ชี้ช่องรวย! ถ่ายภาพ อัดคลิป ผู้ทำผิดวินัยจราจร


ชี้ช่องรวย! ถ่ายภาพ อัดคลิป ผู้ทำผิดวินัยจราจร

จากกรณีที่มีชายวัยเกษียณอายุรายหนึ่ง ออกมาเปิดเผยว่าตนได้ใช้เวลาว่างตระเวนถ่ายภาพและคลิปพฤติกรรมของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนน ที่กระทำผิดกฎจราจรตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วกรุงเทพมหานคร ทำมาเป็นเวลา 4 ปี โดยได้รางวัลเป็นสินบนนำจับรวมแล้วหลักล้านบาท และมีการพูดถึงกระแสอาชีพนี้กันในวงกว้าง นั้น

ทีมข่าวพีพีทีวี นิวมีเดีย ได้รวบรวมข้อมูล แนวทาง วิธีการ และขั้นตอนที่ประชาชนสามารถร่วมกำกับดูแล กวดขัน เป็นหูเป็นตาหากพบการกระทำผิดกฎจราจร ซึ่งเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมา กรมการขนส่งทางบกได้คลอดระเบียบกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้เป็นทางการตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ประชาชนสามารถส่งพฤติกรรมการกระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งจะได้รับส่วนแบ่งค่าปรับ 50% หลังหักเงินนำส่งรายได้แผ่นดินแล้ว

สำหรับช่องทางในการนำส่งหลักฐานที่เป็นข้อมูล ภาพถ่าย คลิป ประชาชนสามารถนำส่งได้ 2 ช่องทาง ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของการกระทำความผิดเมื่อพบเจอ และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ดังนี้

ชี้ช่องรวย! ถ่ายภาพ อัดคลิป ผู้ทำผิดวินัยจราจร

1. กรมการขนส่งทางบก : หากประชาชนพบเจอหรือได้รับความเดือดร้อนจากการใช้บริการรถสาธารณะร่วม ที่กระทำผิดตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ครอบคลุมการกระทำผิดของรถโดยสารสาธารณะประเภทต่าง ๆ ทุกประเภท ให้ส่งเรื่องไปที่ กรมการขนส่งทางบก จะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ เป็นไปตามระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจ่ายสินบนรางวัลและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562

ให้ผู้รับแจ้งความนำจับจัดให้มีการบันทึกข้อมูลบันทึกการรับแจ้งความนำจับ ลงลายมือชื่อ (แบบ ขส.นจ.1) และในแบบคำขอรับเงินสินบน (แบบ ขส.นจ.2) ซึ่งค่าปรับที่ได้รับให้หักเป็นรายได้แผ่นดินร้อยละ 20 ในกรณีมีการจับกุมผู้กระทำความผิด และร้อยละ 40 ในกรณีไม่มีการจับกุมผู้กระทำความผิด ภายหลังจากที่ได้หักเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว ให้จ่ายในอัตรา ดังนี้

(1) จำนวน 3 ใน 4 ส่วน ให้นำไปจ่ายเป็นเงินสินบน 2 ส่วนและเงินรางวัล 1 ส่วน ในกรณีที่ไม่ต้องจ่ายเงินสินบน ให้รวมจ่ายเป็นเงินรางวัลทั้ง 3 ส่วน

(2) จำนวนที่เหลืออีก 1 ส่วน ให้นำไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ค่าปรับที่หักเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ให้นำฝากเข้าบัญชีเงินฝากกองทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกรมการขนส่งทางบก ส่วนค่าปรับที่หักเป็นเงินสินบนหรือเงินรางวัล ให้นำฝากเข้าบัญชีเงินฝากสินบนรางวัล ของกรมการขนส่งทางบก หรือสำนักงานขนส่งจังหวัด แล้วแต่กรณี

ในกรณีมีการแจ้งความนำจับ เมื่อมีการเปรียบเทียบปรับแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ผู้จับดำเนินการยื่นคำขอรับเงินสินบน (แบบ ขส.นจ.2) พร้อมด้วยบันทึกการรับแจ้งความนำจับ (แบบ ขส.นจ.1) และสำเนาบัญชีรายละเอียดเงินค่าปรับ (แบบ ขส.นจ.3) เป็นหลักฐานต่อผู้รับรองผลคดีเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเสนอผู้สั่งจ่ายเงินสินบน และเงินรางวัลเพื่อให้มีการอนุมัติจ่ายเงินสินบนโดยเร็วต่อไป และ ผู้แจ้งความนำจับต้องมารับเงินสินบนภายในกำหนดระยะเวลาที่ได้รับแจ้งหากพ้นกำหนดให้นำเงินดังกล่าวส่งเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป

ชี้ช่องรวย! ถ่ายภาพ อัดคลิป ผู้ทำผิดวินัยจราจร

ทั้งนี้ ในส่วนอัตราค่าปรับนั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจ องค์ประกอบของพฤติการณ์และความรุนแรง การกระทำความผิดซ้ำซาก และความผิดนั้นส่งผลกระทบสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน

ช่องทางในการติดต่อ เมื่อรวบรวมหลักฐานครบถ้วนแล้ว สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่

(1) สายด่วน 1584, Line@ : @1584DLT

(2) เพจเฟซบุ๊ก 1584 ร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะ

(3) เว็บไซต์กรมการขนส่งทงบก http://ins.dlt.go.th/cmpweb/

(4) อีเมล : dlt_1584complain@hotmail.com

(5) เดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองที่กรมการขนส่งทางบก

(6) ร้องเรียนผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ "GECC 1111 ทำเนียบรัฐบาล"

 และ(7) ร้องเรียนผ่าน "GECC กรมการขนส่งทางบก"

ชี้ช่องรวย! ถ่ายภาพ อัดคลิป ผู้ทำผิดวินัยจราจร

2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ : หากประชาชนพบเจอรถจักรยานยนต์ทำผิดกฎหมาย ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 สามารถส่งภาพคลิปเพื่อส่งไปให้ท้องที่รับผิดชอบไปดำเนินการ ผ่าน 5 ช่องทาง ได้แก่

(1) เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์โซเชียลมีเดีย ศปก.ตร. https://www.facebook.com/SocialMediaRoyalThaiPolice/

(2) เว็บไซต์ JS100 Radio https://www.facebook.com/js100radio/

(3) เพจเฟซบุ๊ก FM91 Trafficpro (91) https://www.facebook.com/fm91trafficpro/

(4) เพจเฟซบุ๊ก อาสาตาจราจร https://bit.ly/3Hj9X5p และ

(5) โพสต์คลิปลงทางโซเชียลมีเดีย หากทางเจ้าหน้าที่ไปพบจะนำมาดำเนินการประเมินเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม เจ้าของคลิปมีโอกาสลุ้นเงินสูงสุดถึง 2 หมื่นบาท รางวัลที่ 2 : 10,000 บาท รางวัลที่ 3 : 6,000 บาท และรางวัลอื่น ๆ ลดหลั่นกันไป เดือนละ 10 รางวัล รวมเป็นเงิน 5 หมื่นบาท ซึ่งบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มข้น ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป สอบถามเพิ่มเติม โทร. 1197


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์