
หายสงสัยทำไม พระธาตุอินทร์แขวน ถึงไม่กลิ้งลงมา หลังแผ่นดินไหว

เรียกว่าเป็นอาจารย์คนดังที่มักจะมีคำตอบให้หลายคนในเรื่องราวทางโซเชียลอยู่เสมอ สำหรับ อ.เจษฎ์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ล่าสุด อ.เจษฎ์ได้ออกมาโพสต์ข้อความเฉลยว่า"ทำไมพระธาตุอินทร์แขวน ถึงไม่กลิ้งลงมา หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ?" ให้ชาวเน็ตได้หายสงสัยว่า
"ทำไมพระธาตุอินทร์แขวน ถึงไม่กลิ้งลงมา หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ?"
มีคำถามมาจากข่าว (ดูลิงค์ด้านล่าง) เกี่ยวกับ "พระธาตุอินทร์แขวน" 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญสูงสุด หรือ "เบญจมหาบูชาสถาน" ของประเทศเมียนมาที่แม้จะเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่ระดับความแรง 8.2 เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา และทำให้ยอดของพระธาตุสั่นไหวไปตามความรุนแรงจนกลายเป็นคลิปไวรัล แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบ !?ซึ่งก็ทำให้หลายต่อหลายคนแปลกใจ ที่หินยักษ์ก้อนนี้ ซึ่งมีน้ำหนักหลายร้อยตัน และมาตั้งอยู่บนริมผา
ในลักษณะท้าทายแรงดึงดูดของโลกจนดูเหมือนจะตกมิตกแหล่ กลับไม่มีการเคลื่อนแต่อย่างใดหลังในเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่ที่ผ่านมา ซึ่งก็คงเป็นเพราะมีหลายคนเข้าใจผิด คิดว่าก้อนหินพระธาตุอินทร์แขวนนี้ เกิดจากการที่ในอดีต มีก้อนหินเคลื่อนที่หล่นลงมา
แล้วติดคาอยู่ริมเพิงผาของยอดเขาพวงลวง โดยมีจุดศูนย์ถ่วงที่สมดุลพอดี ทำให้น้ำหนักไปอยู่บนต้วหน้าผา มากกว่าออกไปทางส่วนที่ยื่นออกไป !?
แต่ๆๆ ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นครับ ! ก้อนหินที่ตั้งอยู่ของพระธาตุอินทร์แขวนนี้ จริง ๆ แล้ว เป็น "หินก้อนเดียวกันกับตัวหน้าผา" นั่นแหละครับ โดยเกิดในทางธรณีวิทยานั้น ก้อนหินที่เห็นตั้งอยู่บนหน้าผา จริงๆ แล้ว เป็นผลจากการที่น้ำ ไปกัดเซาะ (erosion) ชั้นหินแกรนิตที่แตกร้าวในแนวตั้งและแนวนอน
ทำให้น้ำไหลไปตามแนวรอยแยกของหิน และกัดเซาะเปลี่ยนแปรรูปร่างของหินอย่างช้าๆ เป็นเวลาอันยาวนาน จนทำให้ก้อนหินดูเป็นรูปกลมเกลี้ยงขึ้นและดูหลอกตา เหมือนกับว่าก้อนหินนี้ถูกยกขึ้นไปวางไว้บนหน้าผา อย่างน่าอัศจรรย์ครับ ผมเคยโพสต์อธิบายไว้อย่างละเอียดแล้ว ขอเอามารีโพสต์ด้านล่างนี้นะครับ ภาพและข่าว จาก "
(รีโพสต์) "พระธาตุอินทร์แขวน เป็นปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาครับ" มีแฟนเพจส่งคำถามว่า
"อาจารย์ครับ ผมสงสัยเรื่องการตั้งอยู่ของพระธาตุอินทร์แขวน ที่พม่าครับว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ตามหลักวิทยาศาสตร์ครับ ?" เป็นคำถามที่ดีมากเลย ที่ต้องการคำตอบเชิงวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เชิงความเชื่อหรือตำนาน ..ซึ่งในทางวิทยาศาสตร์นั้นบอกว่า ก้อนหินก้อนใหญ่ที่ตั้งอยู่บนยอดเขา (ซึ่งสุดท้ายถูกปรับเปลี่ยนมา จนเป็นสถานที่สักการบูชา) นั้น
ไม่ใช่เกิดจากการที่มีใครยกไปตั้ง แต่ว่าเป็นผลจากการกัดเซาะของหินทางธรณีวิทยา เท่านั้นเองครับ "พระธาตุอินทร์แขวน" หรือที่คนพม่าเรียกว่า "พระธาตุไจที่โย่"เป็นสถานที่จาริกแสวงบุญของพุทธศาสนิกชน ตั้งอยู่ในรัฐมอญ ประเทศพม่า เป็นพระเจดีย์ขนาดเล็ก สร้างขึ้นบนก้อนหินแกรนิต ที่ปิดด้วยทองคำเปลวโดยผู้ที่นับถือศรัทธาเชื่อกันว่า พระธาตุไจที่โย่เป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้า ตั้งอยู่บริเวณหน้าผาสูงชัน บนยอดเขาไจที่โย่ อย่างหมิ่นเหม่
เหมือนจะหล่นและท้าทายแรงดึงดูดของโลก โดยไม่ตกลงมา ตามตำนานระบุว่า ฤๅษีติสสะเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับพระเกศาจากพระพุทธเจ้าและนำมาไว้ในมวยผม ตั้งใจจะนำพระเกศาไปบรรจุไว้ในก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายกับศีรษะของฤๅษี ท้าวสักกเทวราช (พระอินทร์)จึงช่วยเสาะหาก้อนหินดังกล่าวจากใต้ท้องมหาสมุทร และนำมาวางไว้บนภูเขา พระธาตุไจที่โย่ นับเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของชาวพม่า
โดยก้อนหินสีทองที่มีการสร้างพระเจดีย์ขนาดเล็กไว้ด้านบนนั้น (ก้อนหินนั้นมีความสูงประมาณ 7.6 เมตร และมีเส้นรอบวงประมาณ 15 เมตร ส่วนพระเจดีย์เหนือหิน มีความสูงประมาณ 7.3 เมตร) ตั้งอยู่บนแท่นหินธรรมชาติ ที่ดูเหมือนเป็นฐานของพระธาตุ ตั้งอยู่บนระนาบที่เอียงและบริเวณที่สัมผัสมีขนาดเล็กมาก
อย่างไรก็ตาม ในทางธรณีวิทยา อธิบายการเกิดของพระธาตุนี้ว่า เป็นผลจากการกัดเซาะ (erosion) ตามธรรมชาติ ที่ปรากฏขึ้นตามที่ต่างๆทั่วโลก เพียงแต่หาดูได้ยากสักหน่อย สาเหตุนั้น เกิดจากการยกตัวของชั้นหินแกรนิต และเกิดการแตกร้าวขึ้นได้ทั้งในแนวตั้งและแนวนอน หลังจากนั้น น้ำเป็นตัวการในการกัดเซาะ
โดยไหลไปตามแนวรอยแยกของหิน และกัดเซาะเปลี่ยนแปรรูปร่างของหินอย่างช้าๆ เป็นเวลาอันยาวนาน จนทำให้ก้อนหินดูเป็นรูปกลมเกลี้ยงขึ้น และดูหลอกตาเหมือนกับว่าก้อนหินนี้ถูกยกขึ้นไปวางไว้บนหน้าผา อย่างน่าอัศจรรย์ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาแบบนี้ อาจจะเรียกว่า เป็น balancing rock หรือหินสมดุล (หรือ balanced rock หรือ precarious boulder)
ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ และทำให้เห็นก้อนหินขนาดใหญ่ ไปตั้งอยู่บนก้อนหินก้อนอื่นหรือหน้าผา หินสมดุลนั้น มีทั้งแบบที่เกิดจากการที่หินก้อนใหญ่
ไหลมาตามการเคลื่อนที่อันทรงพลังของ "ธารน้ำแข็ง Glacial" จนทำให้มันย้ายไปอยู่ที่อื่นได้อย่างน่ามหัศจรรย์ และสังเกตได้ว่าจะเป็นหินแร่คนละประเภทกันขณะที่หินสมดุลแบบที่พบที่พระธาตุอินแขวนนั้น จะเป็นผลจากการเกิดการกัดเซาะ ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการกัดเซาะของน้ำ ลม
หรือสารเคมีต่างๆ ลงไปบนชั้นหินที่ตำแหน่งนั้น
และชื่อ "หินสมดุล" นี้ อาจจะทำให้เข้าใจผิด ว่าหินก้อนหนึ่งไปวางตัวอยู่บนหินอีกก้อนหนึ่ง อย่างสมดุลไม่ร่วงหล่นลงมา ทั้งที่จริงๆ แล้ว กินทั้งสองยังเชื่อมต่อกันอย่างแน่นหนาที่ฐานของหิน









เครดิตแหล่งข้อมูล : Jessada Denduangboripant
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday