เลี่ยงได้ดีที่สุด! เตือน 5 โรคฮิต จากการติดมือถือ


เลี่ยงได้ดีที่สุด! เตือน 5 โรคฮิต จากการติดมือถือ

เพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิหมอชาวบ้าน ได้ลงเรื่องราวดีๆ เพื่อเตือนเป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ที่ชื่นชอบ เสพติดการเล่นมือถือ โซเชียลมีเดียต่างๆ เนื่องจากในปัจจุบัน การติดต่อสื่อสารผ่าน เฟซบุ้ก ไลน์ วอทแอพ และวีแชต ฯลฯ ผ่านสมาร์ทโฟน แทปเล็ต และโน้ตบุ้คได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นและคนทำงาน นอกจากความทันสมัย ฉับไว ด้านข้อมูลข่าวสาร ยังมีภัยสำหรับคนคลั่งแชทที่อาจเกิดกับคุณอยู่ตอนนี้ก็ได้ ไปดูว่ามีโรคอะไรกันบ้าง



1) โรคเศร้าจากเฟซบุ๊ก การเล่นเฟซบุ้กมีทั้งด้านบวกและด้านลบ การใช้ เฟซบุ้ก มากเกินไปอาจกลายเป็นการบั่นทอนความสุขและความพึงพอใจในการดำรงชีวิต เช่นโดดเดี่ยว เศร้า และเหงาหงอยมากขึ้น มีทัศนคติต่อตัวเองในแง่ลบ เนื่องจากเห็นการอัพเดตสถานะของเพื่อน ทั้งในด้านการงานและชีวิตส่วนตัว ที่มีแต่ความสำเร็จและความสุข

เลี่ยงได้ดีที่สุด! เตือน 5 โรคฮิต จากการติดมือถือ


2) ละเมอแชท (Sleep - Texting) ถือเป็นโรคใหม่ที่เกิดจากการใช้สมาร์ทโฟนอีกเช่นกัน และโรคนี้ถือว่าไม่ธรรมดา เพราะสามารถตามไปหลอกหลอนหรือป่วน แม้กระทั่งตอนที่คุณเข้านอนแล้ว เราสามารถเรียกโรคนี้ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า อาการติดแชทแม้ขณะนั้นตัวเองกำลังหลับอยู่

เลี่ยงได้ดีที่สุด! เตือน 5 โรคฮิต จากการติดมือถือ


3) โรควุ้นในตาเสื่อม เกิดขึ้นจากการใช้สายตาที่มากจนเกินไป โดยปกติแล้วในสมัยก่อนโรคนี้ส่วนมากจะพบในผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุปัน มีผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มากขึ้น และไม่จำกัดช่วงอายุวัย อาการสำคัญ คือเวลามองจะเห็นภาพเป็นคราบดำๆ คล้ายหยากใย่ ซึ่งการตรวจสอบจะมองเห็นได้ชัดเจนในที่ๆ เป็นพื้นที่สีสว่างๆ เช่น ท้องฟ้าขาวๆ ผนังห้องขาวๆ ซึ่งหากมีอาการเหล่านี้ จะทำให้เกิดอาการปวดตา และมีปัญหาด้านสายตาในที่สุด

เลี่ยงได้ดีที่สุด! เตือน 5 โรคฮิต จากการติดมือถือ

 

 

4) โนโมโฟเบีย (Nomophobia) เป็นโรคหวาดกลัวการไม่มีมือถือใช้ติดต่อสื่อสาร รวมถึงความเครียดเมื่อมือถืออยู่ในจุดอับสัญญาณจนติดต่อใครไม่ได้ Nomophobia มาจากคำว่า "no-mobile-phone phobia" ซึ่งจัดเป็นโรคกลัวทางจิตเวช เพราะมีอาการวิตกกังวลหรือกลัวเกินกว่าปกติ


เลี่ยงได้ดีที่สุด! เตือน 5 โรคฮิต จากการติดมือถือ


5) สมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) โรคใบหน้าสมาร์ทโฟน เป็นโรคที่เกิดจากการก้มลงมองและจ้องไปที่สมาร์ทโฟน หรือแทปเลตมากจนเกินไป เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการยืดของเส้นใยอิลาสติกบนใบหน้าทำให้แก้มบริเวณกรามเกิดการย้อยลงมา ส่วนกล้ามเนื้อบริเวณมุมปากจะตกไปทางคาง โรคนี้มีวิธีแก้ไขแต่ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีรายงานว่าสามารถแก้ไขได้ด้วยการศัลยกรรมยกกระชับใบหน้า โบท็อกซ์ กระชับด้วยคลื่นความถี่สูง รวมทั้งร้อยไหม แต่คงไม่ไหวใช่ไหมล่ะ ทางที่ดีเลี่ยงกันดีกว่า

เลี่ยงได้ดีที่สุด! เตือน 5 โรคฮิต จากการติดมือถือ

เครดิตแหล่งข้อมูล : FB มูลนิธิหมอชาวบ้าน


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์