เพียงคำเดียว การใช้ อิ-อี ในสำนวนไทย


เพียงคำเดียว การใช้ อิ-อี ในสำนวนไทย

ไม่ใช่ภาษาทางการแต่ก็เรียกขานนำมาใช้บ่อย จนกลายเป็นคำพูดติดปากมาแต่โบราณว่าไม่รู้อีโหน่อีเหน่ แม้เป็นสำนวนที่ไม่ปรากฏหลักฐานที่มา แต่ก็เข้าใจร่วมกันว่าหมายถึงความไม่รู้ไม่เข้าใจ ไม่เกี่ยวข้อง ไม่ประสีประสา พจนานุกรมระบุว่า นอกจากใช้กันมานาน แต่เดิมสำนวนนี้ยังหมายถึงความไม่รู้ระเบียบ ไม่รู้ธรรมเนียม โดยปรากฏหลักฐานไม่มีคำว่า อี ในลายพระหัตถ์ของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ที่กล่าวถึงการแต่งตัวของละคร ด้วยการใช้คำว่า ไม่รู้โหน่เหน่



วัฒนะ บุญจับ : ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านภาษาและวรรณกรรม

"ลักษณะของไอ้อีที่อยู่ในคำไทย บางคำตัดแล้วเสียความ บ้างใช้เน้นย้ำคำ แสดงถึงการกดหรือชี้เฉพาะ บ่งบอกสถานะคนฟังว่าต่ำกว่า แต่ถ้าไม่ได้ลงน้ำหนักคำ มักเป็นการเติมคำให้มีความพอดี"

นอกจากการใช้ อี บ้างยังใช้ อิ เติมเต็มความพอดีในน้ำเสียง เช่น สำนวน อิหลักอิเหลื่อ ที่หมายถึง ความอึดอัด ลำบากใจ บางสำนวนใช้ อิ-อี สื่อความหมายปฏิเสธควบคู่กับคำว่าไม่ ในสำนวน อินังขังขอบ

เพียงคำเดียว การใช้ อิ-อี ในสำนวนไทย


ไม่เพียงความหมายในทางปฏิเสธ หากบางสำนวนยังสามารถแตกแยกเป็นหลายคำในความหมายเดียวกัน เช่นในบริบทของคำกริยาที่อาจใช้ว่า อีฉุยอีแฉก, อีลุ่ยฉุยแฉก หรือ อีหลุยฉุยแฉก ในความหมายว่า กระจัดกระจาย ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน

เพียงคำเดียว การใช้ อิ-อี ในสำนวนไทย

คลิ๊กชมคลิป
vvvvvvvvvvvvv
vvvvvvvvvvv
vvvvvvvv
vvvvvv
vvvv
vv


เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Thai PBS


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์