า ความกลัว เมื่อรวมกันแล้ว Atelophobia จึงแปลได้ว่า อาการกลัวความไม่สมบูรณ์แบบนั่นเอง
โรค Atelophobia อาการเป็นอย่างไร
คนที่เป็นโรค Atelophobia หรือกลัวความไม่สมบูรณ์แบบมักจะมีความวิตกกังวลว่าตัวเองจะทำในสิ่งที่ไม่ดีพอ กลัวว่าสิ่งที่จะทำจะไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุด และหากผลลัพธ์ที่ได้มาไม่ตรงไปตามความคาดหวัง จะรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว ผิดพลาด และมีความเครียด หรืออาจจะมีภาวะซึมเศร้าได้
อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วย Atelophobia รู้สึกวิตกกังวลหรือมีความกลัวในความไม่สมบูรณ์แบบขึ้นมา อาการแสดงของผู้ป่วยโรค Atelophobia จะมีดังนี้
- วิตกกังวลอย่างรุนแรง
- หายใจสั้น ถี่ หายใจหอบ
- หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
- เหงื่อแตก
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปากแห้ง คอแห้ง
- สับสน ไม่เป็นตัวของตัวเอง
- ขาดสมาธิ
- ตัวสั่น
- อยู่ไม่สุข
- อ่อนแรง
- สูญเสียการควบคุมอารมณ์และการกระทำ
- เก็บตัว แยกตัวเองออกจากสังคม
- ปวดศีรษะ
Atelophobia รักษาอย่างไร
แนวทางการรักษาโรคกลัวหรือโฟเบีย (Phobia) มีวิธี ดังนี้
1. การบำบัดรักษาโรคกลัวตามแนวทางการหยั่งเห็น (Insight therapy)
เป็นการรักษาที่มุ่งให้ความรู้เกี่ยวกับตัวเอง การพยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจและมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเอง เพื่อนำไปสู่การควบคุมและปรับปรุงความคิด รวมไปถึงพฤติกรรมของตนได้ดีขึ้น
2. การบำบัดรักษาโรคกลัวตามแนวทางพฤติกรรมบำบัด (Behavior therapy)
วิธีนี้จะประกอบไปด้วยแนวทางการลดความกลัวด้วยการวางเงื่อนไข วิธีลดความกลัวอย่างเป็นระบบ วิธีเผชิญหน้ากับสิ่งเร้าของโรคกลัว ซึ่งในแต่ละวิธีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาจะปรับการบำบัดรักษาให้เหมาะสมกับคนไข้แต่ละบุคคล
3. การรักษาด้วยยา
ในกรณีที่คนไข้มีอาการหนัก กล่าวคือ อาการของโรคกลัวส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทำให้ใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ยาก แพทย์อาจให้ยาจิตเวชเพื่อช่วยบรรเทาอาการของโรคร่วมด้วย