เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน - การพิจารณา เวทนาขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายสุขวิปลาส (สำคัญความทุกข์ว่าสุข) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่เป็นตัณหาจริตทั้ง 3 คือราคะจริต โทสะจริต โมหะจริต และเป็นสมถยานิก
จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน - การพิจารณา วิญญาณขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลายอนิจจวิปลาส (สำคัญความไม่แน่นอน ว่าแน่นอน) เหมาะสมกับนักปฏิบัติที่ เป็นทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็น วิปัสสนายานิก
ธรรมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน - การพิจารณา สัญญาขันธ์ และ สังขารขันธ์ อานิสงค์ คือ ทำลาย อนัตตวิปลาส (ความไม่มีตัวตนว่ามีตัวตน) เหมาะสมกับ นักปฏิบัติที่ เป็น ทิฏฐิจริตทั้ง 3 คือ ศรัทธาจริต พุทธิจริต วิตกจริต และเป็น วิปัสสนายานิก
คำว่า สมถะยานิก ไม่ได้หมายถึง ความมีสมาธิมากหรือน้อย แต่กล่าวถึง ผู้ที่ใช้สมถะนำเพราะเหมาะแก่ตน ซึ่งบุคคลคนๆนั้น อาจมีสมาธิมาก หรือน้อยก็ได้ มีมากก็เช่นใน ทิฏฐิวิสุทธินิทเทส มีน้อยก็ตามเนตติปกรณ์และ สติปัฏฐานสูตร. จริงอย่างนั้น ในทิฏฐิวิสุทธิ นิทเทส ท่านกล่าว สมถะยานิก ไว้ในฐานะที่มีสมาธิมาก, ส่วนในเนตติปกรณ์ และ สติปัฏฐานสูตร เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ ในฐานะที่เหมาะ กับตัณหาจริต เพราะเป็นสภาพ ที่เป็นปฏิปักษ์กัน จึงเหมาะแก่การกำจัดจริตฝ่ายชั่วนั้นๆ. แต่ท่านไม่ได้หมายถึง การที่พระสมถะยานิก มีโพชฌงค์ ฝ่ายสมาธิมากในที่นั้นเลย มีแต่ในวิสุทธิมรรค ซึ่งคนละนัยยะกับ สติปัฏฐานสูตร
...
ไม่ทราบชื่อผู้เรียบเรียงครับ