วิจัยพบ แสงสีเหลืองจาก “โหมดกลางคืน” อาจทำให้สมองสับสน จนนอนไม่หลับ
ดร. ทิม บราวน์ (Tim Brown) จาก มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ (University of Manchester) กล่าวว่า คนที่คิดว่าแสงสีน้ำเงินมีผลต่อนาฬิกาชีวิตของเรามากที่สุดนั้นคิดผิด เพราะความจริงแล้ว แสงสีน้ำเงินมีความเชื่อมโยงกับช่วงเวลา น้อยกว่าแสงสีขาวหรือสีเหลือง
ดร. บราวน์ อธิบายต่อว่า เนื่องจากแสงธรรมชาติในช่วงพลบค่ำ (ช่วงเวลาระหว่างพระอาทิตย์ตกและกลางคืน) เป็นสีฟ้า ฉะนั้นแสงสีฟ้าในเวลากลางคืนจึงมีความเป็นธรรมชาติมากกว่าแสงสีเหลืองหรือขาว นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อที่บอกว่า แสงสีฟ้าจะเข้าไปลดระดับของเมลาโทนินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ควบคุมนาฬิกาชีวิตและมีการลดลงตามธรรมชาติในแต่ละวัน จนส่งผลให้ผู้คนยังรู้สึกตื่นตัวแม้จะเป็นเวลานอน
"การค้นพบของเราชี้ว่าการใช้แสงสีเย็น ๆ สลัว ๆ ในเวลาตอนเย็นและสีอุ่น ๆ และสดใส ในตอนกลางวันอาจจะมีประโยชน์มากกว่า" - ดร. บราวน์ กล่าว
*เมลาน็อปซินเป็นโปรตีนที่เมื่อถูกกระตุ้นให้สร้างเป็นเวลานาน ๆ มันจะส่งสัญญาณให้มีการตั้งค่านาฬิกาชีวิตใหม่ ซึ่งจะเข้าไปยับยั้งฮอร์โมนที่ควบคุมการนอนหลับ
Fact - ในขณะอยู่ในอวกาศ บางครั้งนักบินอวกาศจะมองเห็นแสงแฟลชที่เกิดขึ้นแบบสุ่ม ซึ่งเกิดขึ้นจากรังสีคอสมิกชนกับเส้นประสาทตา แต่คนบนโลกไม่สามารถมองเห็นได้เพราะสนามแม่เหล็กปกป้องเราจากรังสีเอาไว้