รู้จักภาวะเสียการสื่อภาษา (Aphasia) ที่บรูซ วิลลิส จำต้องลาวงการบันเทิง
อาการของ Aphasia
อาการจะแตกต่างไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับบริเวณที่สมองได้รับความเสียหายและระดับความรุนแรงของความเสียหาย ภาวะนี้ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาต่อการพูด การทำความเข้าใจ การอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการรับสาร เช่น พูดได้แค่ประโยคสั้น ๆ หรือพูดไม่จบประโยค ไม่สามารถเรียบเรียงประโยคในการพูดหรือการเขียนให้ผู้ฟังเข้าใจได้ ใช้คำไม่เหมาะสม เลือกใช้คำหนึ่งแทนที่อีกคำ พูดคำที่ไม่มีความหมาย หรือไม่เข้าใจในบทสนทนาของผู้อื่น พูดไม่ได้ เป็นต้น
Aphasia สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ คือ
1.ชนิดที่มีปัญหาด้านการรับรู้ทางภาษาเป็นปัญหานำ (receptive aphasia, sensory aphasia หรือ Wernicke's aphasia) พยาธิสภาพของสมองอยู่ที่ส่วนกลางของสมองส่วนหน้า (Wernicker' s area) ผู้ป่วยจะมีความบกพร่องด้านการฟังและการอ่านเป็นหลัก โดยมักจะพูดได้คล่องและชัดเจน แต่ไม่เข้าใจคำพูดของตัวเอง หรือไม่รู้ว่าตัวเองพูดผิดแต่บางรายอาจมีการสร้างคำพูดใหม่ ๆ ขึ้นมาเองได้อาจสรุปปัญหาด้านการรับรู้ทางภาษาในผู้ป่วยประเภทนี้ได้ดังนี้
ก. ปัญหาในการฟังเข้าใจคำพูด
ข. ปัญหาในการอ่านหนังสือ
ค. ปัญหาในการพูดตาม
ก. พูดไม่ชัดอาจจะพูดไม่ชัดแบบ apraxia หรือ dysarthria ร่วมด้วย แล้วแต่ความรุนแรงและตำแหน่งของพยาธิสภาพ
ข. พูดเฉพาะคำสำคัญของประโยค
ค. พูดไม่คล่องตะกุกตะกัก หยุดพูดระหว่างคำบ่อยและนานกว่าปกติเพราะต้องหยุดนึกหาคำพูด
ง. พูดใช้เสียงหนึ่งแทนเสียงหนึ่งหรือใช้คำหนึ่งแทนอีกคำหนึ่งโดยไม่รู้ตัว
จ. ปัญหาในการพูดตาม
ฉ. ปัญหาในการคิดคำนวณหรือการนับเงินตรา
ช. ปัญหาในการพูดสิ่งที่เรียงลำดับ
ซ. ปัญหาในการนึกคิดหาคำพูดหรือคำศัพท์ต่างๆ
ผู้ป่วย aphasia จะมีพฤติกรรมและบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปดังนี้
1.ระดับความตื่นตัวลดลงต้องกระตุ้นหรือพูดซ้ำ ๆ ผู้ป่วยจึงจะตอบสนอง
2.วอกแวกง่าย (distractibility) มีการเปลี่ยนความสนใจจากสิ่งที่กำลังทำอยู่ไปสู่สิ่งกระตุ้นอื่นได้ง่าย
3.การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไม่แน่นอน (variability of response) บางครั้งทำได้ดี แต่บางครั้งทำไม่ได้ทั้งๆที่เป็นสิ่งกระตุ้นเดียวกัน
4.การทำซ้ำ ๆ โดยยับยั้งตัวเองไม่ได้ (perseveration) เช่น เมื่อบอกให้ชี้หูปากแล้วบอกให้ชี้ตาผู้ป่วยก็ยังคงชี้ปากอยู่ซ้ำ ๆ เป็นต้น
5.มีปัญหาในการรับรู้บุคคลเวลาและสถานที่
6.ทัศนคติและแรงจูงใจเปลี่ยนแปลงไปเช่นเคยเป็นคนชอบเข้าสังคม แต่เมื่อมีปัญหา aphasia ป่วยไม่ชอบเข้าสังคมชอบอยู่คนเดียวเป็นต้น
7.อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
8.เก็บกดเนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ดีเช่นเดิมผู้ป่วยจึงกังวลใจไม่อยากคุยกัน ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยสร้างนิสัยในการติดต่อสื่อสารที่ไม่ดีอีกด้วยผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการให้การักษาผู้ป่วย aphasia คือนักอรรถบำบัด (speech therapist) อย่างไรก็ตามบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่นและญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถมีส่วนร่วมในการรักษานี้ได้ด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของ Aphasia
Aphasia เป็นภาวะที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เนื่องจากผู้ป่วยจะมีปัญหาด้านการสื่อสาร จึงอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ การทำงาน หรือการทำกิจกรรมในแต่ละวัน อีกทั้งอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกอับอาย หดหู่ เนื่องจากไม่สามารถสื่อสารได้ตามปกติ