ทำความรู้จัก โควิดกลายพันธุ์ เอปซีลอน เชื้อเเรง!! ต้านวัคซีน
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 ก.ค.ว่าแม้ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐ ( ซีดีซี ) ลดระดับ "ความรุนแรง" ของเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ "เอปซีลอน" หรือ "เอปไซลอน" ซึ่งพบครั้งแรกในรัฐแคลิฟอร์เนีย ออกจากบัญชี "สายพันธุ์น่าวิตกกังวล" ลงมาอยู่ที่ "สายพันธุ์น่าจับตา" เนื่องจากพบผู้ป่วยสายพันธุ์ดังกล่าวลดลงในรอบสัปดาห์ล่าสุด และหันไปเพิ่มการจับตากับสายพันธุ์ "เดลตา" ซึ่งพบครั้งแรกในอินเดีย และปัจจุบันแพร่กระจายไปแล้วในทั้ง 50 รัฐของอเมริกา
อย่างไรก็ตาม วารสาร "วิทยาศาสตร์" เผยแพร่ผลการศึกษาเบื้องต้น เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ ที่สหรัฐใช้เป็นวัคซีนหลัก คือวัคซีนของไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา ที่มีต่อเชื้อเอปซีลอน ปรากฏว่าประสิทธิภาพของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอลดลงโดยเฉลี่ย 2.5-3 เท่า จากการที่เชื้อเอปซีลอนมีการกลายพันธุ์ที่โปรตีนหนาม 3 ตำแหน่ง สำหรับเกาะกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์ ทำให้เชื้อตัวนี้สามารถ "ต้านทาน" แอนติบอดีที่ร่างกายกระตุ้นหลังได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ
อย่างไรก็ตาม วารสาร "วิทยาศาสตร์" เผยแพร่ผลการศึกษาเบื้องต้น เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ ที่สหรัฐใช้เป็นวัคซีนหลัก คือวัคซีนของไฟเซอร์/ไบโอเอ็นเทค และโมเดอร์นา ที่มีต่อเชื้อเอปซีลอน ปรากฏว่าประสิทธิภาพของวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอลดลงโดยเฉลี่ย 2.5-3 เท่า จากการที่เชื้อเอปซีลอนมีการกลายพันธุ์ที่โปรตีนหนาม 3 ตำแหน่ง สำหรับเกาะกับเซลล์ในร่างกายมนุษย์ ทำให้เชื้อตัวนี้สามารถ "ต้านทาน" แอนติบอดีที่ร่างกายกระตุ้นหลังได้รับวัคซีนเอ็มอาร์เอ็นเอ
ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นจากองค์การอนามัยโลก ( ดับเบิลยูเอชโอ ) ยืนยันการพบเชื้อเอปซีลอน B.1.427/B.1.429 ในอย่างน้อย 34 ประเทศ ส่วนเชื้อเดลตา B.16172 ซึ่งจัดเป็นสายพันธุ์น่าวิตกังวล พบแล้วในอย่างน้อย 92 ประเทศ
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น