ควรรู้ วิธี “หาเตียงโควิด” โทรไม่ติด-ไม่มีคนมารับ ทำตามนี้!
โดยจากรายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมควบคุมโรค ล่าสุด วันที่ 24 เมษายน 2564 พบยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ ทะลุสูงถึง 2,839 ราย นับเป็น "ตัวเลขรายวัน" ที่สูงที่สุดเท่าที่มีการระบาดในประเทศไทยมา ทำให้จนถึงขณะนี้ มียอดผู้ป่วยยืนยันสะสมแล้ว 53,022 ราย อีกทั้งยังพบผู้เสียชีวิตเพิ่มถึง 8 ราย ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 129 ราย
ในจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นนั้น ทำให้เกิดประเด็นปัญหาที่มีการแชร์ผ่านทางโซเชียลจำนวนมาก นั่นคือ จำนวนเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ไม่เพียงพอ การประสานงานติดต่อเพื่อรอทางโรงพยาบาลมารับก็ไม่เป็นไปได้รวดเร็ว และทำให้เกิดการแพร่เชื้อมากขึ้น โดยเฉพาะกับคนในครอบครัวเดียวกัน
ซึ่งทีมงานสายด่วนเฉพาะกิจ 1668 เป็นเจ้าหน้าที่จิตอาสา ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ในตำแหน่งต่างๆ ของกรมการแพทย์ ทั้งนี้หากมีปัญหาเรื่องการโทรอาจจะใช้ LINE @sabaideebot ในการเข้าไปลงทะเบียน เพื่อแจ้งรายละเอียดของผู้ป่วยโควิด-19 เข้าสู่ระบบหาเตียงส่วนกลางได้ด้วย
1.ทีมรับสาย Hotline 1668 จากผู้ป่วยโควิด-19
สอบถามข้อมูลรายละเอียดของผู้ป่วย
ให้คำปรึกษาแนะนำการปฏิบัติตัวเบื้องต้นในการดูแลตนเองและป้องกันการแพร่กระจายของโรคค
2.ทีมข้อมูล
รวบรวมข้อมูลจากทีมงานสายด่วนและทีมประสานงาน
วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำฐานข้อมูล สรุปข้อมูลรายวัน
3.ทีมแพทย์
มีทีมแพทย์ประเมินอาการระดับความรุนแรงของผู้ป่วย แบ่งเป็น 3 ระดับ ตามความรุนแรงของโรค
4.ทีมประสานงานและประสานงาน
หน้าที่ประสานการขอเตียงจากโรงพยาบาลเป้าหมายหรือศูนย์ประสานงานกลุ่มโรงพยาบาล ผ่านศูนย์ส่งต่อโรงพยาบาลราชวิถี
- กรณีเป็นผู้ติดเชื้อในความรับผิดชอบของกรมการแพทย์ และประสานงานผ่านศูนย์เอราวัณ กรุงเทพมหานคร
- กรณีเป็นผู้ติดเชื้อในความรับผิดชอบของโรงพยาบาลนอกสังกัดกรมการแพทย์ ในกรณีที่เป็นผู้ติดเชื้อจาก Lab ที่ไม่มีสถานพยาบาลรองรับ กรมการแพทย์ช่วยเหลือในรับเข้า Hospotel
โทรเยี่ยมติดตามอาการของผู้ป่วย
- 1422 (กรมควบคุมโรค) : สอบถามข้อมูลโรคโควิด-19 และแจ้งผู้ที่มีอาการป่วยเข้าเกณฑ์สงสัยป่วยโรคโควิด-19 (For foreigner call 0-9684-7820-9) หรือผ่านช่องทางแชทโดยการสแกนคิวอาร์โค้ดด้านล่างนี้
- 1111 (สำนักนายกรัฐมนตรี) : รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ศูนย์บริการภาครัฐเพื่อประชาชน
- 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ) : เจ็บป่วยหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน
- 1323 (กรมสุขภาพจิต) : ปรึกษาปัญหาสุขภาพจิต
- 1646 (ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ)) : ประสานความช่วยเหลือด้านการแพทย์ในภาวะฉุกเฉินทุกประเภท และเป็นศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการแพทย์ประเภท Hotline สายด่วนกู้ใจให้คำปรึกษา ปัญหา คลายเครียด บริการตลอด 24 ชั่วโมง
- 0-2193-7057 (ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ)
- สายด่วนกองควบคุมโรค สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร 094 -386-0051 ,082-001-6373 (ให้บริการเวลา 08.00 - 16.00 น.) หรือ 0-2245-4964 (ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง) : สอบถามอาการป่วยโควิด-19
- 094-386-0051 (ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข (EOC) กทม.) : สำหรับแจ้งข้อมูลผู้ที่คาดว่าได้สัมผัสกับผู้ป่วย หรือผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ในพื้นที่ กทม.
- 0-2203-2393 และ 0-2203-2396 (สายด่วนเว็บไซต์ BKK COVID-19) เปิดให้บริการเวลา 08.00-20.00 น.
- 1506 (สำนักงานประกันสังคม) : ตรวจสอบสิทธิประกันสังคม การรักษาพยาบาล และเงินชดเชยการว่างงาน
1. เตรียมเอกสารที่ต้องใช้
บัตรประชาชน
ผลตรวจโควิด-19
2. แจ้งเบอร์โทรศัพท์ของตนกับหน่วยงานที่รับเรื่องเพื่อเข้ารับการรักษา
โทร 1330 สปสช.
โทร 1669 ศูนย์เอราวัณ กทม.
โทร 1668 กรมการแพทย์
3. งดออกจากที่พัก หรือเดินทางข้ามจังหวัด หากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิด พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 34
4. งดใกล้ชิดครอบครัว และผู้อื่น
5. แยกห้องน้ำ (ถ้าทำได้)
6.ในกรณีที่มีไข้ ให้รับประทานยาพารา และเช็ดตัวเพื่อลดไข้
7. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
8. แยกของใช้ส่วนตัว