โซเดียมไม่ได้มีแค่ในเกลือ... 5 โซเดียมแฝงในอาหาร บริโภคให้พอดีลดเสี่ยงทำร้ายไต
หน้าแรกTeeNee อาหารสมอง อาหารสมอง โซเดียมไม่ได้มีแค่ในเกลือ... 5 โซเดียมแฝงในอาหาร บริโภคให้พอดีลดเสี่ยงทำร้ายไต
หากพูดถึงโซเดียม เชื่อว่าทุกคนต้องนึกความเค็ม ซึ่งความเค็มก็มาจาก เกลือ น้ำปลา ผงชูรส บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ ซึ่งการทานโซเดียมเยอะๆ หลายคนจะทราบดีว่า สิ่งเห่ล่านี้เป็นตัวการทำให้บวมน้ำ และตัวการทำให้เกิดโรคไตเป็นแน่ แต่เพื่อนๆ ทราบไหมคะว่า โซเดียมเป็นแร่ธาตุที่แฝงตัวอยู่ในอาหารหลากหลายชนิด ไม่ได้จำเพาะเจาะจงอยู่แค่ในอาหารรสเค็มเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาหารที่มีโซเดียมสูงบางชนิดอาจมีรสเค็มน้อยมาก หรือไม่มีรสเค็มเลยก็ได้ ดังนั้น เพื่อนๆ จึงควรทำความรู้จักโซเดียมแฝงเหล่านี้ไว้ เพื่อควบคุมและป้องกันการรับประทานโซเดียมในปริมาณที่พอดีกับร่างกาย
โซเดียมคืออะไร?
โซเดียม (Sodium) คือ แร่ธาตุสำคัญชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำภายในร่างกายให้เกิดความสมดุล รักษาความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ช่วยในการทำงานของระบบประสาทและระบบกล้ามเนื้อ แม้ว่าโซเดียมจะเป็นเกลือแร่ที่สำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย แต่ร่างกายกลับไม่สามารถสร้างโซเดียมขึ้นเองได้ จะได้รับโซเดียมจากอาหารที่รับประทานเข้าไปเท่านั้น
ปริมาณโซเดียมที่สามารถบริโภคได้โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ คือ 2,000 มิลลิกรัม/วัน (คิดเป็นเกลือป่นประมาณ 1 ช้อนชา) การบริโภคโซเดียมมากเกินไปทำให้เกิดการสะสมน้ำตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดภาวะบวมน้ำ ความดันโลหิตสูง เร่งภาวะไตเสื่อม และยังนำไปสู่ภาวะต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย
โซเดียมแฝงคืออะไร?
โซเดียมที่อยู่ในส่วนประกอบของสารต่างๆ ที่ไม่ใช่เกลือ อาจไม่มีรสเค็ม แต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพเช่นเดียวกับโซเดียม ทำให้หลายๆ คนบริโภคเข้าไปในปริมาณมากโดยไม่รู้ตัว
ดังที่ได้กล่าวไปในตอนต้นว่า โซเดียมเป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย จึงสามารถรับประทานได้ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่ได้หมายความว่าไม่สามารถรับประทานโซเดียมได้เลย การให้ความรู้เรื่องโซเดียมแฝงข้างต้น เหมาะสำหรับคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยโรคไต รวมถึงผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ลดการบวมน้ำ ถ้าพอจะทราบความสำคัญและโทษของโซเดียมแล้ว ก็ควรจำกัดการรับประทานโซเดียม และดูแลรักษาสุขภาพด้วยวิธีอื่นๆ ควบคู่ไปด้วย
1.โซเดียมไนไตรท์ ใน ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง แหนม
วัตถุเจือปนอาหารซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกประเทศทั่วโลก คุณสมบัติเด่น คือ ทำให้เนื้อสัตว์นุ่ม ตรึงสีของเนื้อสัตว์ให้มีสีแดงน่ารับประทาน ช่วยป้องกันและยับยั้งการเน่าเสีย ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมไนไตรท์ ได้แก่ ไส้กรอก แฮม เบคอน โบโลน่า หมูยอ กุนเชียง แหนม ปลาแห้ง ปลาร้า
สารสกัดจากสาหร่ายสีน้ำตาล คุณสมบัติเด่น คือ ทำให้เกิดการคงตัว ทำให้อาหารที่ถูกผสมมีลักษณะข้น หนืด หรือเป็นเจล จัดอยู่ในสารประเภทเดียวกับพวกผงวุ้น เจลาติน คาราจีแนน สามารถใช้เป็นสารคงตัวให้กับไอศกรีมได้ ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมอัลจิเนต ได้แก่ ไอศกรีม เส้นแก้ว ไข่มุก เจลลี่ ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มผง
โซเดียมไบคาร์บอเนต หรือ ผงฟู คุณสมบัติเด่น คือ ใช้เป็นสารช่วยให้ขึ้นฟูในขนมปัง เค้ก และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่แทบทุกชนิด ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต ได้แก่ ขนมปัง เค้ก คุกกี้ โดนัท แป้งสำเร็จรูป
สารเติมแต่งอาหารซึ่งแฝงอยู่ในอาหารเกือบทุกชนิด คุณสมบัติเด่น คือ ใช้เป็นสารกันเสีย ยืดอายุอาหารและผลิตภัณฑ์อาหารให้เก็บไว้ทานได้นานยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมเบนโซเอต ได้แก่ ซอสปรุงรส น้ำสลัด ผลิตภัณฑ์ผลไม้บด ผลิตภัณฑ์ผลไม้กวน ผลิตภัณฑ์ผลไม้ที่ใช้ทำไส้ขนม แยม มาร์มาเลด
วัตถุเจือปนอาหารที่ใช้เป็นสารกันเสียหรือสารกันบูด คุณสมบัติเด่น คือ ยืดอายุการเก็บของผลิตภัณฑ์ให้ยาวนานยิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่นิยมใช้โซเดียมซอร์เบต ได้แก่ สารกันเสียในชีส เนยเทียม และเครื่องดื่ม
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น