
อวสานความอร่อย! เตือนอย่ากิน ปาท่องโก๋ ทุกวันเลี่ยงรับสารอันตรายถึงชีวิต

ทั้งนี้ผลจากการตรวจด้วยชุดทดสอบบอร์แรกซ์ ไม่พบการปนเปื้อนบอร์แรกซ์ในทุกตัวอย่าง และจากการดมกลิ่นปาท่องโก๋พบว่ามีกลิ่นแอมโมเนีย 7 ตัวอย่างคิดเป็นร้อยละ 9 อาจมาจากแอมโมเนียมไบคาร์บอเนต หรือเบคกิ้งแอมโมเนีย ที่ช่วยให้ปาท่องโก๋พองฟู
พบสารอะคริลาไมค์ก่อมะเร็ง-แต่อยู่ในเกณฑ์
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า เนื่องจากปาท่องโก๋เป็นอาหารที่มีแป้งสูงและผ่านกระบวนการทอดด้วยน้ำมัน โดยใช้ความร้อนสูง ทำให้มีโอกาสที่จะพบสารอะคริลาไมด์ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างกรดอะมิโนชนิดแอสพาราจีนกับ น้ำตาลรีดิวซิง เช่น กลูโคสและฟลุคโตสที่อุณหภูมิเกินกว่า 120 องศาเซล เซียส หรือใช้เวลาในการปรุงอาหารนานเกินไป จนอาหารมีความชื้นต่ำ ปฏิกิริยานี้มีชื่อว่า Maillard reaction มีผลให้อาหารมีสีน้ำตาลโดยมีรายงานการศึกษาด้านพิษวิทยา พบว่าถ้าได้รับปริมาณมากมีพิษต่อระบบประสาท และหน่วยงาน IARC จัดเป็นสารในกลุ่มที่อาจก่อมะเร็งในคน จึงได้มีการตรวจวิเคราะห์ปริมาณอะคริลาไมด์ในปาท่องโก๋ จำนวน 25 ตัวอย่าง ได้แก่ ปาท่องโก๋จิ๋วแบบกรอบ 14 ตัวอย่าง ปาท่องโก๋แบบคู่ 6 ตัวอย่าง และปาท่องโก๋ชื่อดัง 5 ตัวอย่าง ตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Liquid Chromatograph/Triple quadrupole Mass Spectrometer (LC-MS/MS) โดยตรวจพบอะคริลาไมด์ในปริมาณน้อยกว่า 0.04-0.48 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมซึ่งมีค่าเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ 0.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พบปริมาณเฉลี่ยในปาท่องโก๋จิ๋วแบบกรอบ ปาท่องโก๋แบบคู่ และปาท่องโก๋แบรนด์ เท่ากับ 0.31, 0.09 และ 0.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
เมื่อเปรียบเทียบปริมาณอะคริลาไมด์ในปาท่องโก๋ กับขนมทอดอื่นๆ เช่น กล้วยทอด หรือ กล้วยแขก เผือกทอด มันทอด เฟรนด์ฟรายด์ จากข้อมูลการประเมินความเสี่ยงอะคริลาไมด์ในอาหารของไทย (ปี 2554) พบปริมาณอะคริลาไมด์ใกล้เคียงกับเผือกทอด ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 0.14 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และต่ำกว่ามันฝรั่งทอด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.71 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากการสุ่มตรวจปาท่องโก๋ที่จำ หน่ายในเขตพื้นที่กทม.และปริมณฑล มีความปลอดภัย ไม่พบการปนเปื้อนบอร์แรกซ์ ไม่พบสารโพลาร์ในปาท่องโก๋จากการใช้น้ำมันทอดซ้ำ
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday