ข้อมูลใหม่ นอนน้อยเพียงคืนละ 4 ชั่วโมงไม่อ่อนเพลีย หากมียีนกลายพันธุ์


ข้อมูลใหม่ นอนน้อยเพียงคืนละ 4 ชั่วโมงไม่อ่อนเพลีย หากมียีนกลายพันธุ์

บรรดาคนดังและผู้นำประเทศหลายคน เช่นนายโดนัลด์ ทรัมป์และนางอังเกลา แมร์เคิลต่างเคยกล่าวอ้างว่า ตนเองประสบความสำเร็จได้เพราะทำงานหนักและนอนน้อยมากเพียง 4 ชั่วโมงต่อคืน ทั้งยังบอกว่าพฤติกรรมการนอนแบบนี้ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพแต่อย่างใดด้วย

แม้จะฟังดูเป็นเรื่องเหลือเชื่อ แต่ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตซานฟรานซิสโก (UCSF) ของสหรัฐฯ รายงานว่าพบยีนกลายพันธุ์ชนิดหายากในกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ซึ่งยีนนี้จะทำให้เซลล์สมองตื่นตัวได้ง่ายกว่าและยาวนานกว่าคนทั่วไป

ผลการค้นพบดังกล่าวตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการ Neuron โดยทีมผู้วิจัยระบุว่าคนที่มียีน ADRB1 ชนิดกลายพันธุ์ จะต้องการเวลาเพื่อนอนหลับพักผ่อนขั้นต่ำน้อยกว่าคนทั่วไปโดยเฉลี่ยราว 2 ชั่วโมงต่อคืน ซึ่งหมายความว่าคนกลุ่มนี้จะสามารถนอนหลับเพียงคืนละ 4 ชั่วโมง และตื่นขึ้นมาทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยไม่รู้สึกอ่อนเพลีย

กลุ่มผู้มียีนกลายพันธุ์ดังกล่าวซึ่งมีอยู่น้อยมาก ยังมีแนวโน้มที่จะเป็นคนมีพลังกระฉับกระเฉง ทำงานหลายอย่างได้ในเวลาเดียวกัน มองโลกในแง่ดี อดทนต่อความเจ็บปวดได้สูง ไม่มีอาการเจ็ตแล็กจากการโดยสารเครื่องบินข้ามเขตเวลา และอาจจะมีอายุยืนยาวกว่าคนทั่วไปด้วย ปัจจุบันทีมผู้วิจัยพบการถ่ายทอดยีนกลายพันธุ์ดังกล่าวใน 50 สายตระกูลเท่านั้น

มีการทดลองตัดต่อพันธุกรรมให้หนูมียีน ADRB1 แบบที่กลายพันธุ์เช่นเดียวกับในมนุษย์ แล้วพบว่าหนูดังกล่าวจะนอนน้อยลงโดยเฉลี่ยวันละ 55 นาที ซึ่งแสดงว่ายีนกลายพันธุ์ดังกล่าวทำให้วงจรการนอนหลับตามธรรมชาติของคนและสัตว์หดสั้นลง

การนอนน้อยที่เป็นผลมาจากพันธุกรรมนี้ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเหมือนกับการอดนอนของคนทั่วไป ซึ่งปกติแล้วมักส่งผลเสียต่อระบบเผาผลาญและระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดสมองเสื่อม โรคมะเร็ง รวมทั้งโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย




ศาสตราจารย์ ฝู หยิงฮุย ผู้นำทีมวิจัยกล่าวว่า ยังไม่ทราบชัดถึงกลไกการทำงานของยีนกลายพันธุ์ที่ทำให้คนเรานอนน้อยลงได้โดยยังรู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่พบว่าเซลล์ประสาทบางส่วนของหนูทดลองในก้านสมอง ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการนอนหลับนั้นเปลี่ยนแปลงไป โดยจะอยู่ในภาวะที่ตื่นตัวมากกว่าของหนูอื่น ๆ ขณะที่ไม่ได้นอนหลับ

ก่อนหน้านี้ทีมวิจัยของ ศ. ฝู ได้เคยค้นพบการกลายพันธุ์ของยีน DEC2 ที่ทำให้คนเราสามารถจะนอนน้อยลงจากค่าเฉลี่ย 8 ชั่วโมงต่อคืน มาเป็นเพียง 6.25 ชั่วโมงต่อคืนมาแล้ว แต่ยีนกลายพันธุ์ดังกล่าวพบได้ในกลุ่มประชากรจำนวนน้อยมาก

"อาจมีการกลายพันธุ์ของยีนเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ที่ดีและให้ประโยชน์ แต่มันยังคงไม่แพร่หลายในวงกว้างพอที่จะทำให้คนส่วนใหญ่ซึ่งนอน 8 ชั่วโมง เปลี่ยนพฤติกรรมมานอนน้อยลง" ศ. ฝู กล่าว

"ในอนาคตเราอาจผลิตยาที่ทำให้มนุษย์นอนน้อยลงได้แต่มีสุขภาพดีขึ้น หรือพัฒนายาที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอน โดยเลียนแบบกลไกการทำงานของยีนกลายพันธุ์ตัวนี้"

ข้อมูลใหม่ นอนน้อยเพียงคืนละ 4 ชั่วโมงไม่อ่อนเพลีย หากมียีนกลายพันธุ์


ข้อมูลใหม่ นอนน้อยเพียงคืนละ 4 ชั่วโมงไม่อ่อนเพลีย หากมียีนกลายพันธุ์

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี BBC NEWS


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!


Love Attack  เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน

Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้

Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์