4 ทริค รับมือ COVID-19 มฤตยูสายพันธุ์ใหม่ ให้อยู่หมัด
"ไวรัสโคโรน่า 2019" (COVID-19) นับว่าเป็นมฤตยูร้ายสายพันธุ์ใหม่ ที่ก่อให้เกิดอาการป่วยระบบทางเดินหายใจ โดยผู้ป่วยจะมีอาการปอดอักเสบรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้ ซ้ำร้ายเชื้อไวรัสนี้สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ ซึ่งถูกพบครั้งแรกในเมืองอู่ฮั่นของประเทศจีน เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2562 และล่าสุด จากการรายงานผลของ www.worldometers.info ในวันที่ 5 มีนาคม 2563 พบว่า มีประชากรทั่วโลกชีวิต 3,310 ราย และมีผู้ติดเชื้อ 96,261 ราย ซึ่งนับเป็นมหันตภัยครั้งใหญ่ที่คนทั่วโลกต้องเผชิญกับมฤตยูสายพันธ์ใหม่ในครั้งนี้
การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สร้างความตื่นตระหนกให้กับคนทั่วโลกรวมทั้งคนไทย ทาง SCI-TU หรือ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) สถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงวงการวิทยาศาสตร์ บ่มเพาะบัณฑิตเป็นมากกว่านักวิทยาศาสตร์ จึงได้นำเสนอ "4 ทริค รับมือ COVID-19 มฤตยูสายพันธุ์ใหม่ ! ให้อยู่หมัด" ที่ทุกคนต้องรู้และควรไม่พลาด สำหรับวิธีการดูแลและการป้องกันตนเองจาก COVID-19 ด้วยเทคนิคที่ถูกต้องตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และยังเป็นผลดีต่อสุขภาพและความปลอดภัย มีรายละเอียดดังนี้
สำหรับ "หน้ากากผ้าป้องกันไวรัส ด้วยผ้านิตเจอร์ซี่" เป็นการออกแบบพิเศษ ให้สามารถสอดหน้ากากอนามัยหรือแผ่นกรอง PM 2.5 เพื่อช่วยกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กได้
อย่างไรก็ตาม หน้ากากผ้าดังกล่าว เหมาะสำหรับการใช้ทดแทนหน้ากากอนามัยในช่วงที่ขาดแคลนเท่านั้น และ สำหรับผู้ที่มีอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ควรใช้หน้ากากอนามัยเพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันการแพร่เชื้อ หรือลดโอกาสการติดเชื้อและช่วยป้องกันการเผลอนำมือสัมผัสบริเวณผิวหน้า
• วิธีซักหน้ากากผ้า จากการใช้หน้ากากผ้าของประชาชน เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัส COVID-19 ได้แพร่หลายมากขึ้น ดังนั้น การทำความสะอาดที่ถูกวิธีเพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ตามความต้องการ จึงมีส่วนสำคัญอย่างยิ่ง เพียงซักทำความสะอาดหน้ากากผ้าทุกวันหลังการใช้งาน ใน 3 ขั้นตอน ดังนี้ (1) ใส่หน้ากากผ้า ต้มในน้ำผสมน้ำยาล้างจาน 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 2 ลิตร (2) ต้มจนเดือดนาน 10 นาทีเท่านั้น เนื่องจากความร้อนจะมีผลให้คุณสมบัติของเส้นใยเกิดความเสียหาย และ (3) ล้างน้ำซ้ำ 2 ครั้งจนหมดฟอง พร้อมนำมาผึ่งให้แห้ง
อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ในประเทศไทยยังสามารถควบคุมได้ แต่ทางคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ประกาศให้เป็นโรคติดต่ออันตราย เมื่อ 5 มีนาคม 2563 โดยสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสของไทยยังอยู่ในเฟส 2 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข รายงานว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมรวม 47 ราย และมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 3,895 ราย ทาง SCI-TU มีมาตรการในการเฝ้าระวัง และรักษาความสะอาดภายในคณะอย่างต่อเนื่อง เช่น ลิฟต์โดยสาร และบันได นอกจากนี้ ยังได้นำร่องผลิตเจลล้างมือ สำหรับบุคลากรภายในคณะ พร้อมติดตั้งบริเวณจุดต่าง ๆ โดยรอบ ทั้งนี้ เพื่อให้คณาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย สามารถใช้ชีวิตประจำวันภายในคณะได้อย่างปลอดภัยและมั่นใจ .
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น