เฮ!!รัฐเยียวยา นายจ้าง-ลูกจ้าง ในระบบประกันสังคม
พระราชกฤษฎีกา ประกาศลดจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 เป็นระยะเวลา 6 เดือน เริ่ม ส.ค. 64 - ม.ค. 65
วันที่ 29 มิถุนายน 2564 นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกันตน ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ให้เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ (เดิม) เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน และมีผลบังคับใช้แล้ว โดยมีใจความในการลดเงินสมทบเป็นระยะเวลา 6 เดือน ในงวดเดือนสิงหาคม 2564 - มกราคม 2565 ให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่าย ในอัตรา 300 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่าการปรับลดอัตราเงินสมทบเป็นระยะเวลา 6 เดือนในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 นำส่งเงินสมทบลดลง 378 ล้านบาท ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตน และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และเป็นการสร้างหลักประกันให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จูงใจให้แรงงานภาคอิสระที่ยังไม่ได้รับ ความคุ้มครอง จากสำนักงานประกันสังคมให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น
จึงขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในการดำเนินงาน ของสำนักงานประกันสังคม ที่พร้อมดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แก่นายจ้าง และผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ให้มากที่สุด
ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาล ตามมติ ครม. วันนี้ (29 มิ.ย.) ได้เห็นชอบการดูแลทั้ง ลูกจ้างและนายจ้าง ทั้งที่อยู่ในระบบ และ นอกระบบประกันสังคม ภายใต้งบประมาณ 8.5 พันล้านบาท
รายละเอียดดังนี้
วันที่ 29 มิถุนายน 2564 นายทศพล กฤตวงศ์วิมาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประกันตน ซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ให้เหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบ (เดิม) เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน และมีผลบังคับใช้แล้ว โดยมีใจความในการลดเงินสมทบเป็นระยะเวลา 6 เดือน ในงวดเดือนสิงหาคม 2564 - มกราคม 2565 ให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก ดังนี้
ทางเลือกที่ 1 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน
ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากเดิมจ่าย ในอัตรา 300 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน
เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวต่อไปว่าการปรับลดอัตราเงินสมทบเป็นระยะเวลา 6 เดือนในครั้งนี้จะช่วยให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 นำส่งเงินสมทบลดลง 378 ล้านบาท ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตน และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และเป็นการสร้างหลักประกันให้กับผู้ประกันตนตามมาตรา 40 จูงใจให้แรงงานภาคอิสระที่ยังไม่ได้รับ ความคุ้มครอง จากสำนักงานประกันสังคมให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น
จึงขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจในการดำเนินงาน ของสำนักงานประกันสังคม ที่พร้อมดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และนายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่ให้ความสำคัญในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนในสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แก่นายจ้าง และผู้ประกันตน ในระบบประกันสังคมอย่างรวดเร็ว ทันท่วงที ให้มากที่สุด
ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาล ตามมติ ครม. วันนี้ (29 มิ.ย.) ได้เห็นชอบการดูแลทั้ง ลูกจ้างและนายจ้าง ทั้งที่อยู่ในระบบ และ นอกระบบประกันสังคม ภายใต้งบประมาณ 8.5 พันล้านบาท
รายละเอียดดังนี้
นายจ้าง/ลูกจ้าง ในระบบประกันสังคม
1. มาตรการที่ช่วยเหลือลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมจะได้รับการจ่ายเงินค่าจ้างให้ในสัดส่วน 50% ของค่าจ้างแต่ไม่เกิน 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน
2. มาตรการในการช่วยเหลือ ลูกจ้างในระบบประกันสังคม ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษอีก 2,000 บาท เนื่องจากลูกจ้างบางส่วนได้รับผลกระทบจากการหยุดงาน หรือบางธุรกิจอาจไม่จ่ายเงินเดือนให้ในช่วงนี้รัฐจึงให้เงินเป็นกรณีพิเศษเพื่อช่วยเหลือในช่วงเวลานี้
3. มาตรการในการช่วยเหลือนายจ้าง โดยนายจ้างจะได้รับเงินช่วยเหลือคนละ 3,000 บาทโดยเป็นการจ่ายรายหัวให้กับลูกจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการจริงแต่ไม่เกิน 200 คน กำหนดระยะเวลา 1 เดือนเครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น