อ่านด่วน! ซีเซียม-137อันตรายอย่างไร พร้อมข้อปฏิบัติหากเผลอสัมผัส


อ่านด่วน! ซีเซียม-137อันตรายอย่างไร พร้อมข้อปฏิบัติหากเผลอสัมผัส

จากกรณีวัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม 137 (Cs-137) ได้หายไปจากโรงงานไฟฟ้า บริเวณนิคมอุตสาหกรรม จ.ปราจีนบุรี ซึ่งมีการปูพรมค้นหาอย่างจริงจัง พร้อมตั้งรางวัล 50,000 บาทสำหรับคนที่ให้ข้อมูลนำสารดังกล่าวกลับคืนมาได้

ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat ของ คุณสนธิ คชวัฒน์" นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชื่อดังได้โพสต์ข้อความให้ความรู้เกี่ยวกับ ซีเซียม 137 (Cs-137) ว่า

สารซีเซี่ยม137 ที่สูญหายหากถูกนำไปยังโรงหลอมเหล็ก รังสีเบต้าและแกมมาซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็งจะกระจายไปในอากาศในวงกว้าง...



อ่านด่วน! ซีเซียม-137อันตรายอย่างไร พร้อมข้อปฏิบัติหากเผลอสัมผัส

ซีเซี่ยม137เป็นโลหะอ่อนสีขาวเงินที่ตีขึ้นรูปได้ง่ายจะมีสภาพเป็นของเหลวที่อุณหภูมิประ มาณ28องศา มีครึ่งชีวิตที่30ปีเมื่อสลายตัวจะปล่อยรังสีเบต้าและแกมมาซึ่งอันตรายมากและเปลี่ยนตัวมันจะเปลี่ยนเป็นสารแบเรี่ยม 137ที่สลายตัวปล่อยรังสีได้เร็ว

ในทางอุตสาหกรรมซีเซี่ยม137จะใช้ในการวัดความชื้นและความหนาแน่นในการก่อสร้าง, ใช้ในเครื่องมือทางแพทย์เพื่อรักษามะเร็ง,ใช้ในมาตรวัดกระแสน้ำในท่อ,ใช้วัดความหนาของสิ่งต่างๆ เช่น กระดาษ แผ่นโลหะ เป็นต้น

อ่านด่วน! ซีเซียม-137อันตรายอย่างไร พร้อมข้อปฏิบัติหากเผลอสัมผัส

หากแท่งซีเซี่ยม137สูญหายหรือถูกขโมย บุคคลที่ครอบครองไปตัดหรือแกะออกจะได้รับอันตรายจากรังสีที่แผ่ออกมาได้เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งเมื่อรับเข้าสู่ร่างกายเล็กน้อยโดยทางหายใจหรือผิวหนังรังสีจะถูดดูดซึมไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับและไขกระดูกสามารถถูกขับได้ทางเหงื่อและปัสสาวะแต่หากสูดดมหรือรับเข้าไปด้วยความเข้มข้นสูงหรือเป็นระยะเวลาพอสมควรจะก่อให้เกิดมะเร็งกับอวัยวะที่สัมผัส

หากท่อของสารซีเซี่ยม137ดังกล่าวถูกนำไปขายยังโรงแปรรูปเหล็กและถูกหลอมในเตาเผาจะอันตรายมากคือรังสีจะถูกปล่อยออกมาทางปล่องควันกระจายไปในสิ่งแวดล้อมและเกิดการเปรอะเปื้อนของรังสีเบต้าและแกมมาซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอย่างรุนแรงในสภาพแวด ล้อมในวงกว้าง

ผู้ครอบครองทั้งร้านรับซื้อของเก่า โรงงานรีไซเคิล โรงงานหลอมหล่อเหล็ก ที่รับท่อหุ้มดังกล่าว ผู้ครอบครองถือว่ากำลังตกอยู่ในอันตรายหากนำไปกองไว้ฝนตก น้ำชะจะไหลปนเปื้อนลงในน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน หากนำไปหลอมยิ่งกระจายไปทางอากาศนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในอนาคตอันใกล้

อ่านด่วน! ซีเซียม-137อันตรายอย่างไร พร้อมข้อปฏิบัติหากเผลอสัมผัส

ทั้งนี้กรมควบคุมโรค ได้เผยข้อควรปฎิบัติหลังมีการสัมพัสสารอันตรายดังนี้

- ลดการปนเปื้อน โดยล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปทางหางตาด้วยน้ำสะอาด ล้างมือ อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีถ้าสามารถทำได้ และควรเก็บเสื้อผ้าใส่ถุงปิดปากให้สนิทเพื่อตรวจสอบว่ามีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีหรือไม่

-ไปลงทะเบียนยังหน่วยงานที่กำหนด ให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์เพื่อการเฝ้าระวังสุขภาพ และควบคุมการแพร่กระจายของกัมมันตรังสี

- ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามนำมือสัมผัสบริเวณภายในพื้นที่ที่เจ้าหน้าที่ได้กำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่อันตราย

สำหรับอาการที่ควรพบแพทย์ 

คลื่นไส้อาเจียน ถ่ายเหลวมากเกินกว่า 2 ครั้ง มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายในหนึ่งสับดาห์หลังโดนรังสี หรือมีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี

อ่านด่วน! ซีเซียม-137อันตรายอย่างไร พร้อมข้อปฏิบัติหากเผลอสัมผัส


อ่านด่วน! ซีเซียม-137อันตรายอย่างไร พร้อมข้อปฏิบัติหากเผลอสัมผัส

เครดิตแหล่งข้อมูล : FB Sonthi Kotchawat


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

  1. อ.เจษฎ์ ถูกข้าราชการเกษียณแชทด่ายุ่งเรื่อง ซีเซียม-137 งานนี้โซเชียลระอุ
  2. เปิดผลตรวจรังสี 70 คนงานโรงหลอมเหล็กกบินทร์บุรี
  3. เฝ้าระวัง3กลุ่มอาการ เข้าข่ายได้รับสารซีเซียม-137 ย้ำอันตรายกับทุกคน
  4. ยืนยันซีเซียม-137ถูกหลอมแล้ว เร่งตรวจเลือดกลุ่มเสี่ยง-เชื่อไม่กระทบ ปชช?
  5. ช็อก! พบซีเซียม137ถูกหลอมถลุงเป็นฝุ่นแดง คาดส่งต่อไปโรงงานรีไซเคิ่ล
  6. ร่วมไขความจริง ซีเซียม-137 คืออะไร อันตรายไหม?

  7. >> ดูทั้งหมด :เกาะติดประเด็น “ซีเซียม-137” ปนเปื้อนในเขม่าหลอมเหล็ก


เครดิต :
เครดิต : ที่นี่ดอทคอม ทันทุกเรื่องฮิต


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์