เตือนคนสูบบุหรี่ไฟฟ้า เสี่ยงติดโควิดมากกว่า 14 เท่า
รศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบบการหายใจและเวชบำบัดวิกฤต ในฐานะรองประธานเครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในการควบคุมยาสูบ สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ขณะนี้ การสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้านับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญในการรับเชื้อและแพร่กระจายเชื้อให้แก่ผู้อื่น
โดยมีงานวิจัยระบุว่า ผู้สูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ได้มากกว่าคนปกติ 5-14 เท่า และเมื่อป่วยแล้วมักมีอาการรุนแรงกว่าคนทั่วไปที่ไม่สูบเลยอย่างชัดเจน ที่น่าเป็นห่วงมากกว่านั้นคือ นักสูบที่สูบจนเกิดโรคเรื้อรังแล้ว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง มะเร็งปอด ระบบภูมิคุ้มกันจะมีลดต่ำกว่าคนปกติ ทำให้เชื้อโควิด-19 สามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้โดยง่ายและเกิดอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
1.ปริมาณของฝอยละอองที่เกิดขึ้นจากบุหรี่ไฟฟ้า (aerosol) และล่องลอยออกไปในอากาศมีมากกว่าบุหรี่มวน ซึ่งฝอยละอองนี้จะพาเอาเชื้อโควิด-19 ไปพร้อมกันและแพร่กระจายไปด้วยกระแสลมได้เป็นอย่างดี
2.ผู้สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้าจำนวนไม่น้อยมีพฤติกรรมสูบกันเป็นกลุ่ม พูดคุยกันหรือทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ทำให้แพร่กระจายเชื้อโควิดให้แก่กันได้ง่ายมาก เช่น กรณีคลัสเตอร์การระบาดโควิด-19 ที่เกิดขึ้นไม่นานมานี้ 3.ในสถานบันเทิงจะมีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับสูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า บางคนอาจแชร์บุหรี่ไฟฟ้าระหว่างกันหรือสูบบุหรี่มวนเดียวกัน พฤติกรรมนี้ถือเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้เชื้อโควิด-19 แพร่กระจายได้อย่างง่ายดาย
นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา กล่าวเสริมอีกว่า ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความน่ากังวลมากกว่าผู้ที่สูบบุหรี่มวน เนื่องจากสารประกอบต่างๆ ในบุหรี่ไฟฟ้ามีความเป็นพิษสูงกว่า เช่น นิโคตินในบุหรี่ไฟฟ้ามีโครงสร้างทางเคมีแตกต่างไปจากบุหรี่มวน สามารถถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ง่ายกว่า มากกว่า และเกิดผลกระทบต่อหลอดเลือดได้มากกว่าแบบเดิม บุหรี่ไฟฟ้ามีปริมาณนิโคตินมากกว่าในบุหรี่มวนถึง 10-100 เท่า
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น