ไขคำตอบสะดุ้งกลางดึก ฝันตกจากที่สูง-ตัวกระตุก เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?


ไขคำตอบสะดุ้งกลางดึก ฝันตกจากที่สูง-ตัวกระตุก เกิดจากอะไร อันตรายหรือไม่?

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยประสบกับเหตุการณ์ ผวาวูบเหมือนตกจากที่สูง ขณะกำลังเคลิ้มจะหลับ หรือตัวกระตุก ขากระตุกอย่างห้ามไม่ได้ ซึ่งหลายคนเกิดไม่บ่อย เป็นบางครั้งบางคราว แต่หลายคนเกิดขึ้นบ่อยจนกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับพักผ่อน

แต่อาการดังกล่าวมีที่มาอย่างไร และอันตรายหรือไม่ มีคำตอบดังนี้

อาการกระตุกขณะนอนหลับ (Hypnic Jerks) หรือบางครั้งก็เรียกว่าอาการเหมือนตกจากที่สูง ซึ่งในบางคนอาจจะมีการกระตุกรุนแรงถึงขั้น ฟาดแขน ฟาดขา หรืออาจจกระตุกทั้งตัว ทำให้มีผลต่อการนอนหลับได้ในทางการแพทย์มักจะเรียกกลุ่มอาการนี้ว ฮิปนิค (Hypnic) เป็นการกระตุกแบบ myoclonic ซึ่งเป็นการกระตุกของกล้ามเนื้อในร่างกายที่สามารถคิดได้ในคนทั่วไป เช่น การสะอึกหรือการกระตุกของแขน ขา ตอนนอนหลับ

โดยสามารถสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากหลายสาเหตุไม่ว่จะเป็น ความเครียด, วิตกกังวล, การอดนอน หรือจากโรคบางชนิด เช่น หลอดเลือดสมอง โรคไต แต่ในทางการแพทย์ ก็สามารถอธิบายให้เข้าใจได้ในอีกแง่มุมจากงานศึกษาหลายชิ้นเชื่อว่า เกิดจากการที่ร่างกายกำลังเข้าสู่ช่วงหลับลึก กล้ามเนื้อเริ่มคลายตัวพร้อมๆ กันการหายใจเริ่มช้าลง แต่สมองกลับสับสนโดยคิดว่า ร่างกายกำลังอ่อนแรง ทั้งขา แขน ทำให้ไม่สามารถ ยืน หรือนั่งได้ปกติ จึงสั่งให้กลไกของร่างกายทำการป้องกันตัว คือ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวและกระตุกอย่างรวดเร็ว ในบางครั้งสมองจึงสร้างความรู้สึกคล้ายกับอาการของการตกจากที่สูงนั่นเอง

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาที่มีคนพูดถึงเกี่ยวกับทฤษฎีของอาการ Hypnic jerks ว่าเป็นระบบการป้องกันตัว ซึ่งคนได้รับบทอดมาจากบรรพบุรุษที่มีร่วมกันกับลิงและใช้เป็นกลไกในการป้องตัว ในตอนที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายขณะนอนหลับ

ขณะที่ เว็บไซต์หมอชาวบ้าน ระบุไว้ว่า การกระตุกขณะหลับ เป็นหนึ่งในอาการของ โรคลมหลับ (narcolepsy) เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการ ง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน อาการหลับแบบไม่ปกติ ทั้งในเวลากลางวันแลกลางคืน และมีอาการแปลกๆ ซึ่งอาจเป็นในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือหลายลักษณะโดยหนึ่งในนั้นคือ 'สิ่งหลอนยามหลับ' (hypnic hallucinations) คืออาการหลอนขณะหลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ อาจจะเกิดตอนเริ่มหลับ หรือตอนท้ายของการหลับ หรือกำลังจะตื่น อาจจะเป็นสิ่งหลอนที่ชอบหรือไม่ ชอบ (น่กลัว) ก็ได้ ซึ่งต่างจากความฝัน เพราะมันไม่เป็นเรื่องเป็นราว (ไม่ปะติดปะต่อกัน) และผู้ที่มีอาการไม่ได้เป็นผู้เล่นอย่างสมบูรณ์ในฉกหลอนนั้น ไม่ว่าจะเป็น

-ภาพหลอน (visual hallucination) เช่น เห็นเป็นวงสีต่างๆ สัตว์ วัตถุ ที่มีขนาดคงที่หรือขนาดเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ อาจจะเป็นภาพทั่วๆ ไปในธรรมชติหรือภาพสมมุติ เช่น ผีสางนางฟ้า หรืออื่นๆ
- เสียงหลอน (auditory hallucination) เช่น เสียงเพลง เสียงน้ำ เสียงลม เสียงขู่กรรโชก หรืออื่นๆ
- ความรู้สึกหลอน (cenesthopathic feeling) เช่น รู้สึกมีอะไรมาแตะ ลูบคลำ หรือจับต้องบางส่วนของร่างกาย รู้สึกว่าแขนขาอยู่ผิดที่หรือสลับที่ รู้สึกตัวเบาลอยไปในอากาศ หรือลอยอยู่เหนือเตียงนอน และมองเห็นตัวเองที่นอนอยู่ หรือรู้สึกว่ามีคนกระโดดลงมาทับตัวเอง หรือกระโดดข้ามตนเองที่ลอยอยู่ เป็นต้น

ซึ่งสิ่งที่หลอนเหล่านี้จะเกิดเพียงไม่กี่วินที่หรือไม่กี่นที่ และจบลงอย่างกะทันหันด้วยการ 'กระตุกของส่วนใด ส่วนหนึ่งของร่างกาย' (hypni jerks) อาการหลอนเช่นนี้นอกจากจะพบได้ในโรคลมหลับแล้ว ยังพบในภาวะอื่น เช่น คนที่นอนหลับไม่พอหรือหลับผิดเวลา

อย่างไรก็ตาม อาการ Hypnic jerks นั้นก็สามารถเกิดไดในคนทุกเพศ ทุกวัย ไม่ใช่อาการผิดปกติ แต่อย่างใด แต่ถ้าเกิดใครที่มีอาการของ Hypnic jerks บอยครั้งจนมีผลต่อการนอนหลับก็ควร ปรึกษาแพทย์เพราะอาจจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์