คำขวัญวันเด็ก ภาพสะท้อนรัฐบาล ผ่านอุดมการณ์นายกฯ


 คำขวัญวันเด็ก ภาพสะท้อนรัฐบาล ผ่านอุดมการณ์นายกฯ


ประวัติวันเด็กแห่งชาติ

งาน วันเด็กแห่งชาติ จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 ตามคำเชิญชวนของ นายวี.เอ็ม. กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ เพื่อให้ประชาชนเห็นความสำคัญและความต้องการของเด็ก และเพื่อกระตุ้นให้เด็กตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญของตนในประเทศ โดยปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในสังคม เตรียมพร้อมให้ตนเองเป็นกำลังของชาติ ก่อนจะเปลี่ยนมาจัดในวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม เนื่องจากเห็นว่าเป็นช่วงหมดฤดูฝนและเป็นวันหยุดราชการ จนถึงทุกวันนี้



"คำขวัญวันเด็ก" บอกอุดมการณ์นายกฯ

คำขวัญวันเด็กเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงอุดมการณ์ของรัฐ และบุคลิกของผู้นำคนนั้นๆ ในขณะดำรงตำแหน่ง
อย่างในช่วงของ นายกรัฐมนตรีที่มีความเป็นทหารสูง อยู่ในช่วงการปกครองแบบเผด็จการ หรือกึ่งประชาธิบไตย ลักษณะคำขวัญจะเป็นเหมือน "คำสั่ง" ชัดเจนที่สุดต้องยกให้ "จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์" การบริหารประเทศในสมัยนั้นขับเคลื่อนด้วยคำสั่งของคณะปฏิวัติเป็นหลัก ทำให้คำขวัญวันเด็กตั้งแต่ปี 2502-2506 มีประโยคที่ขึ้นต้นว่า "ขอให้เด็กสมัยปฏิวัติของข้าพเจ้า..." ทุกปี

นายกรัฐมนตรีที่มีลักษณะอนุรักษ์นิยม หรือนิยมความเป็นไทย เน้นเรื่องอุดมการณ์ความจงรักภักดี เช่น นายสัญญา ธรรมศักดิ์ "เด็กดีคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจพลังสร้างความสามัคคี" ยุค ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช "เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดีมีวินัยเสียแต่บัดนี้" และนายอานันท์ ปันยารชุน "สามัคคี มีวินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม" นายธานินทร์ กรัยวิเชียร "รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเยาวชนไทย" นายบรรหาร ศิลปอาชา "มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด"


 คำขวัญวันเด็ก ภาพสะท้อนรัฐบาล ผ่านอุดมการณ์นายกฯ


นายกรัฐมนตรีพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง และเคยเป็นนักธุรกิจ ซึ่งพยายามนำไทยสู่สังคมสมัยใหม่ เช่น นายทักษิณ ชินวัตร "เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคตที่สดใส" และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร "สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี"

คำขวัญวันเด็กในหลายปีที่ผ่านมานั้น มันจะมีคำหลายคำที่ถูกนำมาใช้อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งคำยอดฮิต 3 อันดับแรกคงหนีไม่พ้น "ชาติ" "วินัย/มีวินัย" "คุณธรรม" ทั้งยังมีบางคำที่นายกฯ คนอื่นไม่ใช้ แต่นายกฯ บางท่านได้นำมาใช้ซ้ำ ซึ่งแปลกใหม่ และแตกต่างจากท่านอื่น อย่างคำว่า นิยมไทย ของพลเอกเปรม อันสะท้อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 5 และคำว่า ปัญญา ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ อันสอดคล้องกับคำแถลงนโยบายของรัฐบาลที่จะปฏิรูปการศึกษา


 คำขวัญวันเด็ก ภาพสะท้อนรัฐบาล ผ่านอุดมการณ์นายกฯ


โดยเฉพาะคำว่า "ประชาธิปไตย" ของนายชวน หลีกภัย ที่ปรากฏในการดำรงตำแหน่งทั้งสองสมัย ทำให้เห็นว่าที่ผ่านมานั้นรัฐบาลส่วนมากยังไม่มีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนด้านประชาธิปไตยแก่เด็กและเยาวชนทั้งที่จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต ทั้งเมื่อปี 63 ก็ยังปรากฎคำดังกล่าว เนื่องจากนายชวน หลีกภัย ได้มอบคำขวัญวันเด็กในฐานะประธานรัฐสภา ซึ่งมีความว่า "รับผิดชอบหน้าที่ สำนึกวินัยดี ยึดมั่นประชาธิปไตย ใส่ใจส่วนรวม"

อย่างไรก็ตามคำขวัญวันเด็กไม่ใช่การให้ข้อคิดแก่เด็ก เยาวชน และผู้เกี่ยวข้องเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่คำขวัญวันเด็กได้ให้ภาพสะท้อนนโยบายของแต่ละรัฐบาลที่เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองการปกครองของประเทศในอนาคต หากพิจารณาคำขวัญวันเด็กอย่างลึกซึ้ง ย่อมทำให้เกิดความเข้าใจบริบทของสังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง


 คำขวัญวันเด็ก ภาพสะท้อนรัฐบาล ผ่านอุดมการณ์นายกฯ

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์