นอนละเมอ ความผิดปกติที่ไม่ควรมองข้าม


นอนละเมอ ความผิดปกติที่ไม่ควรมองข้าม

  อาการนอนละเมอ ทั้งละเมอพูด ละเมอหัวเราะคิกคัก ละเมอเดิน หรือบางคนก็ละเมอเดินไปเดินมา ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้นอนละเมอ

อาจมองว่าเป็นผลข้างเคียงจากการความเหน็ดเหนื่อย อ่อนเพลียจากช่วงที่ต้องทำงาน แล้วเก็บมาฝันและนอนละเมอ แต่รู้หรือไม่ว่าทางการแพทย์มองว่า อาการดังกล่าวถือเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณภาพการนอน ไม่ค่อยดีนัก และอาจเป็นอันตรายกับตัวผู้นอนละเมอเอง

สำหรับการนอนละเมอ ในทางการแพทย์ แบ่งอาการละเมอออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่

1. ละเมอหลับฝัน REM Parasomnia - สมองยังทำงานอยู่

เกิดขึ้นขณะกำลังฝันอยู่ จึงเป็นได้ทุกแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในความฝัน ตั้งแต่ พูด เดิน ออกแอคชั่นต่างๆ พบได้ในผู้ใหญ่ และมักเกิดในช่วงใกล้เช้า ในผู้สูงอายุ อาจสัมพันธ์กับโรคทางสมอง ควรปรึกษาแพทย์

2. ละเมอหลับเงียบ Non REM Parasomnia - สมองไม่ได้ทำงานเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ

เกิดในช่วงหลับลึก หลังเข้านอนใหม่ๆไม่นานมาก มักพบในเด็ก อายุ 6-7 ปี มีอาการลุกขึ้นมานั่ง กรีดร้อง เมื่อตื่นขึ้นมาก็จำอะไรไม่ได้

3. ไม่ใช่ทั้ง หลับฝัน หรือหลับเงียบ

เช่น ละเมอพูด เกิดได้ทุกเพศทุกวัย และในทุกระยะการนอน สันนิษฐานว่าเกิดจากจิตใต้สำนึกตอนนอน

ส่วนปัจจัยกระตุ้นการละเมอได้แก่ พันธุกรรม สุขอนามัยตอนนอน การดื่มสุรา ความเครียด หรือการทานยาบางอย่าง ดังนั้นผู้ที่มีอาการละเมอ ควรจัดการสิ่งแวดล้อมในห้องนอนให้ปลอดภัย ถ้ามีอาการละเมอรุนแรงจนถึงขั้นมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต

วิธีการป้องกันการละเมอ สามารถทำได้โดยการส่งเสริมสุขนิสัยการนอนที่ดี ด้วยการ ารนอนหลับที่เพียงพอ เข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา เพื่อคุณภาพการนอนที่ดี ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการละเมอลง ทั้งนี้การรักษาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ของการนอนให้เหมาะกับการนอน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนและช่วยลดความเสี่ยงต่อการละเมอได้

เครดิตแหล่งข้อมูล : คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์