นักวิจัย แนะตรวจหาเศษซากเชื้อฝีดาษลิงได้จาก..? ทั้งเตือนล่วงหน้า-ประหยัด
เนื่องจากไวรัสฝีดาษลิงจะถูกขับถ่ายออกมาทางอุจจาระของผู้ติดเชื้อ (แม้จะยังไม่แสดงอาการในช่วงระยะฟักตัว 7-14 วัน) ทำให้คณะวิจัยตรวจพบเศษซากไวรัสดังกล่าวในน้ำเสียโสโครกของเมือง ซึ่งรวมน้ำเสียจากทุกคนในทุกบ้านเรือนที่ขับถ่ายออกมาได้ โดยจะตรวจพบเศษซากไวรัส 7-14 วัน ก่อนที่ผู้ติดเชื้อจะรู้ตัวว่าตัวเองติดเชื้อและแสดงอาการ ทำให้สามารถควบคุมโรคได้ก่อนการระบาด เทคนิคเดียวกันนี้ถูกใช้ในการเฝ้าระวังเชิงรุกและเตือนภัยล่วงหน้าการระบาดของโควิด-19 ในชุมชนและอาคารสาธารณะใน 58 ประเทศทั่วโลก
สำหรับในประเทศไทย คณะวิจัยระบาดวิทยาน้ำเสียโควิด-19 จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มีความพร้อมที่จะใช้เทคโนโลยีการสกัดเศษซากไวรัสฝีดาษลิงในน้ำเสียโสโครกชุมชนเพื่อการเฝ้าระวังการนำเข้าฝีดาษลิงจากต่างประเทศเช่นกัน โดยการทดลองนี้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ผ่านสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ซึ่งคณะวิจัยได้ทดลองตรวจน้ำเสียจากสนามบินสุวรรณภูมิจากตัวอย่างน้ำเสียในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ไม่พบเศษซากไวรัสฝีดาษลิง สอดคล้องกับการรายงานว่ายังไม่พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงในประเทศไทย ณ เวลานั้น แม้ว่าจะมีการพบผู้ติดเชื้อแล้วใน 22 ประเทศ
ผู้เชี่ยวชาญของ สกสว. ระบุว่า การตรวจไวรัสฝีดาษลิงในน้ำเสียมีความปลอดภัย และไม่มีหลักฐานชี้ว่าสามารถติดฝีดาษลิงจากน้ำเสียได้ เช่นเดียวกับที่ไม่สามารถติดโควิด-19 จากเศษซากไวรัส SARS-CoV-2 ในน้ำเสีย ดังนั้นการตรวจเศษซากไวรัสฝีดาษลิงในน้ำเสียจึงเป็นมาตรการเฝ้าระวังที่ประหยัดงบประมาณ และตรวจพบเชื้อได้ทันทีที่มีผู้ติดเชื้อแม้คนเดียวในชุมชน หรือมีนักท่องเที่ยวติดเชื้อคนเดียวในทั้งสนามบิน
ทั้งการตรวจในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก เทศบาลนครยะลา และเทศบาลนครนครสวรรค์ ได้ถึง 20 วันล่วงหน้าสำหรับสายพันธุ์เดลต้า และ 10 วันสำหรับสายพันธุ์โอมิครอน ทำให้เทศบาลรู้ตัวไวและสามารถควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสียหายได้ 16 ถึง 40 เท่าตัว"
แต่เมื่อเกิดการระบาดของฝีดาษลิง คณะวิจัยของเรามีความพร้อมและสามารถใช้เทคนิคนี้เฝ้าระวังการระบาดของฝีดาษลิงได้พร้อม ๆ กับที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเริ่มทำ ถือเป็นความสำเร็จของระบบ ววน. ที่ทำให้นักวิจัยไทยมีความพร้อมสำหรับการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน เพราะมีองค์ความรู้พื้นฐานพอเพียงแล้ว หากเกิดการระบาดของฝีดาษลิงในชุมชนในระดับประเทศ เราสามารถลงตรวจทันทีที่ได้รับการประสานงาน"
ทั้งนี้ โรคที่แพร่ระบาดไม่เร็วนักแต่มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 1-10 อย่างฝีดาษลิง การตรวจเศษซากไวรัสในน้ำเสียจากสนามบินหรือแหล่งท่องเที่ยว นับเป็นการเฝ้าระวังการระบาดที่สามารถเตือนภัยล่วงหน้าได้และใช้งบประมาณน้อยที่สุด
ดังนั้นการตรวจน้ำเสียจากสนามบินเพื่อลดโอกาสการนำเข้าเชื้อจากต่างประเทศจึงน่าจะเป็นมาตรการที่สมเหตุผลที่สุดเมื่อไม่สามารถตรวจฝีดาษลิงในนักท่องเที่ยวรายคนทุกคนได้