อัพเดตกฎหมายทวงหนี้ ปี 2564 รวมเรื่องที่ เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ต้องรู้


อัพเดตกฎหมายทวงหนี้ ปี 2564 รวมเรื่องที่ เจ้าหนี้-ลูกหนี้ ต้องรู้


กฎหมายทวงหนี้ใหม่ 2564 (อัปเดตล่าสุด) ต้องทวงหนี้อย่างไรจึงจะไม่ผิดกฎหมาย?


การทวงหนี้ ไม่ได้หมายถึงการทวงหนี้ระหว่างบุคคลเท่านั้น แต่ยังรวมถึงหนี้อื่นๆ เช่น หนี้ธนาคาร หนี้บัตรเครดิต หนี้ผ่อนชำระรถยนต์ เงินกู้ ฯลฯ แม้กระทั่งการพนันก็ถือว่าเป็นหนี้รูปแบบหนึ่ง บ่อยครั้งที่เรามักเห็นข่าวการทวงหนี้ด้วยวิธีที่รุนแรงและไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราต้องการจะทวงหนี้ผู้อื่น และผู้อื่นจะมาทวงหนี้เรา จริงๆ แล้วจำเป็นต้องดำเนินไปตามหลักของกฎหมายทวงหนี้เพื่อไม่ให้ขัดต่อกฎหมาย โดยมีรายละเอียดต่างๆ ที่ควรรู้ไว้ ดังนี้

1. ความหมายของ "ลูกหนี้" และ "ผู้ทวงถามหนี้"

- ลูกหนี้ คือ ลูกหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกัน ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย

- ผู้ทวงถามหนี้ คือ เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นๆ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม

หมายเหตุ : ผู้ทวงถามหนี้ หรือเจ้าหนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเท่านั้น แต่ยังสามารถเป็นตัวแทนของนิติบุคคล ในนามของบริษัทสินเชื่อ, ประกัน, ธนาคาร และอื่นๆ ได้

2. ยืมเงินจำนวนเท่าไร จึงจะต้องทำหนังสือกู้ยืมเงิน?ยืมเงินตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป สามารถทำหนังสือสัญญากู้ยืมได้ โดยจะต้องมีการลงลายมือชื่อทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ ซึ่งหากผิดสัญญาชำระหนี้ ก็สามารถนำไปฟ้องร้องได้

3. ยืมเงินผ่านแชต ใช้เป็นหลักฐานฟ้องได้ไหม?การทักขอยืมเงินผ่านแชต หรือแชตไลน์ สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องร้องได้ แม้จะไม่ได้มีการทำหนังสือกู้ยืมเงิน เป็นลายลักษณ์อักษรก็ตาม

4. โทรศัพท์ไปทวงหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย ถือเป็นการทวงหนี้แล้วหรือยัง?

- หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่รับสาย หรือกดวางสายก่อนจะมีการพูดคุย = ไม่นับเป็นการทวงหนี้

- หากผู้ทวงถามหนี้โทรศัพท์ไปหาลูกหนี้ ลูกหนี้รับสาย แต่พูดคุยเรื่องอื่น ที่ไม่ใช่เรื่องการทวงหนี้ = ไม่นับเป็นการทวงหนี้

- หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท แต่ลูกหนี้ยังไม่เปิดอ่าน = ไม่นับเป็นการทวงหนี้

- หากผู้ทวงถามหนี้ทักไปสอบถามทางแชท ลูกหนี้เปิดอ่านข้อความ แต่ไม่ตอบ = ถือเป็นการทวงหนี้แล้ว

5. ทวงหนี้ได้วันละกี่ครั้ง?กฎหมายทวงหนี้ใหม่กำหนดให้เจ้าหนี้ สามารถทวงหนี้ได้ไม่เกินวันละ 1 ครั้ง หากฝ่าฝืนจะมีความผิด โดนโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ในกรณีที่เพื่อนยืมเงินเพื่อน ทวงเกินวันละ 1 ครั้ง ถือว่าไม่ผิด

6. "เวลาทวงถามหนี้" ควรทวงหนี้เวลาไหน จึงจะไม่ผิดกฎหมาย?- วันจันทร์-ศุกร์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00-20.00 น.

- วันหยุดราชการ หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลาทวงหนี้ตั้งแต่ 08.00-18.00 น.

- วันเสาร์-อาทิตย์ ห้ามทวงหนี้

หมายเหตุ : หากเจ้าหนี้ฝ่าฝืนเวลาทวงหนี้ มีโทษปรับ 100,000 บาท และต้องทวงหนี้กับลูกหนี้เท่านั้น ห้ามไปทวงกับคนอื่น มิฉะนั้นจะมีจำคุก 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

7. การทวงหนี้แบบใด ที่ห้ามทำโดยเด็ดขาด?

- ห้ามพูดจาดูหมิ่น

- ห้ามประจาน

- ห้ามข่มขู่

- ห้ามใช้ความรุนแรง

- ห้ามทำร้ายร่างกาย

- ห้ามทำลายทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เกิดความเสียหาย

- ห้ามเปิดเผยเรื่องหนี้ของลูกหนี้ ต่อผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง

- ห้ามส่งเอกสารเปิดผนึกทางไปรษณีย์ ที่แสดงให้เห็นว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน

8. หากทวงถามหนี้อย่างไม่เป็นธรรม มีโทษอย่างไร?

ถ้าทวงถามหนี้โดยไม่เป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ ฝ่ายลูกหนี้สามารถไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ และผู้ทวงถามหนี้จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1-5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000-500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายทวงหนี้ เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างมาก เพื่อที่เราจะได้ไม่ถูกทวงหนี้อย่างไม่เป็นธรรม หรือในกรณีที่เราเป็นเจ้าหนี้เสียเอง ก็จะได้รู้รายละเอียดเวลาทวงหนี้และข้อห้ามต่างๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้นับเป็นกฎหมายพื้นฐานในชีวิตประจำวันที่เราควรรู้ไว้

เครดิตแหล่งข้อมูล :: ธนาคารแห่งประเทศไทย, พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์