ผลวิจัยเผย หยุดใช้เฟซบุ๊กเสพข่าว 1 สัปดาห์ สุขภาพทางกายและจิตใจดีขึ้น


ผลวิจัยเผย หยุดใช้เฟซบุ๊กเสพข่าว 1 สัปดาห์ สุขภาพทางกายและจิตใจดีขึ้น

ในปัจจุบัน โซเชียลมีเดียต่างแทรกซึมเข้าไปในเกือบทุกอณูของชีวิตคนเรา ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมโยงและติดต่อกับผู้อื่นได้เหนือสถานที่และกาลเวลา การรับรู้ข่าวสารประจำวัน และอื่น ๆ จนอาจจะนึกภาพไม่ออกว่าจะเอาเวลาไปทำอะไร เมื่อต้องหยุดใช้โซเชียลมีเดียต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ อินสตาแกรม เป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันหลายวัน

เมื่อเร็ว ๆ นี้มีกระแสข่าวมากมายที่กระทบต่อภาพลักษณ์ของเฟซบุ๊ก แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดแพลตฟอร์มหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นกรณีเคมบริดจ์ อนาไลติกา หรือ การแอบฟังผู้ใช้งานผ่านเฟสบุ๊กเมสเซนเจอร์ (Facebook messenger) ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าการใช้โซเชียลมีเดียส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากเพียงใด และจากกรณีต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้เกิดข้อเสนอว่าผู้คนควรยุติการใช้เฟซบุ๊กหรือใช้เวลากับเฟซบุ๊กให้น้อยลง

จากการศึกษาผ่านนักศึกษาระดับปริญญาตรีจำนวนกว่า 1,769 คน พบว่า ในกลุ่มนักศึกษาที่ทดลองหยุดใช้เฟซบุ๊กเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์นั้น จะได้รับข่าวสารน้อยลง มีสุขภาพที่ดีขึ้น และมีการประเมินมูลค่าของเฟซบุ๊กสูงขึ้นกว่าร้อยละ 20 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนหน้าที่ยังไม่ได้มีการหยุดใช้เฟซบุ๊ก




บทความทางวิชาการที่ทำการศึกษาข้างต้นมีชื่อว่า The economic effects of Facebook ซึ่งเพิ่งถูกเผยแพร่

ในวารสารเศรษฐศาสตร์เชิงทดลองระหว่างประเทศในในอาทิตย์นี้ ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวมีคณะผู้ศึกษาคือโรแบร์โต โมสเกรา จากมหาวิทยาแห่งอเมริกาของเอกวาดอร์ (Ecuador's Universidad de las Americas) โมฟิโอลูวาซาเดมิ โอดูโนโว เทรนท์ แมกนามารา เสี่ยวเฟ่ย โกว และ เรแกน แพทรี จากมหาวิทยาลัยเทกซัส เอแอนด์เอ็ม โดยเป็นการมุ่งศึกษามูลค่าเชิงเศรษฐกิจของการใช้เฟซบุ๊กสำหรับผู้ใช้งานและผลกระทบเกี่ยวกับการรับรู้ข่าวสาร สุขภาพ และกิจกรรมทั่วไป

การศึกษาจะแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มนักศึกษาที่ต้องหยุดใช้เฟซบุ๊กเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ ส่วนอีกกลุ่มสามารถใช้งานเฟซบุ๊กได้ตามปกติ และหลังจากนั้นคณะวิจัยจะให้นักศึกษาในแต่ละกลุ่มประเมินมูลค่าของเฟซบุ๊กอีกครั้งหลังจากการทดลอง

โดยปกติแล้วผู้กลุ่มตัวอย่างใช้เวลาเล่นเฟซบุ๊กเฉลี่ย 1.9 ชั่วโมงต่อวัน โดยจะใช้เวลาประมาณ 15 - 30 นาทีในการติดตามข่าวสารต่าง ๆ บนเฟซบุ๊ก


ผลวิจัยเผย หยุดใช้เฟซบุ๊กเสพข่าว 1 สัปดาห์ สุขภาพทางกายและจิตใจดีขึ้น


ผลจากการทดลองหยุดใช้เฟซบุ๊ก

จากการศึกษา พบว่ากลุ่มนักศึกษาที่หยุดใช้เฟซบุ๊กเป็นการชั่วคราว มีการรับรู้ข่าวสารที่ลดน้อยลง และ

ไม่ได้ทดแทนการติดตามข่าวสารจากเฟซบุ๊ก ด้วยการติดตามข่าวสารจากช่องทางดั้งเดิม (Traditional Media) เช่น สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ หรือ วิทยุ

"โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมการศึกษาที่อยู่ในกลุ่มหยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวบริโภคข่าวสารได้น้อยลง โดยมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานคือ 0.64 (ค่าความน่าจะเป็น <0.05) และผลการศึกษานี้ครอบคลุมไปถึงข่าวทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น ข่าวกีฬา การเมือง หรือการรายงานสภาพอากาศ"

นอกเหนือจากการได้รับข่าวสารน้อยลงแล้ว นักศึกษาในกลุ่มที่หยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราว ยังพบว่าตนเองมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือมีกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ไปรับประทานอาหารนอกบ้านน้อยลง มีแรงจูงใจในการซื้อสิ่งต่าง ๆ น้อยลง และใช้เวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เป็นต้น อีกทั้งยังพบว่าการหยุดใช้เฟซบุ๊กยังทำให้มีความเครียด หรือ ความกดดันดันลดน้อยลงอีกด้วย

"ผลการศึกษาของเราชี้ว่าการใช้เฟซบุ๊กทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าได้" นอกจากนี้ คณะผู้ศึกษายังกล่าวอีกว่า สาเหตุที่นักศึกษาที่หยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวมีความเครียดลดลงอาจเป็นเพราะพวกเขาได้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ที่ส่งผลดีต่อสุขภาพมากขึ้น และอาจจะเป็นเพราะพวกเขาอ่านข่าวหรือรับรู้ข่าวสารต่าง ๆ น้อยลง

ดังที่กล่าวไปข้างต้นแล้วนั้น ผู้ที่หยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ได้ประเมินคุณค่าของเฟซบุ๊กเพิ่มสูงขึ้นจากช่วงก่อนที่ยังไม่ได้หยุดใช้ถึงร้อยละ 20 ซึ่งคณะผู้ศึกษาได้อธิบายผลการศึกษาดังกล่าวไว้ว่าเป็นเพราะ การใช้เฟซบุ๊กนั้นก่อให้เกิดการเสพติด (addiction) ทำให้เมื่อให้หยุดใช้นานเท่าไหร่ คนที่เข้าร่วมการศึกษาจะยิ่งประเมินมูลค่าของเฟซบุ๊กเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น เพราะมีความอยากกลับไปใช้เพิ่มสูงขึ้น

หรือสาเหตุอื่น ๆ เช่น กลุ่มตัวอย่างต้องการค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้นสำหรับการหยุดใช้เฟซบุ๊กอีกหนึ่งอาทิตย์ หรือ เหตุผลที่ว่าการมีอารมณ์ที่ดีขึ้นหรือการมีสุขภาพที่ดีขึ้นไม่สามารถทดแทนการเข้าถึงข่าวสารที่น้อยลงได้

ผลการศึกษาที่กล่าวมาทั้งหมดนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของ NYU ที่เพิ่งเผยแพร่ไปเมื้อต้นปีนี้ ที่ศึกษาพบว่าผู้ใช้ที่หยุดใช้เฟซบุ๊กมีสุขภาพที่ดีขึ้นและรับรู้ข่าวสารได้น้อยลง

การตระหนักรู้ในข่าวสาร

นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการหยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวและการประเมินมูลค่าของเฟซบุ๊กแล้วนั้น คณะผู้ศึกษายังได้วัดการตระหนักรู้เกี่ยวกับข่าวของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมีวิธีการศึกษาดังต่อไปนี้

ก่อนหน้าที่จะทำการสำรวจหนึ่งสัปดาห์ คณะผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมพาดหัวข่าวของข่าวหน้าหนึ่งของสำนักข่าวที่เป็นที่นิยมมากที่สุดของสหรัฐอเมริกาจำนวน 11 สำนักข่าว เช่น หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ หนังสือพิมพ์เดอะวอร์ชิงตันโพส และหนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ เป็นต้น และรวบรวมพาดหัวข่าวของ เบรตบาร์ตนิวส์ (Breitbart news) สำนักข่าวฝ่ายขวาสุดโต่งของสหรัฐอเมริกา เป็นตัวแทนของสำนักข่าวที่มีการพาดหัวข่าวแบบบิดเบือน โดยในช่วงนั้นที่ทำการรวบรวมนั้นไม่มีข่าวที่เป็นเหตุการณ์ไม่ปกติ อย่าง การกราดยิงครั้งใหญ่ หรือ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ

จากนั้นกลุ่มตัวอย่างจะได้อ่านพาดหัวข่าวของ 6 สำนักข่าวกระแสหลักที่ถูกเลือกมาโดยการสุ่ม และอีกหนึ่งพาดหัวข่าวจากสำนักข่าวที่มักจะบิดเบือนหัวข้อข่าวหรือเนื้อหาของข่าว หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมการศึกษาต้องทำแบบทดสอบโดยจะถูกถามว่าเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นจริง โดยพาดหัวข่าวของสำนักข่าวกระแสหลัก 2 ข่าวจะถูกเปลี่ยนเล็กน้อย แต่พาดหัวข่าวที่เหลือได้ปรากฏอยู่บนหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ต่าง ๆ จริง

ผลการศึกษาจากการแบบทดสอบเกี่ยวกับการตระหนักรู้ของข่าวของนักศึกษาที่หยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวพบว่า "การหยุดใช้เฟซบุ๊กชั่วคราวไม่มีผลกระทบกับการตระหนักรู้ของข่าวที่มาจากสำนักข่าวกระแสหลัก" กล่าวคือ เมื่อถามนักศึกษากลุ่มดังกล่าวว่า พาดหัวข่าวของสำนักข่าวกระแสหลักนั้นเกิดขึ้นจริงหรือไม่ การหยุดใช้เฟซบุ๊ก ไม่ได้ทำให้พวกเขาตอบถูกมากขึ้นหรือน้อยลง

แต่ในกรณีของสำนักข่าวที่มักจะมีพาดหัวข่าวที่บิดเบือน เช่น เบรตบาร์ตนิวส์พบว่า "กลุ่มนักศึกษาที่หยุดใช้เฟซบุ๊กหนึ่งสัปดาห์ร้อยละ 22.1 มีแนวโน้มที่ไม่มั่นใจเกี่ยวกับพาดหัวข่าวของสำนักข่าวเบรตบาร์ต ทั้งข่าวปกติทั่วไป และข่าวการเมือง"

กล่าวในอีกนัยหนึ่ง ผู้ที่หยุดใช้เฟซบุ๊กหนึ่งอาทิตย์มีความสามารถในการแยกแยะข่าวปลอมเท่ากับก่อนหน้าที่ไม่ได้หยุดใช้ แต่กลับมีความมั่นใจน้อยลงเกี่ยวกับพาดหัวข่าวหรือข่าวของสำนักข่าวที่บิดเบือนอยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่จะตอบคำถามว่า "ไม่รู้" (ว่าเกิดขึ้นจริงหรือไม่) มากกว่าให้คำตอบที่แน่ชัด

 

 

 


ผลวิจัยเผย หยุดใช้เฟซบุ๊กเสพข่าว 1 สัปดาห์ สุขภาพทางกายและจิตใจดีขึ้น

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Workpoint


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!


Love Attack  เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน

Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้

Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์