กรมอนามัย ไขข้อข้องใจ แตงโมต้มน้ำตาล รักษาโรคไตได้หรือไม่?


กรมอนามัย ไขข้อข้องใจ แตงโมต้มน้ำตาล รักษาโรคไตได้หรือไม่?


กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนคนไทยที่ได้รับข้อมูลจากสื่อโซเชียล เรื่องการนำแตงโม ต้มน้ำตาลมากินเพื่อรักษาโรคไต ไม่ใช่เรื่องจริง หากกินเยอะเกินไป เสี่ยงเป็นโรคอ้วน เบาหวาน และฟันผุได้ แนะนำหากเป็นโรคไตควรปรึกษาแพทย์ และควบคุมอาหารให้เหมาะกับร่างกาย

 




นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า จากกระแสข่าวที่แชร์กันอยู่ใน สื่อออนไลน์ ประเด็นการต้มแตงโมไฟอ่อนผสมน้ำตาล และปั่นทิ้งไว้ 4-5 วัน จะได้น้ำเหนียวๆ เรียกว่า น้ำตาลแตงโมกินครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง เช้า - เย็น จะช่วยรักษาโรคไตได้ ซึ่งคำแนะนำในเรื่องนี้ ไม่เป็นความจริง แต่อย่างใด 

นอกจากจะรักษาโรคไตไม่ได้แล้ว การกินน้ำตาลมากเกินไป ก็มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วน เบาหวาน และฟันผุ ได้อีกด้วย โดยปกติผู้เป็นโรคไตต้องควบคุมและจำกัดอาหารตามระยะของโรคไตเรื้อรัง ไม่กินอาหารที่มีโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสมาก และต้องควบคุมอาหารตามคำแนะนำของแพทย์และนักกำหนดอาหาร โดยเฉพาะ ผู้ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ต้องงดกินผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมปานกลางและสูง ได้แก่ แครอท บล็อกโคลี ถั่วฝักยาว ฟักทอง มะเขือเทศ ส้มโอ องุ่น แก้วมังกร มะละกอ ส้ม ฝรั่ง แตงโม เป็นต้น ซึ่งในแตงโม 100 กรัม มีน้ำตาล 6 - 11 กรัม มีโพแทสเซียม 103 - 122 มิลลิกรัม แมกนีเซียม 9 - 11 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 10 - 14 มิลลิกรัม แล้วแต่ชนิดของแตงโม โดยปริมาณแตงโมที่แนะนำต่อวัน สำหรับคนปกติ 8 ชิ้นพอคำหรือ 170 กรัม 

สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังสามารถกินผลไม้วันละ 1-2 ส่วน เช่น แตงโม 1 ส่วนเท่ากับ 6-8 ชิ้นพอคำ แต่หากเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูง ควรงดการกินแตงโม

กรมอนามัย ไขข้อข้องใจ แตงโมต้มน้ำตาล รักษาโรคไตได้หรือไม่?


"ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรระมัดระวังเรื่องการบริโภคอาหารด้วย โดยกินข้าวแป้งซึ่งเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรต ไม่เกิน 6 ทัพพีต่อวัน ได้แก่ ข้าวขาว วุ้นเส้น ก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้ สาคู เป็นต้น หลีกเลี่ยงข้าวกล้องและขนมปัง กินเนื้อสัตว์ที่เป็นแหล่งของโปรตีน ได้แก่ ไข่ขาว เนื้อปลา เนื้อไก่ เนื้อหมูไม่ติดมัน เป็นต้น กินเนื้อสัตว์ไม่เกิน 7 ช้อนโต๊ะต่อวันสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 1-3 และไม่เกิน 5 ช้อนโต๊ะต่อวันสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4-5 รวมถึงบริโภคอาหารลดหวาน มัน เค็ม โดยกินน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน น้ำมันไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน และเกลือไม่เกิน 1 ช้อนชาต่อวัน อีกทั้งควบคุมโซเดียม หลีกเลี่ยง น้ำปลา ซอสปรุงรส ผงชูรส อาหารหมักดอง เนื้อสัตว์แปรรูปต่าง ๆ ผักผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง อาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ นม ไข่แดง ถั่ว ชา กาแฟ เป็นต้น และอาหารที่มีพิวรีนสูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ยอดผัก ใจผัก หน่อไม้ หน่อไม้ฝรั่ง เป็นต้น รวมถึงหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดด้วย 

และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ได้พลังงานจากอาหารเพียงพอ ไม่กินเค็ม พักผ่อนให้เพียงพอ และไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากโรคส่วนใหญ่ใช้เวลารักษานาน ผู้ป่วยจึงไม่ควรเพิ่ม ลด หยุดยา หรือซื้อยาไปกินเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้" อธิบดีกรมอนามัยกล่าว

 


กรมอนามัย ไขข้อข้องใจ แตงโมต้มน้ำตาล รักษาโรคไตได้หรือไม่?

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี อัมรินทร์TV


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!


Love Attack  เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน

Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้

Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์