องค์การอนามัยโลก สั่งศึกษาข้อดีของการใส่หน้ากากอนามัย
คนทั่วไปควรใส่หน้ากากอนามัยกันหรือไม่ นี่คือคำถามที่ทีมที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกยังประเมินกันอยู่ หลังงานวิจัยชิ้นหนึ่งในหรัฐฯ ชี้ว่า การไอและการจามสามารถแพร่ละอองไปได้ไกลถึง 6-8 เมตร
ทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ แนะนำว่าให้ทิ้งระยะห่างกับคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร โดยคำแนะนำนี้อิงจากหลักฐานว่าไวรัสสามารถแพร่ระบาดผ่านละอองเสมหะ เข้าใจกันว่าละอองของเหลวเหล่านี้จะระเหยหายไป หรือตกลงที่พื้นใกล้ ๆ คนไอหรือจามนักวิจัย
ศ.เดวิด เฮย์แมนน์ หัวหน้าทีมที่ปรึกษานี้ บอกกับบีบีซีว่า งานวิจัยชิ้นใหม่อาจทำให้องค์การอนามัยโลกเปลี่ยนความคิดเรื่องการใส่หน้ากากอนามัยใหม่
คำแนะนำตอนนี้
องค์การอนามัยโลกแนะนำให้อยู่ห่างจากคนไอหรือจาม 1 เมตร เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงติดเชื้อ และคนที่ป่วยและมีอาการควรใส่หน้ากากอนามัย
ทั้งสหราชอาณาจักรและสหรัฐฯ แนะนำว่าให้ทิ้งระยะห่างกับคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร โดยคำแนะนำนี้อิงจากหลักฐานว่าไวรัสสามารถแพร่ระบาดผ่านละอองเสมหะ เข้าใจกันว่าละอองของเหลวเหล่านี้จะระเหยหายไป หรือตกลงที่พื้นใกล้ ๆ คนไอหรือจามนักวิจัย
ที่สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซตส์ สหรัฐฯ (เอ็มไอที) ใช้กล้องความเร็วสูงและอุปกรณ์ตรวจจับอื่น ๆ เพื่อหาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างเวลาคนเราจามหรือไอ
ด้วยเหตุนี้ เธอจึงคิดว่าการใส่หน้ากากอนามัยช่วยลดความเสี่ยงได้สำหรับการอยู่ในห้องที่ไม่มีระบบการหมุนเวียนอากาศที่ดี
แม้ว่าหน้ากากบาง ๆ บางประเภทไม่สามารถสกัดละอองของเหลวไม่ให้เข้าสู่ร่างกายเราได้ แต่มันก็สามารถเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของกลุ่มแก๊สนั้นให้ไปข้าง ๆ ได้ แทนที่จะมาตรง ๆ ได้
ศ.เฮย์แมนน์ บอกว่าจะมีการประเมินผลการวิจัยของ MIT และจากที่อื่น ๆ
หากมีหลักฐานรองรับ การใส่หน้ากากอนามัยก็อาจจะมีประสิทธิภาพเท่าหรือมากกว่าการเว้นระยะห่างทางสังคม
นอกจากนี้ ศ.เฮย์แมนน์ เตือนว่า การใส่หน้ากากต้องใส่ให้ถูกวิธี ครอบถึงจมูก และหากหน้ากากชื้น ละอองของเหลวก็จะผ่านเข้าไปได้ และตอนถอดก็ต้องระมัดระมังไม่ให้มือไปโดนเชื้อเข้า
และที่สำคัญคือ จะต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาด้วย ไม่ใช่ถอดตอนกินข้าวหรือสูบบุหรี่
ในอีกไม่กี่วัน ทีมที่ปรึกษา ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กลุ่มที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และเทคนิคเพื่อรับมือภัยระบาด (Strategic and Technical Advisory Group for Infectious Hazards) จะประชุมกันเรื่องนี้
พวกเขาพบว่า เมื่ออยู่ในห้องทดลอง การไอสามารถพาละอองของเหลวเดินทางไปได้ถึง 6 เมตร ส่วนการจามพาละอองของเหลวไปได้ถึง 8 เมตร
ผลการทดลองนี้ทำให้ศาสตราจารย์ ลิเดีย โบรีบา จาก MIT กังวลว่าระยะห่างที่แนะนำกันอยู่ตอนนี้ที่ 1-2 เมตร อาจจะไม่พอ เธอบอกว่า เวลาคนเราหายใจออก ไอ หรือจาม จะมีกลุ่มแก๊สที่ห่อหุ้มละอองของเหลวไว้ และพามันเดินทางไปได้ทั่วห้องด้วยเหตุนี้ เธอจึงคิดว่าการใส่หน้ากากอนามัยช่วยลดความเสี่ยงได้สำหรับการอยู่ในห้องที่ไม่มีระบบการหมุนเวียนอากาศที่ดี
แม้ว่าหน้ากากบาง ๆ บางประเภทไม่สามารถสกัดละอองของเหลวไม่ให้เข้าสู่ร่างกายเราได้ แต่มันก็สามารถเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของกลุ่มแก๊สนั้นให้ไปข้าง ๆ ได้ แทนที่จะมาตรง ๆ ได้
ศ.เฮย์แมนน์ บอกว่าจะมีการประเมินผลการวิจัยของ MIT และจากที่อื่น ๆ
หากมีหลักฐานรองรับ การใส่หน้ากากอนามัยก็อาจจะมีประสิทธิภาพเท่าหรือมากกว่าการเว้นระยะห่างทางสังคม
นอกจากนี้ ศ.เฮย์แมนน์ เตือนว่า การใส่หน้ากากต้องใส่ให้ถูกวิธี ครอบถึงจมูก และหากหน้ากากชื้น ละอองของเหลวก็จะผ่านเข้าไปได้ และตอนถอดก็ต้องระมัดระมังไม่ให้มือไปโดนเชื้อเข้า
และที่สำคัญคือ จะต้องใส่หน้ากากตลอดเวลาด้วย ไม่ใช่ถอดตอนกินข้าวหรือสูบบุหรี่
ในอีกไม่กี่วัน ทีมที่ปรึกษา ซึ่งมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กลุ่มที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์และเทคนิคเพื่อรับมือภัยระบาด (Strategic and Technical Advisory Group for Infectious Hazards) จะประชุมกันเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี สำนักสาธารณสุขอังกฤษบอกว่ามีหลักฐานน้อยมากกว่าการใส่หน้ากากอนามัยจะได้ผลดีนอกเสียจากอยู่ในสถานพยาบาล พวกเขาบอกว่า การใส่หน้ากากให้ได้ประโยชน์จริง ๆ ต้องใส่อย่างถูกวิธี เปลี่ยนชิ้นใหม่บ่อยครั้ง นำไปทิ้งอย่างถูกวิธี และทำร่วมกับข้อปฏิบัติเพื่อสุขอนามัยอย่างอื่น นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า คนมักจะไม่ปฏิบัติตามข้อแนะนำที่ถูกต้องเหล่านี้เวลาใส่หน้ากากต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ
การใช้หน้ากากอนามัยเป็นที่นิยมในหลายประเทศในเอเชียมานานแล้ว
การใช้หน้ากากอนามัยเป็นที่นิยมในไทยและอีกหลายประเทศในเอเชีย ส่วนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) กำลังประเมินเรื่องนี้อยู่
ที่ออสเตรีย ตอนนี้ตำรวจใส่หน้ากากอนามัยแล้ว และคนที่ต้องพูดคุยกับตำรวจต้องใส่ด้วย และก็มีการบังคับให้คนไปซูเปอร์มาร์เก็ตใช้ด้วย
ภาพคนใส่หน้ากากอนามัยที่ไม่ค่อยเห็นกันบ่อยในยุโรปกำลังเปลี่ยนไป และคำแนะนำใหม่ขององค์การอนามัยโลกจะยิ่งเปลี่ยนความคิดของคนในประเทศต่าง ๆ
การใช้หน้ากากอนามัยเป็นที่นิยมในหลายประเทศในเอเชียมานานแล้ว
การใช้หน้ากากอนามัยเป็นที่นิยมในไทยและอีกหลายประเทศในเอเชีย ส่วนศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) กำลังประเมินเรื่องนี้อยู่
ที่ออสเตรีย ตอนนี้ตำรวจใส่หน้ากากอนามัยแล้ว และคนที่ต้องพูดคุยกับตำรวจต้องใส่ด้วย และก็มีการบังคับให้คนไปซูเปอร์มาร์เก็ตใช้ด้วย
ภาพคนใส่หน้ากากอนามัยที่ไม่ค่อยเห็นกันบ่อยในยุโรปกำลังเปลี่ยนไป และคำแนะนำใหม่ขององค์การอนามัยโลกจะยิ่งเปลี่ยนความคิดของคนในประเทศต่าง ๆ
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น