ความรุนแรงของสายพันธุ์ โอมิครอน


ความรุนแรงของสายพันธุ์ โอมิครอน

กรมควบคุมโรค เปิดข้อมูลความรุนแรงของสายพันธุ์ "โอมิครอน" (Omicron) หรือ B.1.1.529 ซึ่งพบแล้วในเมืองไทย 1 รายเป็น นทท.จากสเปน และผู้สัมผัสใกล้ชิดอีก 1 ราย

จากการแพร่ระบาดของ สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งมีจุดเริ่มต้นจากแอฟริกาใต้ และกำลังระบาดไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะยุโรปที่ประเมินกันว่าจะกลายเป็นสายพันธุ์หลักมาแทนที่สายพันธุ์เดลตาในไม่ช้า

สำหรับ สายพันธุ์โอมิครอน ตามข้อมูลจาก นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า สายพันธุ์โอมิครอนจะแพร่เร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 2-5 เท่า ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อยคล้ายไข้หวัดใหญ่ แยกยากจากสายพันธุ์อื่น ผู้ติดเชื้อในต่างประเทศส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

ความรุนแรงของสายพันธุ์ โอมิครอน

สำหรับความรุนแรงของ สายพันธุ์โอมิครอน

อาการ เบื้องต้นไม่พบความแตกต่างมีบางรายระบุว่ามีอาการปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไม่สูญเสียการรับกลิ่น/รส และมีอาการไม่รุนแรง

การแพร่ระบาด คาดว่าจะเพิ่มขึ้นแทนที่สายพันธุ์เดลตา ในแอฟริกาใต้ ซึ่งมีการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และคาดว่าจะกลายมาเป็นสายพันธุ์หลักในอีกหลายประเทศ เช่น ในยุโรป

อำนาจการแพร่ระบาด หรือ reproductive number คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าการกลายพันธุ์อื่น เบื้องต้นแพร่ระบาดเร็วกว่าสายพันธุ์ที่ผ่านมา 2-5 เท่า

ผลต่อภูมิคุ้มกัน อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้อย่างมีนัยยะสำคัญ และพบโอกาสติดเชื้อซ้ำได้สูง

ความรุนแรงของสายพันธุ์ โอมิครอน

อย่างไรก็ตาม มาตรการป้องกันและกาควบคุมโควิด-19 ทุกสายพันธุ์รวมถึงสายพันธุ์โอมิครอน นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ยังต้องใช้มาตรการอื่นร่วมด้วย ทั้งมาตรการป้องกันโรคส่วนบุคคล เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง การใช้มาตรการ VUCA และ COVID Free Setting และการตรวจ ATK

เมื่อมีความเสี่ยง โดยกรมควบคุมโรคจะยกระดับการเฝ้าระวัง ณ ช่องทางเข้าออกระหว่างประเทศและสถานที่ท่องเที่ยว ทำการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ปวยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน (คลัสเตอร์) โดยกรณีป่วยไข้หวัดเป็นกลุ่มก้อนจะสอบสวนให้ละเอียด จากนั้นรายที่มีข้อสงสัยจะส่งตรวจหาสายพันธุ์โอมิครอนต่อไปทันที

การติดต่อของสายพันธุ์โอมิครอนเหมือนกับสายพันธุ์อื่นๆ คือ ผ่านละอองฝอยเป็นหลัก ส่วนการติดต่อผ่านทางอากาศพบได้น้อยมากในบางกรณี เช่น ห้องอับทึบ ห้องที่มีการแพร่กระจายเชื้อสูงเท่านั้น โดยวัคซีนทุกชนิดรวมถึงที่ไทยใช้ไม่สามารถป้องกันติดเชื้อได้ 100% แต่ยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อที่ 50-80% ป้องกันป่วยหนักและเสียชีวิตมากถึง 90% ขึ้นไป

ความรุนแรงของสายพันธุ์ โอมิครอน

ด้าน นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า สายพันธุ์โอมิครอนพบแล้วใน 54 ประเทศทั่วโลก เป็นการติดเชื้อในประเทศ 19 ประเทศ และติดเชื้อเฉพาะผู้เดินทางเท่านั้น 35 ประเทศ ส่วนสถานการณ์ของประเทศแอฟริกาใต้ ต้นทางการระบาดของ สายพันธุ์โอมิครอน จำนวนผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตยังคงทรงตัว

ขณะที่วัคซีนที่อาจมีประสิทธิภาพสูงสูดในการป้องกันโอมิครอน ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามข้อมูลจากแต่ละบริษัทที่ผลิตวัคซีน ขณะที่วัคซีนที่มีอยู่ในปัจจุบันยังมีประสิทธิภาพ สามารถลดอาการป่วยหนัก และลดการเสียชีวิตได้อยู่


เครดิตแหล่งข้อมูล : www.pptvhd36.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์