รู้จักโรคแพนิคที่ หนุ่ม กรรชัย เคยป่วยถึงขั้นไม่ออกจากบ้าน1ปี
โรคแพนิค คืออะไร?
อาการ
ผศ.พญ.สุทธิพร เจณณวาสิน ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวว่า
อาการของโรคแพนิกจะเกิดขึ้นได้ทันทีและตลอดเวลา โดยผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้
ใจสั่น , หัวใจเต้นแรง , อึดอัด , แน่นหน้าอก , หายใจไม่ทัน , หนาวสั่น , ตัวสั่น , วิงเวียนศีรษะ , รู้สึกชา หรือรู้สึกซ่า ๆ , ปากแห้ง , ร้อนวูบวาบ , รู้สึกหน้ามืด , ท้องไส้ปั่นป่วน , เหงื่อออก , เสียงก้องอยู่ในหู , กลัวเป็นบ้า
จนกระทั่งรู้สึกเหมือนจะควบคุมตัวเองไม่ได้ จากนั้นจะเริ่มรู้สึกกลัวเหมือนตัวเองกำลังจะตาย อาการจะค่อย ๆ รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จนเต็มที่และสงบลงในเวลาประมาณ 10 นาที บางรายอาจนานกว่านั้นแต่มักไม่เกิน 1 ชั่วโมง และจะเป็นซ้ำ ๆ โดยมีสิ่งกระตุ้นหรือไม่มีก็ได้
หากไม่ได้รับการรักษาและอธิบายให้เข้าใจ ตัวโรคจะไม่ทำให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิต แต่ผู้ป่วยจะทรมานจากอาการและดำเนินชีวิตประจำวันด้วยความวิตกกังวลตลอดเวลา เช่น ไม่กล้าอยู่คนเดียว ไม่กล้าไปไหนมาไหนคนเดียว หรือกลัวที่จะทำกิจกรรมบางอย่าง ไม่ว่าจะข้ามสะพานลอย ขึ้นลิฟต์ นอนในที่มืด ขับรถ และอาจพบภาวะอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้า
สาเหตุเป็นโรคแพนิค
สาเหตุของอาการแพนิก ผศ.พญ.สุทธิพรกล่าวว่ายังไม่ทราบแน่ชัดถึงสาเหตุที่แท้จริง แต่เชื่อว่ามีหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางร่างกายและทางจิตใจทางกาย อาจเกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่าอะมิกดาลาทำงานผิดปกติ ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลง การใช้สารเสพติด ทั้งมีโอกาสเกิดอาการจากการกระตุ้นทางกรรมพันธุ์ หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรควิตกกังวล
ทางจิตใจ เกิดจากพฤติกรรมหลายอย่างในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล พักผ่อนน้อย หรือเผชิญกับสภาวะกดดัน
อีกทั้งยังมีงานวิจัยยืนยันว่าคนที่เคยผ่านเหตุการณ์กระทบทางจิตใจอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือเสียสมดุลของสารเคมีในสมองได้ โดยเฉพาะในวัยเด็ก มีโอกาสเป็นโรคแพนิกได้มากกว่า เช่น ผิดหวังรุนแรง ถูกทอดทิ้ง ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน และสูญเสียสิ่งสำคัญ เป็นต้น
วิธีรักษา
เมื่อมีลักษณะอาการดังที่กล่าวมาข้างต้น และสงสัยว่าอาจเป็นโรคแพนิก สิ่งที่ต้องทำเป็นลำดับแรกคือการไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด ซึ่งมีวิธีการรักษา 2 วิธี คือ รับประทานยาอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปกับการบำบัดทางจิตใจ เมื่อผู้ป่วย "หายสนิท" คือไม่มีอาการเลย มักให้กินยาต่อไปอีก 8 - 12 เดือน เพื่อป้องกันการกลับมาของอาการวิธีการดูแลตนเอง หากเกิดอาการแพนิกเบื้องต้น
1. หายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ และบอกตัวเองว่าอาการไม่อันตราย แค่ทรมานแต่เดี๋ยวก็หาย
2. ฝึกมองโลกในแง่บวก รับมือกับความเครียด และให้กำลังใจตัวเองอยู่เสมอ
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อลดอาการง่วงเซื่องซึมระหว่างวัน
4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
5. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบถ้วน
6. งดหรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สารกาเฟอีน และเครื่องดื่มชูกำลังเพราะกระตุ้นให้เกิดอาการใจหวิวและใจสั่น
7. เข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง ไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด เนื่องจากผลิตภัณฑ์อาจมีส่วนประกอบที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพนิกได้ อย่างไรก็ตาม อาการแพนิกไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต แต่เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นและหายไปได้