เปิดวิธีเอาตัวรอด เมื่อประสบเหตุ ตกน้ำ-เรือล่ม


เปิดวิธีเอาตัวรอด เมื่อประสบเหตุ ตกน้ำ-เรือล่ม

เปิดวิธีปฏิบัติเมื่อตกน้ำ-เรือล่ม ปลดของถ่วงตัว ออกห่างตัวเรือ ผู้เห็นเหตุการณ์ต้องตะโกนบอกทันที

การเดินทางทางน้ำ นับเป็นอีกหนึ่งการสัญจรที่ได้รับความนิยมไม่แพ้การเดินทางทางบกและอากาศ ทว่าไม่ว่าจะเดินทางสัญจรบนยวดยานพาหนะใดก็ควร "ไม่ประมาท" และควรศึกษาวิธีการปฏิบัติตัวตลอดจนวิธีรับมือเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน

ดังเช่นในกรณีที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคมในขณะนี้ กับการหายตัวไปของดาราสาว "แตงโม นิดา" หลังลงเรือไปกับเพื่อนๆ และยังคงไม่ทราบสาเหตุ ทว่ากลับมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นาๆ ถึงสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับดาราสาว รวมไปถึงความเป็นไปได้ที่เธอจะพลัดตกน้ำ

ด้าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยแพร่บทความ "เรียนรู้วิธีโดยสารเรืออย่างปลอดภัย" ผ่านเว็บไซต์เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557 อ้างถึง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะวิธีโดยสารเรืออย่างปลอดภัย ไม่ยืนรอเรือใกล้ขอบท่าเรือมากเกินไป รอให้เรือจอดเทียบท่าให้เรียบร้อยก่อนจึงขึ้นหรือลงเรืออย่างเป็นระเบียบ รวมถึงกระจายการนั่งให้เรือเกิดความสมดุล และสวมเสื้อชูชีพไว้ตลอดเวลาที่โดยสารเรือ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยทางน้ำนายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า อุบัติภัยทางน้ำ โดยเฉพาะเรือโดยสารล่ม มักเกิดจากความประมาท และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย ขอแนะวิธีโดยสารเรืออย่างปลอดภัย ดังนี้ การรอเรือ ให้ยืนรอบนฝั่งหรือท่าเทียบเรือที่ปลอดภัย ไม่ยืนรอบนโป๊ะ เพราะโป๊ะรับน้ำหนักได้จำกัด หากมีคนจำนวนมาก โซ่หรือเชือกยึดเหนี่ยวโป๊ะกับหลักอาจขาด ทำให้โป๊ะพลิกคว่ำได้ รวมถึงไม่ยืนใกล้ขอบท่าเรือมากเกินไป เพราะขณะที่เรือจอดเทียบท่าหรือมีเรือแล่นไปมา คลื่นอาจซัดทำให้ท่าเรือโคลงเคลงจนเสียการทรงตัว ตลอดจนไม่หยอกล้อเล่นกันระหว่างรอเรือ เพราะอาจพลัดตกน้ำได้การขึ้น - ลงเรือ ควรรอให้เรือจอดเทียบท่าให้เรียบร้อยก่อนจึงขึ้นหรือลงเรืออย่างเป็นระเบียบ

การขึ้น - ลงเรือ ควรรอให้เรือจอดเทียบท่าให้เรียบร้อยก่อนจึงขึ้นหรือลงเรืออย่างเป็นระเบียบ
ห้ามกระโดดขึ้น - ลงเรืออย่างเด็ดขาด เพราะอาจก้าวเท้าพลาด หรือลื่นล้มพลัดตกน้ำได้ เมื่อเรือเข้าเทียบท่าแล้วให้ทยอยกันขึ้น อย่าลุกขึ้นยืนพร้อมกัน เพื่อมิให้เรือรับน้ำหนักไปด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป ส่งผลให้เรือพลิกคว่ำได้

หากเรือมีคนจำนวนมากหรือน้ำหนักบรรทุกตามที่กำหนดแล้ว ควรใช้บริการเรือลำอื่นแทน การโดยสารเรือเมื่อลงเรือแล้วให้เข้าไปนั่งประจำที่ในตัวเรือ ไม่เปลี่ยนที่นั่งไปมา กระจายการนั่งให้เรือเกิดความสมดุล โดยคำนึงถึงการทรงตัวของเรือเป็นหลัก ไม่ยืนบริเวณท้ายเรือ ไม่นั่งบนกราบเรือหรือหลังคาเรือ ไม่นั่งรวมกลุ่มหรือหยอกล้อเล่นกันบริเวณข้างใดข้างหนึ่งของเรือ เพื่อป้องกันเรือล่มหรือพลัดตกน้ำ

กรณี โดยสารเรือขนาดเล็ก ไม่ควรขยับตัวหรือเปลี่ยนที่นั่งบ่อยครั้ง เพราะจะทำให้เรือเสียสมดุลและเสี่ยงต่อการล่มได้ ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่มีน้ำหนักเบา ถอดออกได้ง่าย หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าหุ้มส้นหรือชนิดผูกเชือก หากจำเป็นต้องลงเรือ ควรแก้เชือกรองเท้าให้หลวม หรือถอดรองเท้าออกก่อน

ที่สำคัญ ควรสวมเสื้อชูชีพไว้ตลอดเวลาที่โดยสารเรือจนถึงที่หมายค่อยถอดเสื้อชูชีพออก แม้จะว่ายน้ำเป็นก็ตาม หากเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถลอยตัวรอการช่วยเหลือได้อย่างปลอดภัย

รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขณะโดยสารเรือ เพราะจะทำให้ขาดสติ หากเกิดเหตุฉุกเฉิน จะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ การเรียนรู้วิธีโดยสารเรืออย่างปลอดภัย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยทางน้ำ



เปิดวิธีเอาตัวรอด เมื่อประสบเหตุ ตกน้ำ-เรือล่ม

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
คุณ : เมื่อไรจะจบ
สถานะ : บุคคลทั่วไป
IP : 58.11.84.217

58.11.84.217,,ppp-58-11-84-217.revip2.asianet.co.th ความคิดเห็นที่ 1 [อ้างอิง]
ชูชีพข้อมือครับ ลาซาด้ามีขาย จบเลยดึงสลักพองทันที


[ วันจันทร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 19:35 น. ]
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์