3 เทคนิคการแก้ปัญหางานฉีดพลาสติกที่พบได้บ่อยแบบครอบคลุม


3 เทคนิคการแก้ปัญหางานฉีดพลาสติกที่พบได้บ่อยแบบครอบคลุม


 ทุกงานผลิตต่างก็ต้องมีปัญหาเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในอุตสาหกรรมประเภทใดก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกเองก็เช่นกัน โดยปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ มักจะเกิดจากเทคนิคการฉีดพลาสติกที่ผิดพลาด ไม่เหมาะสม และสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ในวงการผลิตพลาสติกที่กำลังเจอปัญหาเหล่านี้ เรามีเทคนิคการแก้ปัญหางานฉีดพลาสติกดี ๆ แบบครอบคลุมครบทุกความผิดพลาดมาฝากกัน



3 เทคนิคการแก้ปัญหางานฉีดพลาสติกที่พบได้บ่อยแบบครอบคลุม

เทคนิคการแก้ปัญหางานฉีดพลาสติก

วิธีแก้ปัญหางานฉีดพลาสติกที่ดี ต้องรู้ถึงสาเหตุการเกิดของปัญหาความไม่สมบูรณ์ของชิ้นงานที่กำลังพบเจอ เพื่อรู้ถึงแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม โดยสาเหตุพร้อมวิธีแก้ไขของแต่ละปัญหาทั้งหมด มีดังนี้


  • ขนาดของชิ้นงานคลาดเคลื่อน

สาเหตุ: การใช้ความเร็วในกระบวนการฉีดพลาสติกและความดันย้ำต่ำเกินไป รวมไปถึงปัจจัยเรื่องเวลาที่ใช้ย้ำค่อนข้างสั้น ไม่เหมาะสม จึงทำให้พลาสติกเหลวที่อยู่ในระหว่างการฉีดเย็นตัวลง เริ่มมีความหนืดสูงขึ้น ส่งผลให้ไม่เกิดความดันที่เพียงพอต่อการอัดเนื้อพลาสติกให้แน่นเต็มแม่พิมพ์ ในที่สุดก็กลายเป็นผลงานที่ได้ ไม่ได้มีขนาดตามที่ต้องการ

วิธีการแก้ไข:สำหรับการแก้ปัญหางานฉีดพลาสติกแล้วขนาดคลาดเคลื่อน สามารถทำได้ง่าย ๆ แค่ใช้ความดันย้ำให้สูงกว่าเดิม เพื่อให้เเนื้อพลาสติกมีความหนาแน่นเพียงพอ เพิ่มเวลาย้ำชดเชยพลาสติกหดตัว รวมไปถึงเพิ่มความดันการฉีดพลาสติกเหลวให้เต็มแม่พิมพ์อย่างสมบูรณ์
ใช้ความดันย้ำให้สูงขึ้นเพื่อช่วยให้เนื้อพลาสติกแน่นพอ เพิ่มเวลาในการย้ำเพื่อชดเชยการหดตัว และเพิ่มความดันในการฉีดพลาสติก เพื่อให้พลาสติกเหลวเต็มแม่พิมพ์


  • เกิดร่องรอยการไหลของพลาสติก

สาเหตุ: เกิดจากการใช้ความเร็วในการฉีดพลาสติกต่ำเกินไป จนส่งผลให้พลาสติกเย็นตัวลง และเกิดความหนืด ทำให้ไหลเข้าสู่แม่พิมพ์ได้ไม่สะดวก จนกลายเป็นคลื่นคล้ายร่องรอยการไหลของพลาสติกที่ปรากฏบนพื้นผิวชิ้นงานได้

วิธีการแก้ไข:สำหรับการแก้ปัญหางานฉีดพลาสติกที่เป็นร่องรอยการไหลนั้น สามารถทำได้โดยการเพิ่มอุณหภูมิของแม่พิมพ์และอุณหภูมิของพลาสติกเหลวก่อนทำการฉีด เพื่อให้เกิดความคล่องตัวระหว่างกระบวนการฉีดพลาสติก พร้อมเพิ่มความเร็วให้มากขึ้น


  • เกิดรอยไหม้บนชิ้นงาน

สาเหตุ: สาเหตุการเกิดมักมาจากความร้อนที่อยู่ในแม่พิมพ์หนีออกไปไม่ทัน จึงทำให้เกิดการไหลของพลาสติกเหลวเข้าไปในแม่พิมพ์ จนกลายเป็นรอยไหม้บนชิ้นงาน

วิธีการแก้ไข:สำหรับการแก้ปัญหางานฉีดพลาสติกที่เป็นรอยไหม้บนชิ้นงานนั้นแก้ได้โดยการลดความเร็วของการฉีดพลาสติกลงให้เหมาะสม เพื่อให้อากาศหนีออกจากแม่พิมพ์ได้ทัน ทั้งนี้ เพื่อลดปริมาณและอุณหภูมิของอากาศลง ผ่านการลดอุณหภูมิพลาสติกเหลวนั้นเอง


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์