ไขคำตอบ ต้มไข่นานเกินไป ก่อมะเร็งจริงหรือ?
จากกรณีมีการแชร์คลิปในโซเชียลระบุว่า "ต้มไข่" นานเกินไป จะกลายเป็น "ไข่พิษ" ได้ วันนี้ (6 ต.ค.2564) นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก "อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์" อธิบายกรณีดังนี้
นอกจากนี้อาจารย์เจษฎา ยังแนบเอาเนื้อหาของบทความเก่าที่เคยเขียนไว้ มารีโพสต์ให้อ่านกันด้วย ดังนี้ กรณีมีการแชร์คลิปรายการทีวีภาษาจีน ที่ทำการ "ต้มไข่" ด้วยเวลาต่างกัน แล้ว "ไข่" อันที่ต้มไปนานกว่า 10 นาทีนั้น พอผ่าออกมาพบว่าส่วน "ไข่แดง" เริ่มมีสีเขียวหุ้มทั้งหมด พิธีกรในรายการก็บอกว่า เป็นไข่ต้มที่อันตราย ก่อมะเร็งได้ ทำเอาคนตกใจกันใหญ่ เพราะหลายคนก็เคยเจอ เคยกินไข่แบบนี้
แต่อย่าตกใจ มันไม่ได้อันตรายแต่อย่างไร สีเขียวที่เห็นขึ้นเป็นชั้นรอบไข่แดงต้มนั้น ไม่ใช่ความผิดปรกติของไข่ แต่เกิดจากการที่เรา "ต้มไข่" นานเกินไป จนทำให้ธาตุซัลเฟอร์ (กำมะถัน) และไฮโดรเจนตามธรรมชาติในไข่ขาว ทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นไฮโดรเจนซัลไฟด์ขึ้น
แล้วไฮโดรเจนซัลไฟด์นี้ไปทำปฏิกิริยากับธาตุเหล็กตามธรรรมชาติในไข่แดง เกิดเป็นสารประกอบสีเขียวอมเทา ชื่อ เฟอรัสซัลไฟด์ (ferrous sulfide) หรืออีกชื่อคือ ไอรอนซัลไฟด์ (iron sulfide) ซึ่งไม่ใช่สารอันตราย หรือ ก่อมะเร็ง อย่างที่ว่าแต่อย่างใด
โดยวิธีการหลีกเลี่ยงการเกิดสารสีเขียวนี้ คือการ "ต้มไข่" ไม่ให้นานเกินไป และให้ไปแช่น้ำเย็นทันที จะหยุดการเกิดปฏิกิริยาได้
" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น