4 รายละเอียดสำคัญที่ควรรู้ก่อนเริ่มเปรียบเทียบ dw


4 รายละเอียดสำคัญที่ควรรู้ก่อนเริ่มเปรียบเทียบ dw

ในปัจจุบันการลงทุนใน dwนับว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่หลายคนเริ่มหันมาให้ความสนใจ เพราะด้วยข้อดีของการลงทุนดังกล่าวที่ใช้เงินน้อยประกอบกับความคล่องตัวของ dwที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถทำกำไรได้ทั้งในช่วงที่หุ้นอ้างอิงปรับตัวขึ้นและลง ดังนั้นจึงตอบโจทย์อย่างมากกับการเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ให้กับผู้ที่สนใจเริ่มลงทุน



ถึงแม้ dwจะมีจุดเด่นที่น่าสนใจหลายประการ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการลงทุนใน dwก็เหมือนกับการลงทุนประเภทอื่นๆ ที่เราจะต้องให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจข้อมูลผ่านตารางเปรียบเทียบเพื่อให้เราสามารถวางแผนการลงทุนได้อย่างเป็นระบบไปพร้อมๆ กับการเพิ่มลดความเสี่ยงให้กับตัวเอง ว่าแต่สิ่งสำคัญที่เราควรรู้ก่อนเริ่มใช้งานตารางเปรียบเทียบ dwนั้นจะมีอะไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้ว รีบตามไปหาคำตอบกันด้านล่างนี้ได้เลย

รายละเอียดเบื้องต้นที่ควรทราบเกี่ยวกับ DW

สิ่งแรกที่เราควรทำความเข้าใจก่อนเริ่มใช้งานตารางเปรียบเทียบ dwคือการเข้าใจลักษณะพื้นฐานของการลงทุนประเภทดังกล่าว หากจะให้อธิบายแบบง่ายๆ dwหรือตราสารอนุพันธ์นั้นเป็นหุ้นประเภทหนึ่งที่การปรับตัวของราคาจะขึ้นอยู่กับหุ้นอ้างอิงหรือหุ้นแม่ โดยในปัจจุบันสามารถแบ่ง dwออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ Call dwหรือ dwที่ราคาจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อหุ้นแม่ปรับตัวสูงขึ้น และ Pull dwหรือ dwที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นเมื่อราคาหุ้นแม่ลดลง

การใช้เครื่องเมือเปรียบเทียบ

ปกติแล้วในตารางเปรียบเทียบ dwมักจะให้เราให้เราใส่ข้อมูลทั้งหมด 5 ข้อด้วยกัน ได้แก่

หลักทรัพย์อ้างอิง - เมื่อเราเข้าไปที่หน้าเครื่องมือเปรียบเทียบdwทางระบบจะให้เราเลือกหลักทรัพย์อ้างอิงของ dwที่เราสนใจ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วชื่อที่ปรากฏขึ้นมามักจะเป็นโค้ดย่อของหุ้นแม่หรือหุ้นอ้างอิงที่ประกอบไปด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษทั้งหมด 3-6 ตัวอักษร ยกตัวอย่าง เช่น BPP ย่อมาจาก Banpu Power, KBANK ย่อมาจาก Kasikorn bank หรือธนาคารกสิกร และ HMPRO ย่อมาจาก Homeproเป็นต้น

ประเภทของ DW
- สเต็ปถัดไปของการใช้งานเครื่องมือเปรียบทียบ dwได้แก่การเลือกประเภทของ dwที่เราต้องการจะศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม อาทิ Call dw, Pull dwหรือจะเลือกเปรียบเทียบทั้งสองประเภทก็ได้เช่นกัน

Moneyness - เนื่องจากการลงทุนมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงควรสังเกตให้ดีว่า dwที่เราต้องการเทรดนั้นอยู่ในสถานะไหน โดยเราสามารถแบ่งสถานะของ dwออกได้เป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ In-the-money (ITM), At-the-money (ATM) หรือ Out-of-the-money (OTM)

Effective gearing - Effective gearing หรืออัตราทดในภาษาไทยนั้นจะเป็นค่าที่บ่งบอกถึงความเปลี่ยนแปลงของราคา dwในกรณีที่หุ้นแม่ปรับตัว

อายุคงเหลือ
-เนื่องจาก dwเป็นหุ้นที่มีการกำหนดอายุ โดยเราสามารถแบ่งช่วงอายุของ dwได้เป็น 2 ช่วงด้วยกัน ได้แก่ dwอายุสั้นและ dwอายุยาว นอกจากจะต่างกันในเรื่องของอายุแล้ว dwทั้งสองประเภทนี้ต่างก็มีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันในแง่ของการลงทุน ซึ่ง dwอายุสั้นนั้นจะเหมาะกับการเทรดในระยะสั้น แต่ในขณะที่ dwอายุยาวจะเหมาะกับมือใหม่เพราะอัตราทดและค่าเสื่อมจะต่ำกว่า

จบไปแล้วกับรายละเอียดเบื้องต้นที่ควรรู้ก่อนเริ่มใช้งานตารางเปรียบเทียบ dwก่อนจากกันไปเราอยากจะขอพูดถึงประโยคสุดคลาสสิกในแวดวงการเทรดกันสักนิดว่าว่าทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นเราจึงอยากให้ทุกคนศึกษารายละเอียด และตัดสินใจให้ดีก่อนเริ่มลงทุน

4 รายละเอียดสำคัญที่ควรรู้ก่อนเริ่มเปรียบเทียบ dw

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์