หมอเจษฎา เผย 10 ประเด็นที่น่ากลัว-น่าสนใจ กรณีสื่อนำเสนอข่าว เหตุการณ์กราดยิงโคราช
1. ผลการศึกษาสำคัญ(ที่น่าตกใจ) พบว่า **ยิ่งสื่อนำเสนอรายละเอียดของเหตุการณ์,ภาพใบหน้า+ชื่อของฆาตกร รวมทั้งวิธีที่ฆาตกรใช้ ยิ่งละเอียดมากเพียงใด ก็ยิ่งทำให้เกิดเหตุการณ์กราดยิงตามมาได้มากขึ้นเท่านั้น** ผ่านกลไกของพฤติกรรมการเลียนแบบ ("copycat" หรือ "contagion effect")
4. งานวิจัยพบว่า ลักษณะการลงข่าวที่สุ่มเสี่ยงต่อการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ ได้แก่...
* การลงรายละเอียดเหตุการณ์หรือพฤติการของความรุนแรงอย่างละเอียด
* การลงรูปใบหน้า (+/-ชื่อ) ของฆาตกร
* การเจาะลึกประวัติชีวิตฆาตกร
7. เมื่อสื่อนำเสนอเรื่องราวของฆาตกร ทั้งชื่อ ใบหน้า ปมปัญหา รายละเอียดการฆ่า ฯลฯ กระบวนการนี้จะทำให้คนร้ายรายนั้นเริ่มเป็นที่รู้จัก อิทธิพลของการนำเสนอนี้สามารถส่งผลให้คนอีกหลายคนที่มีต้นทุนของจิตใจที่แปรปรวน อำมหิต หรือมีจิตใจที่โหดร้ายอยู่เป็นทุนเดิมรู้สึกถึงความเชื่อมโยงกับตน ทำให้รู้สึกได้ถึงสิ่งที่เหมือนตนเอง
8. ยิ่งฆาตกรได้พื้นที่สื่อ ได้ออกข่าวดัง ได้ออกแถลงข่าว ได้มีภาพการทำแผน ฯลฯ ยิ่งมากเท่าไหร่ ในทางจิตวิทยาแล้วคนร้ายเหล่านี้ก็จะยิ่งรู้สึกว่า "ฉันได้รางวัล" จากความรุนแรงที่ได้ลงแรงทำไป
9. แล้วสื่อควรจะนำเสนอข่าวอย่างไร เพื่อจะลดโอกาสในการเกิดเหตุกราดยิงในอนาคต?
งานวิจัยหลายฉบับได้สรุปถึงแนวทางที่สื่อจะสามารถช่วยลดพฤติกรรมการเลียนแบบของคนร้ายกราดยิงได้ โดยการปฏิบัติตามแนวทางการนำเสนอข่าวขององค์การอนามัยโลก ดังนี้...
3) ไม่ลงรูปถ่าย ภาพประกอบ หรือคลิปมากเกินควร **ในอเมริกา กำลังมีไอเดียมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงการไม่ลงชื่อของคนร้ายในสื่อ หรือถ้าจำเป็นก็ควรลงให้น้อยที่สุด
5) ไม่ขุดคุ้ยหรือพรรณนาแรงจูงใจ ต้นสายปลายเหตุ หรือที่มาของการฆ่าแบบละเอียดจนเกินไป เพราะในทางจิตวิทยาแล้ว มนุษย์ทุกคนจะมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบคนที่เรารุ้สึกว่าเขามี"อะไร"ที่คล้ายกันกับเราเสมอ เมื่อนำเสนอถี่เข้าถี่เข้า จากที่ไม่ทันสังเกตเห็นก็กลับเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอซ้ำๆว่าฆาตกรทำลงไปเพื่อแก้แค้น จากการที่เขาเคยถูกรังแกมาหลายปี ข้อมูลเช่นนี้เมื่อนำเสนอซ้ำๆ จะส่งผลให้เกิดการเชื่อมโยงได้ว่า "การกราดยิงก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่ฉันทำได้ เมื่อไหร่ที่ใครสักคนเจอกับปัญหาในชีวิต"
6) ควรลดการLiveสดหลังเกิดเหตุการณ์ลง จริงอยู่ที่มีคนมากมายที่ต้องการจะเสพหรือติดตามข่าวนี้ เพราะเป็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่มีผู้สูญเสียเป็นจำนวนมาก (และแน่นอนว่ามันขายได้) แต่อย่าลืมว่า การLiveสดสามารถเพิ่มระดับโดยรวมของ "ความตื่นเต้น" ต่อเหตุการณ์ ที่จะทำให้ความสนใจโดยรวมของสังคมเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ฆาตกรและคนที่จะเป็นฆาตกรคนต่อไปรับรู้ได้ถึง "ความหอมหวาน" และ "รางวัล" ที่พวกเขาจะได้รับเมื่อลงมือฆ่า **คำแนะนำคือ ควรเลี่ยงไปใช้การนำเสนอในรูปแบบการอัพเดตที่เป็นลายลักษณ์อักษรแทน สิ่งนี้ไม่เพียงแต่จะลดความหมอหวานของของรางวัลเท่านั้น แต่มันอาจช่วยลดความสนใจโดยรวมของสังคมในเหตุการณ์ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเลียนแบบของฆาตกรคนต่อไปได้
10. มีประโยคหนึ่งของจาซินดา อาร์เดิร์น (Jacinda Ardern) นายกรัฐมนตรีหญิงวัย 38ปีของนิวซีแลนด์ ที่ออกมาพูดถึงเหตุกราดยิงเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ในเมืองไครสต์เชิร์ช ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึง 50 ราย นับเป็นเหตุกราดยิงครั้งที่เลวร้ายที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสร์ของนิวซีแลนด์ คำแถลงของเธอนั้นทำให้หมอรู้สึกประทับใจและรู้สึกชื่นชมในวิสัยทัศน์ของผู้นำคนนี้อย่างมาก เธอได้ประกาศในสภาว่า "เธอจะไม่มีวันเอ่ยถึงชื่อของฆาตกรเด็ดขาด และประชาชนจะไม่ได้ยินชื่อของฆาตกรจากปากของเธออย่างแน่นอน เขาจะต้องได้รับโทษสูงสุดตามกฎหมายนิวซีแลนด์ และจะไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ นั่นคือการโด่งดังเป็นที่รู้จัก" นอกจากนี้ เธอยังบอกด้วยว่า "บุคคลที่สมควรได้รับการพูดถึง และควรให้เกียรติจริงๆ คือเหล่าคนที่สูญเสียจากเหตุการณ์อันน่าสะเทือนใจครั้งนี้มากกว่า"
สุดท้าย หมอขอแสดงความเสียใจอย่างมากต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ขอประนามพฤติกรรมอันขี้ขลาด โสมม และอ่อนแอของคนร้ายทุกคนไม่ว่าครั้งใด และขอให้สื่อไทยจงเติบโต ปรับปรุง และเรียนรู้จากความผิดพลาด **อย่าให้ความชั่วร้ายนี้ได้มีพื้นที่ในสื่อ พึงระลึกไว้เสมอว่า รายละเอียดของฆาตกรที่ยิ่งลึก ตื่นเต้น และชัดเจนเพียงใด ก็ยิ่งเป็นเหมือนเชื้อร้ายที่สามารถติดต่อไปยังฆาตกรคนถัดไปที่กำลังเสพมันอยู่ทางหน้าจอได้มากเท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ คือ ไม่ต้องให้ราคากับเรื่องราวชีวิตของฆาตกร แต่ให้โฟกัสไปที่เรื่องราวของผู้เสียสละ การทำงานที่เหน็ดเหนื่อยและความกล้าหาญของผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงวิธีที่จะป้องกันเหตุการณ์ในลักษณะนี้ในอนาคต จะเป็นแนวทางที่เหมาะสมอย่างยิ่ง