น่าเหลือเชื่อ หมึกบูลริง พิษร้ายยิ่งกว่างูเห่า 20 เท่า ทนร้อน 200 องศา


น่าเหลือเชื่อ หมึกบูลริง พิษร้ายยิ่งกว่างูเห่า 20 เท่า  ทนร้อน 200 องศา

หมึกบลูริง สมญานาม สวยประหาร พิษร้ายรอบตัว สำหรับจับเหยื่อ ถูกกัดเสี่ยงตายสูง นักวิชาการชี้ เป็นสัตว์รักสงบ ชอบหลบตามรู ไม่ว่ายน้ำเพ่นพ่าน อย่ากลัวเกินเหตุ แต่กัดแน่ถ้าถูกรังแกก่อน เผยเหยื่อส่วนใหญ่ไม่รู้เพราะปากเบา ขยับไม่ได้ภายใน 5-10 นาที หยุดหายใจใน 2 ชั่วโมง กังวลคนคัดเลือกหมึกในเรือเป็นพม่า ไม่ค่อยมีใครรู้จัก



น่าเหลือเชื่อ หมึกบูลริง พิษร้ายยิ่งกว่างูเห่า 20 เท่า  ทนร้อน 200 องศา

1. "หมึกบลูริง" เป็นหมึกยักษ์ที่ตัวเล็กแค่ 4 เซนติเมตร

"หมึกสายวงน้ําเงิน" หรือ "หมึกบลูริง" (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกยักษ์จําพวกหนึ่ง แต่มีขนาดเล็กมาก โดยตัวเต็มวัยมีขนาดลําตัวเพียง 4-5 เซนติเมตร มี 8 หนวด แต่ละหนวดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร หลังจากเพศเมียวางไข่ ไข่จะใช้เวลาฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ และใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดือนเจริญเป็นตัวเต็มวัย โดยมีอายุขัยประมาณ 1 ปี

2. จุดเด่นคือวงกลม "สีน้ำเงิน" ทั่วตัว

หมึกบลูริง มีจุดเด่นที่ต่างจากหมึกทั่วไปตรงที่ มีลวดลายเป็นวงแหวนสีน้ำเงิน กระจายตามลําตัวและหนวด ซึ่งจะตัดกับสีของลําตัวที่ออกเป็นสีเหลืองน้ำตาลอย่างชัดเจน วงแหวนสีน้ำเงินเหล่านี้สามารถ "เรืองแสง" ได้เมื่อถูกคุกคาม เนื่องจากหมึกชนิดนี้มีสีสวยงาม และมีขนาดไม่ใหญ่มาก จึงเป็นที่นิยมของผู้ที่ชื่นชอบในการเลี้ยงปลาสวยงาม และสัตว์แปลกๆ ในต่างประเทศ 

3. หมึกบลูริง ในไทยมีกี่สายพันธุ์?

ปัจจุบันทั่วโลกพบว่ามี หมึกบลูริง ทั้งหมดประมาณ 4 ชนิด สําหรับในประเทศไทยมีรายงานการพบหมึกสายวงน้ำเงิน สกุล Hapalochlaena maculosa ในบริเวณน่านน้ำไทย ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย

4. พิษร้ายแรงมากกว่างูเห่า 20 เท่า

ก่อนหน้านี้เมื่อเดือน พ.ย. 2562 นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในฐานะโฆษกกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เคยให้ข้อมูลเอาไว้ว่า จากกรณีที่มีชาวประมงจับ หมึกสายวงน้ำเงิน ได้ที่จังหวัดชุมพร พบว่าหมึกชนิดนี้มีพิษร้ายแรง ยิ่งตอนป้องกันตัวเมื่อมีภัยคุกคาม จะปรากฏวงกลมสีน้ำเงินที่มองเห็นชัดมาก โดยหมึกทะเลชนิดนี้เป็นจำพวกหมึกยักษ์ขนาดเล็ก หากเจอต้องระวังให้มาก เพราะมีพิษร้ายแรงกว่างูเห่า 20 เท่า ผู้ถูกกัดอาจจะตายภายในเวลารวดเร็ว

5. พิษร้าย "เตโตรโดท็อกซิน" อยู่ที่น้ำลายหมึก 

หมึกบลูริง มีสารพิษที่มีความร้ายแรงมากผสมอยู่ในน้ำลาย ผู้ที่ถูกหมึกกัดอาจตายได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง จึงนับเป็นสัตว์น้ำที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก สารพิษของหมึกสายวงน้ำเงินนั้น เรียกว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ทั้งนี้เตโตรโดท็อกซินไม่ได้ถูกสร้างจากภายในตัวของหมึก แต่ถูกสร้างจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่อาศัยอยู่กับตัวหมึกบลูริงแบบพึ่งพา (symbiosis)

6. พิษรุนแรงกว่าไซยาไนด์ 1,200 เท่า

พิษของหมึกบลูริงที่ชื่อว่า เตโตรโดท็อกซิน นั้น เป็นพิษที่มีผลต่อระบบประสาท โดยปริมาณพิษที่มนุษย์รับประทานแล้วเสียชีวิตคือประมาณ 1 มิลลิกรัม ซึ่งมีความรุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า

7. พิษหมึกบลูริง ทนความร้อนได้ถึง 200 °C




น่าเหลือเชื่อ หมึกบูลริง พิษร้ายยิ่งกว่างูเห่า 20 เท่า  ทนร้อน 200 องศา


น่าเหลือเชื่อ หมึกบูลริง พิษร้ายยิ่งกว่างูเห่า 20 เท่า  ทนร้อน 200 องศา


น่าเหลือเชื่อ หมึกบูลริง พิษร้ายยิ่งกว่างูเห่า 20 เท่า  ทนร้อน 200 องศา

เครดิตแหล่งข้อมูล : dailynews





เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์