WHO ยืนยันโควิดเดลตาครอน มีจริง พบแล้วใน 4 ประเทศ
ดร.วรัชญ์ ครุจิตต์ รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และที่ปรึกษาด้านการสื่อสารศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวระบุถึงโควิดกลายพันธุ์ เดลตาครอน
โดยระบุว่า สรุปว่า Deltacron เป็นสายพันธุ์ใหม่จริงๆ องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงข่าวยืนยันแล้ว แต่ยังบอกว่าไม่พบว่ารุนแรงหรือแพร่กระจายง่ายกว่าเดิม
ทางด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผอ.กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ให้ข้อคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงไวรัสลูกผสมเดลตา+โอมิครอน หรือเดลตาครอน จริงๆ มีเกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ม.ค.65 เป็นช่วงที่เดลตายังไม่ลดลงมากและโอมิครอนกำลังขึ้น ซึ่งคนที่ติด 2 สายพันธุ์พร้อมกันจึงมีอยู่มากพอสมควร สายพันธุ์ที่เป็นข่าวคือ สายพันธุ์ที่ตรวจพบในฝรั่งเศส และ ทีมวิจัยของ WHO ออกมายอมรับว่าเป็นไวรัสลูกผสมของจริง ไม่ใช่การปนเปื้อนของสิ่งส่งตรวจ
ไวรัสชนิดนี้มีส่วนด้านหน้าที่เป็นโปรตีนสำหรับเพิ่มจำนวนไวรัสเป็นของเดลตา (AY.4) และ โปรตีนหนามสไปค์มาจากโอมิครอน (BA.1) นอกจากนี้ ดูเหมือนจะพบไวรัสลักษณะคล้ายๆกันในเดนมาร์ก และ เนเธอแลนด์ ยังไม่ชัดว่าเป็นไวรัสลูกผสมจากแหล่งเดียวกันแล้วแพร่กระจายข้ามประเทศ หรือ เป็นไวรัสคนละสายพันธุ์ที่เกิดด้วยกลไกการแลกเปลี่ยนสายพันธุ์แบบใกล้เคียงกัน
ไวรัสชนิดนี้ยังไม่มีข้อมูลใดๆเรื่องความรุนแรง หรือ คุณสมบัติที่โดดเด่นจนต้องจับตามอง เพราะพบมา 3 เดือนแล้วก็ไม่ได้มีอะไรที่โดดเด่นขึ้นมา เนื่องจากเดลตาลดน้อยลงมาก การเกิดไวรัสแบบนี้คงพบได้ยากขึ้น ที่จะพบกันตอนนี้จะเป็น BA.1กับ BA.2 มากกว่า ที่พบร่วมกันอยู่อย่างมากมายในประชากรมนุษย์
โดยระบุว่า สรุปว่า Deltacron เป็นสายพันธุ์ใหม่จริงๆ องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกแถลงข่าวยืนยันแล้ว แต่ยังบอกว่าไม่พบว่ารุนแรงหรือแพร่กระจายง่ายกว่าเดิม
ทางด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผอ.กลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ให้ข้อคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุถึงไวรัสลูกผสมเดลตา+โอมิครอน หรือเดลตาครอน จริงๆ มีเกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ม.ค.65 เป็นช่วงที่เดลตายังไม่ลดลงมากและโอมิครอนกำลังขึ้น ซึ่งคนที่ติด 2 สายพันธุ์พร้อมกันจึงมีอยู่มากพอสมควร สายพันธุ์ที่เป็นข่าวคือ สายพันธุ์ที่ตรวจพบในฝรั่งเศส และ ทีมวิจัยของ WHO ออกมายอมรับว่าเป็นไวรัสลูกผสมของจริง ไม่ใช่การปนเปื้อนของสิ่งส่งตรวจ
ไวรัสชนิดนี้มีส่วนด้านหน้าที่เป็นโปรตีนสำหรับเพิ่มจำนวนไวรัสเป็นของเดลตา (AY.4) และ โปรตีนหนามสไปค์มาจากโอมิครอน (BA.1) นอกจากนี้ ดูเหมือนจะพบไวรัสลักษณะคล้ายๆกันในเดนมาร์ก และ เนเธอแลนด์ ยังไม่ชัดว่าเป็นไวรัสลูกผสมจากแหล่งเดียวกันแล้วแพร่กระจายข้ามประเทศ หรือ เป็นไวรัสคนละสายพันธุ์ที่เกิดด้วยกลไกการแลกเปลี่ยนสายพันธุ์แบบใกล้เคียงกัน
ไวรัสชนิดนี้ยังไม่มีข้อมูลใดๆเรื่องความรุนแรง หรือ คุณสมบัติที่โดดเด่นจนต้องจับตามอง เพราะพบมา 3 เดือนแล้วก็ไม่ได้มีอะไรที่โดดเด่นขึ้นมา เนื่องจากเดลตาลดน้อยลงมาก การเกิดไวรัสแบบนี้คงพบได้ยากขึ้น ที่จะพบกันตอนนี้จะเป็น BA.1กับ BA.2 มากกว่า ที่พบร่วมกันอยู่อย่างมากมายในประชากรมนุษย์
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!" ประกาศ "
ร่วมแสดงความคิดเห็น