ค่าไฟแพงแล้ว อย่าโดนหลอกซ้ำ Power Factor Saver กล่องประหยัดไฟ

กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันวุ่น ในโซเชียลมีเดีย ขณะนี้ หลังจากการไฟฟ้านครหลวงส่งใบแจ้งหนี้ค่าไฟถึงประชาชนผู้ใช้ไฟเดือนมีนาคม ปรากฏว่ายอดใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก บางบ้านค่าไฟฟ้าในช่วงที่ผ่านมาเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมหลายเท่าตัว ยกตัวอย่างเช่นผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ที่โพสต์ภาพบิลค่าไฟเปรียบเทียบระหว่างเดือน มี.ค. กับ เดือน เม.ย. ซึ่งภายในเดือนที่ผ่านมาค่าไฟเธออยู่ที่ 1,562 บาท แต่มาเดือนนี้ค่าไฟพุ่งไปถึง 5,211 บาท!!!

    และท่ามกลางความเดือดร้อนของประชาชน ก็มีมิจฉาชีพผู้ไม่หวังดี ได้โพสต์ขาย อุปกรณ์ไฟฟ้า ที่เรียกว่า กล่องประหยัดไฟฟ้า อ้างว่าหากติดตั้งเจ้าสิ่งนี้ไว้ จะสามารถประหยัดไฟลงได้หลายเท่าตัว และปรากฏว่ามีผู้หลงเชื่อและสั่งซื้อไปจำนวนไม่น้อยตอกย้ำความเดือดร้อนมากขึ้นไปอีก ซึ่งความจริงแล้ว ไอ้เจ้า กล่องประหยัดไฟฟ้า ตัวนี้นั้น ทางการไฟฟ้าฯ ได้เคยออกมาเตือนและชี้แจงไปแล้วว่าไม่สามารถช่วยให้ประชาชนประหยัดไฟฟ้าลงได้ตามคำอวดอ้างแต่อย่างใด

ค่าไฟแพงแล้ว อย่าโดนหลอกซ้ำ Power Factor Saver กล่องประหยัดไฟ

   ข้อเท็จจริงก็คือ อุปกรณ์กล่องประหยัดไฟฟ้า ดังกล่าว โดยทั่วไปจะมีตัวคาปาซิเตอร์(Capacitor) หรือตัวเก็บประจุไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ทำหน้าที่ปรับปรุงคุณภาพไฟฟ้า ซึ่งหากมีการออกแบบที่เหมาะสม จะสามารถช่วยในการปรับปรุงคุณภาพทางไฟฟ้าให้ดีขึ้น หลักการนี้ สามารถประยุกต์ใช้ได้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าบางชนิดเท่านั้น เช่น มอเตอร์ไฟฟ้าอุตสาหกรรม

 อย่างไรก็ตาม กล่องประหยัดไฟฟ้า ไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ไฟฟ้าตามบ้านแต่อย่างใด ทั้งในด้านของการประหยัดพลังงานและการลดค่าไฟฟ้า เนื่องจากไม่ช่วยให้การใช้พลังงานลดลง และการคิดค่าไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟภ. สำหรับครัวเรือนไม่เกี่ยวข้องกับคุณภาพทางไฟฟ้า

รวมทั้งสถาบันมาตรฐานการค้า (Trading Standards Institute - TSI) รายงานในปี 2011 ว่า ได้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ดังกล่าวและพบว่า อุปกรณ์นี้มีคุณสมบัติไม่ตรงตามมาตรฐานความปลอดภัยไฟฟ้า เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตและเพลิงไหม้ได้ รวมทั้งไม่สามารถช่วยประหยัดพลังงานแต่อย่างใด ปัจจุบัน หลายบริษัทได้เลิกขายสินค้านี้ และร่วมมือกับ TSI เรียกคืนสินค้าที่ขายไปแล้วให้แก่ผู้ซื้อ

ค่าไฟแพงแล้ว อย่าโดนหลอกซ้ำ Power Factor Saver กล่องประหยัดไฟ

   ทั้งนี้ ไม่มีอุปกรณ์เสริมที่สามารถช่วยลดค่าไฟฟ้าได้จริง เครื่องใช้ไฟฟ้าจะประหยัดพลังงานได้ จะต้องเริ่มจากการออกแบบให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการใช้งานจริง มีการตรวจสอบและการรับรองตามหลักวิชาการ จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(มอก.) ฉลากแสดงระดับประสิทธิภาพเบอร์ 5

การใช้อุปกรณ์ดังกล่าวนอกจากจะไม่ประหยัดแล้ว ยังจะเกิดอันตรายจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดไฟฟ้าช๊อตหรือไฟใหม้ได้ ส่วนการดัดแปลงมิเตอร์ให้หมุนช้าลงเพื่อให้ค่าไฟฟ้าลดลง ด้วยวิธีการใดๆ ก็เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย

ค่าไฟแพงแล้ว อย่าโดนหลอกซ้ำ Power Factor Saver กล่องประหยัดไฟ

เครดิตแหล่งข้อมูล : egat.co.th


เรียบเรียง : ทีมงาน Teenee.com

ค่าไฟแพงแล้ว อย่าโดนหลอกซ้ำ Power Factor Saver กล่องประหยัดไฟ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์