รู้จัก พลาสมา สิ่งสำคัญ วอนผู้ป่วยโควิดที่หายแล้วช่วยบริจาค
ในวงการแพทย์ทราบกันดีว่า พลาสมา ของผู้ป่วยที่หายจากโรคโควิด 19 สามารถช่วยชีวิตผู้อื่นได้ เพราะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิด 19
สถานการณ์ในปัจจุบันส่งสัญญาณแล้วว่า เราขาดแคลนความพร้อมในหลากหลายด้าน อย่างไรก็ดี มีหลายอย่างเป็นสิ่งของที่พอจะจัดหา - จัดซื้อได้ แต่สำหรับ พลาสมา ของคนที่เคยป่วยและตรวจแล้วว่าหายจากโรคโควิด 19 นี่สิ...ผลิตจากร่างกายคนจริงๆ เอาไปต่อสู้กับสงครามไวรัสได้ แต่ที่หลายโรงพยาบาลรวมถึงสภากาชาดไทยประกาศว่า ขาดแคลนเลือด แล้ว พลาสมา จะพอได้อย่างไร
สถานการณ์ในปัจจุบันส่งสัญญาณแล้วว่า เราขาดแคลนความพร้อมในหลากหลายด้าน อย่างไรก็ดี มีหลายอย่างเป็นสิ่งของที่พอจะจัดหา - จัดซื้อได้ แต่สำหรับ พลาสมา ของคนที่เคยป่วยและตรวจแล้วว่าหายจากโรคโควิด 19 นี่สิ...ผลิตจากร่างกายคนจริงๆ เอาไปต่อสู้กับสงครามไวรัสได้ แต่ที่หลายโรงพยาบาลรวมถึงสภากาชาดไทยประกาศว่า ขาดแคลนเลือด แล้ว พลาสมา จะพอได้อย่างไร
พลาสมา คืออะไร
พลาสมา คือ ส่วนประกอบของเลือดที่เป็นของเหลว หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า 'น้ำเลือด' ซึ่งโดยปกติจะมีสีเหลืองใส แต่ถ้าพบไขมันก็จะเห็นเป็นสีขาว โดยส่วนประกอบในเลือดของเราจะมี พลาสมา ประมาณ 55% เซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด 4% และเซลล์เม็ดเลือดแดง 41%
การแยก พลาสมา ออกจากส่วนประกอบต่างๆ ของเลือด ต้องนำเลือดไปปั่นเหวี่ยงและเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดลงไป เพื่อทำให้พลาสมาแยกชั้นจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว พลาสมา จะอยู่ชั้นบนสุด
พลาสมา คือ ส่วนประกอบของเลือดที่เป็นของเหลว หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า 'น้ำเลือด' ซึ่งโดยปกติจะมีสีเหลืองใส แต่ถ้าพบไขมันก็จะเห็นเป็นสีขาว โดยส่วนประกอบในเลือดของเราจะมี พลาสมา ประมาณ 55% เซลล์เม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือด 4% และเซลล์เม็ดเลือดแดง 41%
การแยก พลาสมา ออกจากส่วนประกอบต่างๆ ของเลือด ต้องนำเลือดไปปั่นเหวี่ยงและเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดลงไป เพื่อทำให้พลาสมาแยกชั้นจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และเซลล์เม็ดเลือดแดง เมื่อทำตามขั้นตอนที่กล่าวมาแล้ว พลาสมา จะอยู่ชั้นบนสุด
มาเถอะ...พลาสมา
จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หมอยง หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า มีการใช้พลาสมาไปแล้วในผู้ป่วยกว่า 100 ราย ยังมีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้อีกมาก แต่ไม่สามารถจัดหาได้ในขณะนี้
หมอยงจึงเชิญชวนผู้ป่วยโควิดที่หายแล้วมาบริจาคพลาสมา ซึ่งนี่เป็นการประกาศรอบ 2 หากบริจาคกันมาก โอกาสช่วยเหลือผู้อื่นก็มีมากขึ้น
แต่ไม่ใช่ผู้ที่หายป่วยจากโควิดทุกคนจะสามารถบริจาค 'พลาสมา' ได้ ด้วยข้อจำกัดนี้ ผู้ที่หายป่วยแล้วจึงเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในสมรภูมิเชื้อโรคที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่
7 คุณสมบัติที่สตรองพอจะให้ ‘พลาสมา' ได้
1. เพศชาย
เครดิตแหล่งข้อมูล : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
จากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หมอยง หรือ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาสื่อสารผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า มีการใช้พลาสมาไปแล้วในผู้ป่วยกว่า 100 ราย ยังมีผู้ป่วยที่มีความจำเป็นต้องใช้อีกมาก แต่ไม่สามารถจัดหาได้ในขณะนี้
หมอยงจึงเชิญชวนผู้ป่วยโควิดที่หายแล้วมาบริจาคพลาสมา ซึ่งนี่เป็นการประกาศรอบ 2 หากบริจาคกันมาก โอกาสช่วยเหลือผู้อื่นก็มีมากขึ้น
แต่ไม่ใช่ผู้ที่หายป่วยจากโควิดทุกคนจะสามารถบริจาค 'พลาสมา' ได้ ด้วยข้อจำกัดนี้ ผู้ที่หายป่วยแล้วจึงเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญในสมรภูมิเชื้อโรคที่คนไทยกำลังเผชิญอยู่
7 คุณสมบัติที่สตรองพอจะให้ ‘พลาสมา' ได้
1. เพศชาย
2. ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล เดินทางได้สะดวก
3. ออกจาก รพ.อย่างน้อย 14 วัน และมีผลตรวจเป็นลบ
4. หรือออกจาก รพ.และกักตัวอยู่บ้านรวมกันครบ 28 วัน
5. อายุ 18 - 60 ปี
6. น้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 55 กก. ขึ้นไป
7. สุขภาพแข็งแรงดี
ถ้าคุณสมบัติเต็ม 7 ไม่หัก ลงทะเบียนออนไลน์เลย https://1th.me/ZJChu
เดี๋ยวเจ้าหน้าที่จะโทรนัดเพื่อพูดคุยในรายละเอียดต่อไป หรือสอบถามเพิ่ม โทร. 0 2256 4300เครดิตแหล่งข้อมูล : ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น