เกษตรกร ต้องรู้! อธิบายแอพ Farmbook อย่างละเอียด ไม่ตกหล่นมาตรการเยียวยาจากรัฐ


เกษตรกร ต้องรู้! อธิบายแอพ Farmbook อย่างละเอียด ไม่ตกหล่นมาตรการเยียวยาจากรัฐ

ในวันที่ทุกอย่างต้องดำเนินไปด้วยเทคโนโลยีแบบ (แทบ) ไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะในช่วงที่โคโรน่าไวรัส หรือโรคโควิด-19 แพร่ระบาดเป็นวงกว้าง ไม่เพียงแต่พนักงานออฟฟิศที่ต้องปรับการทำงานเป็นที่บ้าน หรือ Work From Home เท่านั้น หน่วยงานราชการก็ต้องปฏิบัติตามระยะห่างสังคม Social Distancing ด้วยเช่นกัน ทำให้การให้บริการประชาชนจึงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้ เท่ากับว่าเวลานี้ทุกคนต้องเร่งปรับตัวให้ทันท่วงที

เช่นเดียวกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ที่ต้องพลิกวิธีการทำงานใหม่ ในส่วนของการบริการเกษตรกรนั้น หนึ่งในมาตรการที่ออกมา คือ สนับสนุนให้เกษตรกรปรับปรุงทะเบียนเกษตรผ่าน Farmbook

ซึ่งหลายคนอาจจะงงว่า Farmbook คืออะไร?


ก่อนอื่นต้องบอกเลยว่านี่ไม่ใช่มาตรการใหม่ หรือเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้น เพราะ "Farmbook" คือ สมุดทะเบียนเกษตรกรนั่นเอง เพียงแต่มาในรูปของแอพพลิเคชั่น ซึ่งใครที่เป็นเกษตรกรต้องเข้าไปดาวน์โหลดไว้ในโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟน ซึ่งขณะนี้รองรับทำระบบโทรศัพท์มือถือแอนดรอยด์ และ iOS ที่สำคัญคือฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

จากเดิมเป็นสมุดทะเบียนเกษตรกร เล่มสีเขียว ที่เกษตรกรคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ที่จะบอกข้อมูลรหัสทะเบียนเกษตรกร วันที่ขึ้นทะเบียน ชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน เลขบัตรประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด รหัสประจำบ้าน ที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน และรูปภาพเกษตรกร รวมถึงการถือครองที่ดินที่ไหน มีเอกสารสิทธิ์หรือไม่ เนื้อที่เท่าไร และการถือครอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเข้าไปอยู่ใน "แอพพลิเคชั่น Farmbook" นั่นเอง

เกษตรกร ต้องรู้! อธิบายแอพ Farmbook อย่างละเอียด ไม่ตกหล่นมาตรการเยียวยาจากรัฐ

โดยกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้ทำขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงข้อมูลการเกษตรของตัวเอง ได้ด้วยตัวเองผ่านโทรศัพท์มือถือ รวมถึงสามารถตรวจสอบข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรของตนเองว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ และสามารถตรวจสอบการเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือของรัฐได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยที่ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปที่สำนักงานเกษตรตำบล อำเภอ หรือจังหวัดที่ตัวเองทำการเกษตรอยู่

เมื่อดาวน์โหลดแล้วจะต้องใส่รหัสทะเบียนเกษตรกร หรือหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ลงทะเบียนเกษตรกรไว้ รวมถึงรหัสผ่าน ภายในก็จะปรากฏข้อมูลขึ้นมา หากต้องการแก้ไขปรับปรุงข้อมูลก็สามารถทำได้

เกษตรกร ต้องรู้! อธิบายแอพ Farmbook อย่างละเอียด ไม่ตกหล่นมาตรการเยียวยาจากรัฐ

ทั้งนี้หากเกษตรกรท่านใดที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน และต้องการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร สามารถใช้งานแอพพลิเคชัน Farmbook ผ่านโทรศัพท์แบบสมาร์ทโฟน เพื่อแจ้งข้อมูล 4 ประเภท คือ

1.การแจ้งปรับปรุงข้อมูลกิจกรรมการเพาะปลูก เฉพาะแปลงเดิมที่ได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ในปีการผลิตที่ผ่านมา คือ ข้อมูลเอกสารสิทธิ์ เช่น เนื้อที่ ที่ตั้ง พิกัด กิจกรรมการเกษตร ประกอบด้วย ชนิด พันธุ์พืช วันที่ปลูก วันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เนื้อที่ปลูก ปีเพาะปลูก และประเภทการทำการเกษตรกรรมยั่งยืน

2.การติดตามผลการแจ้งปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร แสดงรายละเอียดแปลงที่มีการแจ้งปลูก เพื่อติดตามสถานะการแจ้งปลูก ทั้งนี้ แปลงที่แจ้งปลูกผ่านแอพพลิเคชัน สามารถลบ แก้ไข กรณีแจ้งปลูกผิด แต่สถานะการแจ้งปลูกต้องยังไม่จัดชุด ส่วนแปลงที่แจ้งปลูกผ่านเจ้าหน้าที่ต้องแจ้งลบ แก้ไขที่สำนักงานเกษตรอำเภอเท่านั้น

3.การติดตามผลการเข้าร่วมโครงการภาครัฐด้านการเกษตร โดยแสดงรายการโครงการที่เข้าร่วมและผลการโอนเงินตามเงื่อนไขโครงการ

4.การคาดการณ์ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยแสดงรายละเอียด ช่วงวันที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คาดการณ์ผลผลิต คาดการณ์กำไร และราคาขาย

เกษตรกร ต้องรู้! อธิบายแอพ Farmbook อย่างละเอียด ไม่ตกหล่นมาตรการเยียวยาจากรัฐ

นอกจากนี้ยังมีเรื่องน่ารู้ คือ หากมาดูหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ต้องมี 3 ข้อ ดังนี้

-ครัวเรือนเกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียน จะต้องเป็นผู้ประกอบการเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลัก หรืออาชีพรองก็ได้

-ครัวเรือนเกษตรกร 1 ครัวเรือน จะมีตัวแทนมาขอขึ้นทะเบียนได้เพียง 1 คนเท่านั้น

-เกษตรกรผู้ขอขึ้นทะเบียนต้องบรรลุนิติภาวะ และมีสัญชาติไทย กรณีที่เป็นนิติบุคคลจะต้องมีการมอบหมายผู้แทนมาขึ้นทะเบียน

แล้วใครบ้างคือ "เกษตรกร" ?
เรื่องนี้กรมส่งเสริการเกษตรมีคำตอบ โดยนิยามคำว่า "เกษตรกร" ไว้ว่า เป็นบุคคลที่ประกอบการเกษตร หรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการเกษตร และได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับหน่วยงานที่ขึ้นทะเบียนตามระเบียบฯ ขณะที่คำว่า "ครัวเรือน" หมายถึงบุคคลเดียว หรือหลายคนที่อาศัยอยู่ในบ้านหรือสถานที่อยู่เดียวกัน และจัดหาหรือใช้สิ่งอุปโภคบริโภคอันจำเป็นแก่การครองชีพร่วมกัน

ทั้งนี้ที่ผ่านมา "ฐานทะเบียนเกษตรกร" ของกรมส่งเสริมการเกษตร ถูกนำไปใช้เพื่อให้ความช่วยเหลือตามมาตรการภาครัฐต่างๆ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2556 ซึ่งกำหนดให้ 1 ทะเบียนบ้าน เท่ากับ 1 ครัวเรือน

ดังนั้นคำว่า "ครัวเรือนเกษตร" หมายถึง บุคคลในครัวเรือนคนใดคนหนึ่ง หรือหลายคนที่ประกอบการเกษตร โดยการประกอบการเกษตรนั้น หมายความว่า การปลูกพืช การเลี้ยงปศุสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การทำนาเหลือสมุทร การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจ และเกษตรอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริโภคหรือจำหน่ายหรือใช้งานในฟาร์ม อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ ดังนี้

1.ทำนา หรือทำไร่ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันบนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป

2.การปลูกผัก หรือการปลูกไม้ดอกไม้ประดับ หรือการเพาะเห็ด หรือการปลูกพืชอาหารสัตว์ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 งานขึ้นไป

3.การปลูกไม้ผลยืนต้น หรือการปลูกสวนป่า หรือปลูกป่าเศรษฐกิจแบบสวนเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ และมีจำนวนต้นตั้งแต่ 15 ต้นขึ้นไป

4.การปลูกไม้ผล หรือไม้ยืนต้นแบบสวนผสม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ และมีมีจำนวนต้นตั้งแต่ 15 ต้นขึ้นไป

5.การเลี้ยงโคนมตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป

6.การเลี้ยงโคหรือกระบือ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป

7.การเลี้ยงสุกร แพะ หรือแกะ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน ตั้งแต่ 5 ตัวขึ้นไป

8.การเลี้ยงสัตว์ปีก ตั้งแต่ 50 ตัวขึ้นไป

9.การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

10.การทำนาเกลือสมุทรา บนเนื้อที่ตั้งแต่ 1 ไร่ขึ้นไป

11.การปลูกหม่อน การเลี้ยงไหม อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกัน

12.การเพาะเลี้ยงแมลงเศรษฐกิจและเกษตรอื่นๆ ซึ่งหมายถึง การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ชันโรง ครั่ง จิ้งหรีด ด้วงสาคู ไส้เดือนดิน ชีวภัณฑ์ และอื่นๆ ที่มีลักษณะเดียวกัน

13.ประกอบการเกษตร อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน นอกเหนือจากหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามข้อ 1-12 และมีรายได้ตั้งแต่ 8,000 บาทต่อปีขึ้นไป

ทั้งนี้ยังมีการกำหนดอัตราแปลงไม้ผลไม้ยืนต้นต่อเนื้อที่ปลูกด้วยว่าแต่ละชนิดจะมีผลผลิตจำนวนเท่าใดต่อหนึ่งไร่ ดังตารางด้านล่างต่อไปนี้

เกษตรกร ต้องรู้! อธิบายแอพ Farmbook อย่างละเอียด ไม่ตกหล่นมาตรการเยียวยาจากรัฐ

อย่างไรก็ตามการที่ให้เกษตรกรได้ขึ้นทะเบียนทางแอพพลิเคชั่น ถือเป็นการปรับปรุงการทำงานที่อำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร โดยที่เกษตรกรไม่ต้องเดินทางไปสำนักงานเกษตรในพื้นที่ โดยไม่ต้องเปลืองค่าเดินทาง แต่ทั้งนี้เกษตรกรจะต้องปรับตัวตามให้ทันด้วยเช่นกัน ซึ่งกรมจะมีการช่วยเหลืออย่างไรบ้างในกลุ่มที่เข้าไม่ถึงบางส่วน

ที่มา : farmer

เกษตรกร ต้องรู้! อธิบายแอพ Farmbook อย่างละเอียด ไม่ตกหล่นมาตรการเยียวยาจากรัฐ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์