ภาวะวูบหมดสติ สัญญาณอันตราย ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม


ภาวะวูบหมดสติ สัญญาณอันตราย ภัยร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

ภาวะวูบหมดสติ (Syncopal Attack)

ภาวะวูบหมดสติ (Syncopal Attack) หมายถึงภาวะที่มีการสูญเสียการรับรู้สติ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะได้แก่ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นในระยะเวลาอันสั้น และสามารถฟื้นคืนสติได้ด้วยตัวเอง (Transient loss of consciousness : TLOC)


เกิดอะไรขึ้นในขณะที่วูบหมดสติ

การหมดสติ เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองที่เป็นศูนย์ควบคุมการรู้สติขาดออกซิเจนชั่วคราวจึงทำให้ผู้ป่วยหมดสติ


อาการแสดงที่พบในขณะหมดสติ ได้แก่

-เรียกไม่รู้สึกตัว
-ล้มลงกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่
-อาจมีอาการเกร็งที่มือ, เท้า, ตาค้างชั่วขณะ
-ปลายมือ ปลายเท้าเย็น, เหงื่อออกที่ใบหน้า, หน้าและริมฝีปากซีด
-อาจมีอาการอุจจาระ และ ปัสสาวะราด
-ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอนหมดสติไม่ได้
-ระยะเวลาการหมดสติ พบได้ตั้งแต่ 30 วินาที - 5 นาที ขึ้นอยู่กับสุขภาพพื้นฐานเดิมและอายุของผู้ป่วย
-มีอาการเตือนล่วงหน้าหรือไม่ ผู้ป่วยบางราย อาจมีอาการเตือนล่วงหน้าก่อนหมดสติ เช่น รู้สึกหวิวๆ มึน---ศีรษะ, โคลงเคลง, ตาพร่า เห็นสีวูบวาบ เหมือนตัวลอยๆ, คลื่นไส้


สาเหตุของการหมดสติมีอะไรบ้าง

1. สาเหตุที่มาจากโรคของหัวใจโดยตรง เช่น
- หลอดเลือดหัวใจตีบ
- ลิ้นหัวใจตีบ
- หัวใจเต้นผิดจังหวะทั้งชนิดเร็วและช้า
- กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวผิดปกติ, ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ

2. สาเหตุที่มาจากระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ จะพบในบางสถานการณ์ที่จำเพาะ เช่น
- หลังการไอ จาม เบ่งอุจจาระ ปัสสาวะ
- ยืนนานๆ ในที่มีคนแออัด หรืออากาศร้อนจัด
- กลัวการเจาะเลือด กลัวเข็มฉีดยา
- หลังการออกกำลังกาย
พบในโรคเรื้อรังที่มีผลต่อการทำงานของระบบประสาท, เส้นประสาทเสื่อม
- เบาหวาน (Orthostatic hypotension)
- โรคทางสมองบางอย่างที่มีระบบประสาทอัตโนมัติเสื่อม เช่น พาร์กินสัน, สมองเสื่อม
- อันตรายต่อไขสันหลัง

3. ภาวะการสูญเสียเลือด หรือ ขาดน้ำ

4. ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิต, ยาขับปัสสาวะ, ยาต้านเศร้า, ยารักษาต่อมลูกหมาก

 



โรคนี้รักษาอย่างไร

-การรักษาโรคขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้วูบ ซึ่งแพทย์จะรักษาตามเหตุนั้นๆ ได้แก่ การรักษาภาวะโรคหัวใจขาดเลือด (การใช้ยา, การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน)
-การใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจในผู้ที่หัวใจเต้นช้าผิดจังหวะ (Pacemaker)
-การใช้ยาบางชนิดในผู้ป่วยที่มี Orthostatic Hypotension
-การแนะนำให้ผู้ป่วยใส่ถุงน่อง เพื่อลดการขยายตัวของหลอดเลืด ในผู้ที่วูบหลังยืนนานๆ


การป้องกันภาวะวูบ

-ดื่มน้ำและพักผ่อนให้เพียงพอ
-หลีกเลี่ยงการยืนนานๆ ในที่อากาศร้อนจัด
-หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่
-ออกกำลังกายแบบแอโรบิก อย่างน้อย 4 ครั้ง / สัปดาห์ ครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 นาที
นั่งปัสสาวะในผู้ที่วูบหลังเบ่งปัสสาวะ, งดเบ่งอุจจาระและปัสสาวะแรงๆ
-ออกกำลังกายแบบ hand grip exercise ได้แก่ บีบลูกบอลด้วยมือ 2 ข้าง ทำซ้ำๆ ชุดละ 10 ครั้ง อย่างน้อย 2 -3 ชุด /วัน
-หลักเลี่ยงการไอหรือจามแรงๆ
-หลีกเลี่ยงอาชีพที่จะมีอันตรายจากอุบัติเหตุซ้ำเติมขณะวูบ เช่น ช่างทาสี ช่างไม้ นักบิน หรือคนขับรถรับจ้าง


เครดิตแหล่งข้อมูล : โรงพยาบาล เวชธานี


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์