ไวรัสลูกผสม เดลต้า-ไอมิครอน ที่อังกฤษของจริง แต่ระบุไม่ได้ว่าน่ากล้วแค่ไหน


ไวรัสลูกผสม เดลต้า-ไอมิครอน ที่อังกฤษของจริง แต่ระบุไม่ได้ว่าน่ากล้วแค่ไหน

เมื่อวันที่ 13 ก.พ. 65 ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ไบโอเทค สวทช. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana เกี่ยวกับไวรัสลูกผสม โดยระบุว่า

ไวรัสลูกผสมระหว่างเดลต้าและโอมิครอนที่หลายๆคนไปเรียกว่า Deltacron กำลังเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงในอังกฤษครับ หลังจากที่ข้อมูลจากหน่วยงานของรัฐ UKSHA ออกมาระบุว่ามีไวรัสสายพันธุ์ที่เข้าข่ายลักษณะนี้ตรวจพบในประเทศ

ก่อนหน้านี้มีการพูดถึงไวรัสลูกผสมในประเทศไซปรัส แต่ผลการตรวจสอบเชิงลึกพบว่าเป็นการปนเปื้อนของสารพันธุกรรมไวรัสมากกว่า แต่คราวนี้แตกต่างครับ เพราะเท่าที่ติดตามความเห็นจากนักวิจัยใน UK ดูเหมือนว่าจะเป็นไวรัสลูกผสมของจริง ที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ติดทั้งเดลต้า และ โอมิครอน

น่ากลัวขนาดไหน? ข้อมูลยังไม่ชัดมากครับ แต่เท่าที่อ่านมาทางความเห็นของนักวิจัยที่เห็นข้อมูลระบุ บอกว่าเป็นไวรัสที่มียีนส่วนด้านหน้าที่เรียกว่า ORF1ab มาจากเดลต้า และส่วนด้านหลังซึ่งรวมหนามสไปค์ ไปจนถึงนิวคลีโอแคปซิดที่ใช้ตรวจ ATK มาจากโอมิครอน ประเด็นคือ เดลต้ามีการเปลี่ยนแปลงที่ ORF1ab ไม่มาก โดยเฉพาะตำแหน่งที่เชื่อว่าทำให้ไวรัสดุขึ้นอย่างการเปลี่ยนแปลงของโปรตีน Nsp6 ซึ่งอยู่ในส่วนของ ORF1ab เช่นกัน ดังนั้นการไปเอา ORF1ab ของเดลต้าเข้ามาแทนของเดิมอาจไม่ทำให้โอมิครอนลูกผสมนี้เปลี่ยนไปในทางน่ากังวลมากนัก ทั้งนี้ต้องดูว่าการกระจายของไวรัสลูกผสมจะเป็นอย่างไรถ้าไม่ได้ดีกว่าตัวพ่อแม่ ธรรมชาติก็จะจัดการตัวเองไปครับ

ไวรัสลูกผสมเกิดได้ตามธรรมชาติครับ จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่อย่างไรต้องติดตามดูข้อมูล การคิดไปก่อนข้อเท็จจริงว่ามันจะดุ จะอันตรายขึ้นไม่มีประโยชน์ครับ


เครดิตแหล่งข้อมูล : FB Anan Jongkaewwattana


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์