ไขข้อสงสัยคดี ‘แอมมี่’ ทำไมโทษสูงสุด ประหารชีวิต?
ทำให้มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับ "อัตราโทษ" โดยเฉพาะความเห็นจาก ร.ต.ธนกฤต จิตรอารีย์รัตน์ เลขานุการรมว.ยุติธรรม ที่ระบุก่อนหน้านี้ว่า คดีดังกล่าวมีโทษสูงสุดคือ "ประหารชีวิต"
ทั้งนี้เมื่อเปิดดูกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้เขียนบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวไว้ดังนี้
มาตรา 112 แห่ง "ประมวลกฎหมายอาญา" ระบุว่า ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์พระราชินีรัชทายาท หรือผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์
ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี
ขณะที่ มาตรา218 ผู้ใดวาง "เพลิงเผาทรัพย์" ดังต่อไปนี้
(1) โรงเรือน เรือ หรือแพที่คนอยู่อาศัย
(2) โรงเรือน เรือ หรือแพอันเป็นที่เก็บหรือที่ทําสินค้า
(3) โรงมหรสพหรือสถานที่ประชุม
(4) โรงเรือนอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน เป็นสาธารณสถาน หรือเป็นที่ สําหรับประกอบพิธีกรรมตามศาสนา
(5) สถานีรถไฟ ท่าอากาศยาน หรือที่จอดรถหรือเรือสาธารณะ
(6) เรือกลไฟ หรือเรือยนต์อันมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป อากาศยาน หรือรถไฟ ที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะ
***ต้องระวางโทษ "ประหารชีวิต" จําคุกตลอดชีวิต หรือจําคุกตั้งแต่ห้าปีถึงยี่สิบปี***
ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษ "จำคุกไม่เกินห้าปี" หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา
(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูล คอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
ถ้าการกระทําความผิดตามวรรคหนึ่ง (1) มิได้กระทําต่อประชาชน แต่เป็นการกระทําต่อบุคคลใด บุคคลหนึ่ง ผู้กระทํา ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ และให้เป็นความผิดอันยอมความได้