แค่มั่นใจหรือป่วย? เรียนรู้ โรคหลงตัวเอง ชีวิตที่โปรดปรานคำสรรเสริญ


แค่มั่นใจหรือป่วย? เรียนรู้ โรคหลงตัวเอง ชีวิตที่โปรดปรานคำสรรเสริญ


หากคุณชอบทำตัวโดดเด่น คิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด ชีวิตแสนเพอร์เฟค โปรดปรานคำสรรเสริญเยินยอ ทำอะไรถูกเสมอ คิดว่าคนรอบข้างกำลังอิจฉาตัวเองอยู่ ทนไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์ คุณ (อาจ) กำลังเป็น "โรคหลงตัวเอง" !!!!!

"โรคหลงตัวเอง" หรือ "โรคคลั่งตัวเอง" มีอยู่จริง!

หลงตัวเอง บางครั้งไม่ได้เป็นแค่ "นิสัย" แต่อาจจะเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง นั่นก็คือ โรค Narcissistic Personality Disorder หรือ โรคคลั่งตัวเอง เรียกย่อๆ ว่า NPD หรือ ภาวะ Narcissism เป็นภาวะบกพร่องด้านบุคลิกภาพ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีลักษณะยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ต้องการยกยอชื่นชม หมกมุ่นอยู่กับการโอ้อวดตัวตนของตัวเอง เช่น ความสำเร็จ รูปร่างหน้าตา หรือฐานะทางการเงิน เชื่อว่าตัวเองนั้นเหนือกว่าผู้อื่น

ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะกลัวความขายหน้า จึงไม่ยอมที่จะให้ตัวเองตกอันดับ แต่กลับจะทำตัวให้โดดเด่นและมีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก ยิ่งหากรับการตอบสนองที่ดีก็จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้อาการกำเริบอย่างหนัก แต่ในทางกลับกันถ้าไม่ได้รับการตอบสนอง หรือเสียงตอบรับที่ไม่ดีเท่าที่ควร ก็จะยิ่งทำให้เกิดความผิดพลาดอย่างหนัก จนอาจทำให้เกิดอาการของโรคซึมเศร้า และไปก่ออันตรายแก่ผู้อื่นได้

"โรคหลงตัวเอง" มีที่มาจาก "การเลี้ยงดู"

โรคหลงตัวเองเกิดจากการที่บุคคลนั้น มีบุคลิกภาพที่เป็นมาจากพันธุกรรม และสภาพแวดล้อมการถูกเลี้ยงดู จนทำให้เกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะในบุคลิกของคนคนนั้น "อาการของโรคหลงตัวเอง" ก็อาจจะเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่รุ่นสู่รุ่น และนอกจากพันธุกรรมแล้ว การเลี้ยงดูก็เป็นส่วนที่สำคัญมากๆ ที่ก่อให้เกิดอาการหลงตัวเอง เพราะบางทีคนในครอบครัวก็มักจะยุยงส่งเสริมให้เด็กทำตัวโดดเด่น ก็จะยิ่งส่งผลให้เด็กมีอาการเช่นนี้ไปจนโต

นอกจากนี้ ในปัจจุบันโลกโซเชียลมีอิทธิพลต่อทุกชีวิตมากขึ้น ทำให้ผู้คนเริ่มที่จะให้ลูกหลานแสดงความเด่นออกมา จนอาจจะทำให้เด็กเกิดอาการกดดัน และจากนิสัยก็จะกลายเป็นความผิดปกติทางจิตไปโดยปริยาย

 




แค่มั่นใจหรือป่วย? เรียนรู้ โรคหลงตัวเอง ชีวิตที่โปรดปรานคำสรรเสริญ


เช็กอาการ! คุณเข้าข่าย "หลงตัวเอง" หรือไม่?

อาการของโรคหลงตัวเองมีแค่เส้นกั้นบาง ๆ ระหว่างอาการป่วยกับนิสัยส่วนตัว ซึ่งถ้าจะเช็กให้ชัวร์ว่าป่วยด้วยโรคนี้จริงหรือไม่ อาจต้องดูจากอาการโรคหลงตัวเองตามนี้ด้วย โดยหากเช็กแล้วตรงกับความเป็นตัวเองเกิน 5 ข้อ ให้สงสัยว่าป่วยไว้ก่อน

1. การสำคัญตัวเองผิด มักเข้าใจไปเองว่าตัวเองเป็นบุคคลที่มีความสามารถโดดเด่นเหนือคนอื่นทั้งปวงในโลกนี้

2. มักจะคิดว่าตัวเองประสบความสำเร็จในทุกด้านอย่างไม่มีขีดจำกัด เลิศเลอ perfect ไปทุกอย่าง

3. มักจะเข้าใจว่าตัวเองเป็นบุคคลพิเศษ ซึ่งก็จะมีแต่บุคคลพิเศษด้วยกันเท่านั้นที่จะเข้าใจตัวเขาได้

4. ต้องการความสนใจ การยอมรับ การชื่นชม และอยากเป็นที่รักของคนอื่นอยู่เสมอ

5.คิดว่าสมควรได้รับอภิสิทธิ์ต่างๆ อย่างไม่มีเหตุผล ไม่ว่าจะทำอะไรก็ถูกต้องไปหมดทุกอย่าง จึงไม่มีความรู้สึกผิดเวลาที่ทำอะไรผิดพลาด

6.มักจะชอบใช้คนอื่นเป็นเครื่องมือ เพื่อทำประโยชน์บางอย่างแก่ตัวเองอยู่เสมอ

7. ขาดความเห็นใจและนึกถึงผู้อื่น ไม่แคร์ใคร ไม่ใส่ใจความรู้สึกของคนรอบข้าง

8. มักอิจฉาริษยาคนรอบข้าง หรือมีความเชื่อว่าคนอื่นๆ รอบตัวกำลังอิจฉาตัวเองอยู่

9. แสดงความหยิ่ง ยะโส โอหัง ออกมาทั้งทางพฤติกรรม คำพูด และทัศนคติ

10. ทนไม่ได้กับการถูกวิพากษ์วิจารณ์

11. ไม่ยอมรับความผิดของตัวเอง และมักจะโทษว่าเป็นความผิดของบุคคลอื่นร่ำไป

12. รู้สึกเหมือนตัวเองเหนือกว่าคนอื่น และสามารถจะผลักใครให้พ้นทางก็ได้

13. ชอบที่จะเป็นผู้รับ โดยที่ไม่คิดจะเป็นผู้ให้

ทั้งนี้ หากเช็กดูจากอาการคร่าวๆ แล้วก็เหมือนจะเข้าข่ายนิสัยตัวเองหลายข้อ แนะนำให้ไปทำแบบทดสอบวัดระดับบุคลิกภาพของโรคหลงตัวเอง (Narcissistic Personality Inventory) กับจิตแพทย์ เพื่อหาความชัดเจนให้ตัวเองก่อนดีกว่า และแพทย์จะตรวจร่างกายร่วมด้วย เพื่อยืนยันว่าอาการที่ปรากฏนั้นไม่ได้เกิดจากการได้รับบาดเจ็บอื่นๆ




แค่มั่นใจหรือป่วย? เรียนรู้ โรคหลงตัวเอง ชีวิตที่โปรดปรานคำสรรเสริญ


การรักษา "โรคหลงตัวเอง"

วิธีจิตบำบัด เป็นการรักษาระยะยาวและทำโดยนักบำบัดที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความผิดปกติของบุคลิกภาพโดยตรง ทั้งนี้ ผู้ป่วยอาจได้รับยาที่สั่งจ่ายจากแพทย์ควบคู่กับการทำจิตบำบัด ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1.จิตบำบัด วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสร้างสัมพันธ์อันดีกับผู้คนรอบข้าง เข้าใจสาเหตุที่ทำให้เกิดความคิดและพฤติกรรมของโรคหลงตัวเอง เช่น สาเหตุที่ทำให้อยากแข่งขัน ไม่เชื่อใจผู้อื่น หรือดูถูกผู้อื่น การทำจิตบำบัดต้องใช้เวลาหลายปี เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงบุคลิกภาพของคนเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ผู้ป่วยที่เข้ารับการบำบัดจะได้รับประโยชน์จากการรักษา ดังนี้

- ยอมรับและรักษาความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างตามความเป็นจริง รวมทั้งเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น

- ยอมรับความสามารถและศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง ส่งผลให้สามารถรับคำวิจารณ์ผู้อื่นหรือเมื่อต้องประสบความล้มเหลวได้

- ทำให้เข้าใจและสามารถจัดการอารมณ์และความรู้สึกของตัวเองได้ดีขึ้น

- เข้าใจและสามารถยอมรับเรื่องราวที่ส่งผลต่อความนับถือและความเชื่อมั่นตัวเอง

- สามารถบอกได้ว่าต้องการบรรลุเป้าหมายที่ไม่สามารถเป็นไปได้ รวมทั้งยอมรับศักยภาพตัวเองที่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามจริง

2.การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ ผู้ป่วยโรคหลงตัวเองที่มีอาการรุนแรง โดยเกิดอาการหรือพฤติกรรมอื่นที่นอกเหนือไปจากอาการป่วยโรคหลงตัวเอง จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลและดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด เช่น มีอารมณ์เกรี้ยวกราด ทำร้ายตัวเอง หลงผิดไปจากความเป็นจริง ซึมเศร้า หรือวิตกกังวลเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม




แค่มั่นใจหรือป่วย? เรียนรู้ โรคหลงตัวเอง ชีวิตที่โปรดปรานคำสรรเสริญ


ไม่อยากเป็น "โรคหลงตัวเอง" ต้องทำอย่างไร?

สำหรับการเลี้ยงดูเด็กให้ห่างไกลจากอาการหลงตัวเอง คือ การให้เด็กรู้จักกับการใช้ชีวิตในสังคมเพื่อนฝูงในหลากหลายระดับ ซึ่งมีพ่อแม่หลายคนมองว่า การแยกเด็กออกมาจากเพื่อนๆ นั้น จะเป็นการดี แต่ถ้ามองในเรื่องของพัฒนาการในสังคมแล้ว นับเป็นเรื่องไม่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการยอมรับในระดับเพื่อนฝูงเท่านั้น ที่ช่วยสร้างความมั่นใจของวัยเด็กที่ต้องการเพื่อน ซึ่งการยอมรับนั้นก็ทำให้ปัญหาทางพฤติกรรมหลายๆ ปัญหาจางหายไปจากตัวเด็กได้ไม่ยาก ซึ่งพ่อแม่ก็อาจช่วยลูกได้ในการสอนให้เด็กรู้จักเลือกคบเพื่อนอย่างเหมาะสม



เครดิตแหล่งข้อมูล : TNN 16





เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์